ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

แนวทางการออกแบบสิ่งสนับสนุนการท่องเที่ยวชุมชน กรณีศึกษา บ้านตะลุงเก่า ต.โคกม้า อ.ประโคนชัย จ.บุรีรัมย์

Show simple item record

dc.contributor.advisor ผู้ช่วยศาสตราจารปิยชนม์ สังข์ศักดา en_US
dc.contributor.author ธัญภิณันท์, อภิญญเดช
dc.date.accessioned 2023-01-04T02:31:30Z
dc.date.available 2023-01-04T02:31:30Z
dc.date.issued 2565
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/8442
dc.description งานวิจัยทางสถาปัตยกรรมนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษา ตามหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสถาปัตยกรรม คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ปีการศึกษา 2565 en_US
dc.description.abstract งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันของสิ่งสนับสนุนการท่องเที่ยวชุมชนบ้านตะลุงเก่า 2.เพื่อศึกษาแนวทางการออกแบบสิ่งสนับสนุนการท่องเที่ยวชุมชนบ้านตะลุงเก่า 3.เพื่อนำเสนอแนวทางการออกแบบสิ่งสนับสนุนการท่องเที่ยวชุมชน ดังนั้น การวิจัยครั้งนี้ ได้ดำเนินการรวบรวมข้อมูลที่ได้จากการสำรวจสภาพพื้นที่ปัจจุบันและการรวบรวมข้อมูลที่ได้ความอนุเคราะห์ข้อมูลที่สำคัญจากองค์กรท้องถิ่น ผู้นำชุมชน ตลอดถึงผู้สูงวัยและประชาชนในชุมชน นอกจากข้อมูลสำคัญที่สัมภาษณ์และได้สอบถามความต้องการของประชากรในชุมชน นำมาวิเคราะห์เพื่อเป็นแนวทางในการออกแบบสิ่งสนับสนุนการท่องเที่ยว ให้เหมาะสมกับสภาพบริเวณสถานที่ท่องเที่ยวบ้านตะลุงเก่า และให้มีความสอดคล้องกับวิถีชีวิตของชุมชนในยุคปัจจุบัน ตลอดถึงการออกแบบอาคาร,สิ่งปลูกสร้าง เสริมสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ เช่น ป้ายผังชุมชน ป้ายบอกทาง ป้ายสัญลักษณ์ ป้ายข้อความต่างๆ ให้มีความชัดเจน เข้าใจง่าย มีรูปแบบที่หลากหลาย น่าสนใจ สะดุดตามากยิ่งขึ้น และยังเพิ่มความสะดวกต่อการเดินทาง การปฏิบัติตามระเบียบของสถานที่ระหว่างการเที่ยวชมของนักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวชมอีกด้วย การออกแบบดังกล่าว ยังคงความเป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่นและมีความเป็นวิถีชุมชนชนบท โดยวิธีการผสมผสานทั้งสองประการเข้าด้วยกันอย่างลงตัว ในการออกแบบสิ่งสนับสนุนการท่องเที่ยวชุมชน เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาและฟื้นฟู ศักยภาพชุมชนให้น่าสนใจและดึงดูดนักท่องเที่ยวเข้าชมบ้านตะลุงเก่าที่เป็นหนึ่งในสถานที่โบราณที่ควรแก่การศึกษาประวัติความเป็นมาที่สำคัญของดินแดนส่วนหนึ่งในภาคอีสานตอนล่างของประเทศไทยและควรแก่การอนุรักษ์ต่อไป ผู้วิจัยจึงได้ทำการศึกษาข้อมูลที่สอดคล้องกับสิ่งสนับสนุนการ ท่องเที่ยว และศึกษาตัวอย่างงานออกแบบ โดยนำมาเพื่อเป็นแนวทางในการออกแบบสิ่งสนับสนุนในการท่องเที่ยวชุมชน ได้แก่ ป้ายผังชุมชน ป้ายบอกทาง ถังขยะสาธารณะ ป้ายประวัติต่าง ๆ การปรับปรุงอาคารและสถานที่เดิม เช่น ศาลาประชาคม สะพานหลวง สะพานไม้ไผ่ ห้องน้ำสาธารณะ รวมถึงการจัดพื้นที่ปฏิบัติกิจกรรมของศูนย์การเรียนรู้ชุมชน ให้มีรูปแบบที่สอดคล้องกับชุมชน ที่เกี่ยวกับที่มาของคำว่า “ปันเตียย” ชื่อของชุมชนมีความหมายถึงเสาหิน เสาผูกช้าง วัสดุธรรมชาติในชุมชนที่สื่อถึงงานฝีมือของชาวบ้านในการผลิตหรือก่อสร้าง และการเลือกใช้กลุ่มสีน้ำตาลที่เป็นเนื้อหินภูเขาไฟหรือก้อนศิลาของปราสาทต่าง ๆ รวมถึงการตกแต่งด้วยลายหินศิลาแลงที่บ่งบอกถึงเมืองปราสาทหิน ถิ่นภูเขาไฟ ที่มีความงดงามของสถาปัตยกรรมโบราณในจังหวัดบุรีรัมย์ ผลการออกแบบสิ่งสนับสนุนการท่องเที่ยวได้มีความสอดคล้องกับข้อมูลที่ผู้วิจัยได้ศึกษาสิ่งสนับสนุนการท่องเที่ยว ทฤษฎีเกี่ยวกับองค์ประกอบของการท่องเที่ยว (5A) ที่ได้กล่าวถึง 5 องค์ประกอบหลัก คือ 1. สิ่งที่ดึงดูดใจ (Attraction) 2. ความสะดวกในการเดินทาง (Access) 3. สิ่งอำนวยความสะดวก (Amenities) 4. การบริการที่พัก (Accommodation) และ 5. กิจกรรมการท่องเที่ยว (Activities) เป็นแนวทางในการปรับใช้ในงานออกแบบให้เหมาะสมกับบริบทและ ทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชน เพื่อเป็นสิ่งดึงดูดใจนักท่องเที่ยว พร้อมทั้งอำนวยความสะดวกระหว่าง กิจกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวและชุมชน นอกจากประโยชน์ของการเพิ่มรายได้ให้ชุมชนแล้วส่วนนักท่องเที่ยวก็ยังได้บรรลุตามความประสงค์ในการท่องเที่ยวสถานที่ท่องเที่ยวแห่งนี้ ดังนั้นเป็นเหตุให้ทั้งสองฝ่ายได้เรียนรู้ร่วมกันถึงแนวทางการอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีที่สำคัญของท้องถิ่น และยังเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ใหม่แก่นักท่องเที่ยว ที่จะสร้างความประทับใจได้แล้วนั้น ยังเป็นการประชาสัมพันธ์ไปยังบุคคลภายนอกให้เกิดความสนใจในการอยากเข้ามาท่องเที่ยวมากขึ้นในอนาคต en_US
dc.description.sponsorship Buriram Rajabhat University en_US
dc.language.iso en en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.title แนวทางการออกแบบสิ่งสนับสนุนการท่องเที่ยวชุมชน กรณีศึกษา บ้านตะลุงเก่า ต.โคกม้า อ.ประโคนชัย จ.บุรีรัมย์ en_US
dc.title.alternative DESIGN GUIDELINES FOR COMMUNITY TOURISM SUPPORT A CASE STUDY OF BAN TALUNG KAO, KHOK MA SUBDISTRICT, PRAKHON CHAI DISTRICT, BURIRAM PROVINCE. en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.discipline เทคโนโลยีสถาปัตยกรรม en_US
dc.degree.level ปริญญาตรี en_US
dc.degree.name วท.บ. (เทคโนโลยีสถาปัตยกรรม) en_US
dc.contributor.emailauthor tharnthip952@gmail.com en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics