ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

องค์ประกอบความสำเร็จของการจัดการศึกษาอาชีวศึกษาเกษตรไทย - กัมพุชา ของวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสระแก้ว

Show simple item record

dc.contributor.advisor ศรีเพ็ญ พลเดช en_US
dc.contributor.advisor โกวิท วัชรินทรางกูร en_US
dc.contributor.author ศุภสิทธิ์, ดีรักษา
dc.date.accessioned 2021-11-16T02:19:38Z
dc.date.available 2021-11-16T02:19:38Z
dc.date.issued 2563
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/7958
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ1)ศึกษาองค์ประกอบความสำเร็จของการจัดการศึกษาอาชีวศึกษาเกษตรไทย - กัมพูชา ของวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสระแก้ว และ 2) ตรวจสอบ ความสอดคล้องของการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันความสำเร็จของการจัดการศึกษาอาชีวศึกษาเกษตรไทย - กัมพูชาของวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสระแก้วกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้เป็นผู้บริหารสถานศึกษาครูนักเรียน นักศึกษาไทยและกัมพูชา จำนวน 300 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้นเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม ชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ค่าความตรงของแบบสอบถาม เท่ากับ 0.50 - 1.00 ค่าอำนาจจำแนกเท่ากับ 0.548 - 0.925 ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ 0.991 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์ค่าสถิติพื้นฐาน ได้แก่ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความเบ้ ความโด่ง และวิเคราะห์องค์ประกอบ เชิงยืนยัน ผลการวิจัยพบว่า 1. การศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับความสำเร็จของการจัดการศึกษาอาชีวศึกษาเกษตรไทย - กัมพูชา ของวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสระแก้วโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าอยู่ในระดับมาก 2 ด้านและอยู่ในระดับปานกลาง 2 ด้าน โดยด้านหลักสูตร มีค่าเฉลี่ยสูงสุดและอยู่ในระดับมาก รองลงมาคือด้านการจัดการเรียนการสอนอยู่ในระดับมาก ส่วนด้าน การบริหารจัดการ มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดและอยู่ในระดับปานกลาง 2. การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน พบว่าโมเดลมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบของตัวแปรความสำเร็จของการจัดการศึกษาอาชีวศึกษาเกษตรไทย - กัมพูชาของวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสระแก้ว ใน4ด้านอยู่ระหว่าง0.25 – 1.03 มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05โดยตัวแปรที่มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบเรียงลำดับจากมากไปน้อย ได้แก่ด้านหลักสูตรด้านการจัดการเรียนการสอนด้านการบริหารจัดการ และด้านการฝึกอบรมวิชาชีพตามลำดับโดยมีดัชนีวัดระดับความกลมกลืนระหว่างโมเดลกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ประกอบด้วย ค่าไคสแควร์ เท่ากับ150.61ค่า P-valueเท่ากับ 0.075องศาความเป็นอิสระ (df) เท่ากับ 61 ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืน (GFI) เท่ากับ 0.93 ดัชนีวัดระดับความกลมกลืน ที่ปรับแก้แล้ว (AGFI) เท่ากับ 0.90 ค่าดัชนีรากกำลังสองของค่าเฉลี่ยค่าความแตกต่างโดยประมาณ(SRMR) เท่ากับ 0.043 และค่าดัชนีความคลาดเคลื่อนในการประมาณค่าพารามิเตอร์ (RMSEA) เท่ากับ 0.049 en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.subject องค์ประกอบความสำเร็จของการจัดการศึกษาอาชีวศึกษาเกษตรไทย - กัมพุชา ของวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสระแก้ว en_US
dc.title องค์ประกอบความสำเร็จของการจัดการศึกษาอาชีวศึกษาเกษตรไทย - กัมพุชา ของวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสระแก้ว en_US
dc.title.alternative The Success Factors of Thai-Cambodian Vocational Education in Agricultural Management for SaKaeo College of Agriculture and Technology en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.discipline การบริหารการศึกษา en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.name ครุศาสตรมหาบัณฑิต en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics