ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

กระบวนการถ่ายทอดของครูปี่พาทย์พื้นบ้าน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์

Show simple item record

dc.contributor.author ศิริปัญญา, สะเดา
dc.date.accessioned 2021-11-16T02:15:37Z
dc.date.available 2021-11-16T02:15:37Z
dc.date.issued 2562
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/7955
dc.description.abstract การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาประวัติ ความเป็นมาของวงปี่พาทย์พื้นบ้าน ในอำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์และ2) ศึกษากระบวนการถ่ายทอดของครูปี่พาทย์พื้นบ้าน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ โดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ และเก็บข้อมูลภาคสนาม จากการสัมภาษณ์ และการสังเกต จากครูปี่พาทย์พื้นบ้านจำนวน 3 คน คือนายสิงห์ทอง พวงพันธุ์ นายดำรงศักดิ์ พรมวิหาร และนายอางปราบภัยเก็บข้อมูลตั้งแต่เดือน พฤศจิกายน 2560 ถึงเดือน พฤษภาคม 2561 เครื่องมือที่ใช้ ในการวิจัยได้แก่ แบบสัมภาษณ์ มีค่าความเหมาะสมของแบบสัมภาษณ์อยู่ที่ 0.84 เก็บข้อมูลโดยการศึกษาเอกสาร การสัมภาษณ์ และวิเคราะห์ข้อมูลโดยนำเสนอในรูปแบบตาราง และนำเสนอผลการวิจัยโดยวิธีพรรณาวิเคราะห์ ผลการวิจัยสรุปได้ว่า 1. ด้านความเป็นมาของวงปี่พาทย์ในอำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์มีการก่อตั้ง วงปี่พาทย์ที่บ้านเขว้า ตำบลสะเดา อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ โดยมีหลวงประดิษฏิ์ เป็นครูปี่พาทย์ ที่เดินทางมาจากเขมรเป็นผู้ถ่ายทอดการบรรเลงปี่พาทย์ให้กับชาวบ้านลูกศิษย์รุ่นแรกที่มีความรู้ด้าน การบรรเลงเทียบเท่าครูหลวงประดิษฏิ์คือ ครูยัง (ไม่ทราบนามสกุล) ครูยังได้ถ่ายทอดการบรรเลงปี่พาทย์ให้กับลูกศิษย์และเครือญาติของตนเอง ลูกศิษย์ที่มีความสามารถเทียบเท่าครูยังคือ ครูม่วง เหลวกูล ในระยะหลังมีการเดินทางเข้ามาของครูดำ ซึ่งนักดนตรีประจำคณะลิเกจากจังหวัดนครราชสีมา ที่มา ทำการแสดงในเขตอำเภอนางรอง และได้ถ่ายทอดปี่พาทย์ให้กับนักดนตรีในเขตอำเภอนางรอง พร้อมกับแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางเพลงต่อกัน 2. กระบวนการถ่ายทอดการบรรเลงปี่พาทย์ของครูปี่พาทย์พื้นบ้าน มีกระบวนการถ่ายทอดที่คล้ายคลึงกัน เน้นกระบวนการปฏิบัติฝึกเบื้องต้นทั้งวิธีการจับไม้ตี ท่านั่งในการบรรเลง โดยให้ผู้เรียนได้ปฏิบัติ ตามที่ครูสาธิตให้ดู ฝึกปฏิบัติตีคู่แปด คู่สี่ การแบ่งมือ เพื่อเกิดความคุ้นเคย กับเสียงที่ตีและเมื่อฝึกการตีคู่แปด คู่สี่ การแบ่งมือจนชำนาญแล้ว จึงจะฝึกปฏิบัติด้วยบทเพลง 2 ชั้น ที่มีทำนองสั้น ๆ ทำบ่อย ๆ จนเกิดความชำนาญ และลำดับสุดท้ายเพลงโหมโรงเย็น เพลงชุด และเพลงพิธีกรรม กระบวนการถ่ายทอดสรุปเป็นขั้นตอนได้ดังนี้ 1) ขั้นสอบถามเพื่อเตรียม ความพร้อม 2) ขั้นการฝึกปฏิบัติเบื้องต้น 3) ขั้นฝึกปฏิบัติการบรรเลงบทเพลง 4) ขั้นการวัดและประเมินผลนอกจากนี้ยังมีการสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมในการปฏิบัติตนที่ดีของนักดนตรี โดยใช้สถานที่คือบ้าน วัดและชมรมดนตรีไทย ในการถ่ายทอดการบรรเลงปี่พาทย์ ในอำเภอนางรอง " en_US
dc.description.abstract The purposes of this research were 1) to study historical background of the PiPhat ensembles in Nang Rong district, Buriram provinceand 2) to study transmission process of local PiPhat instructors in NangRongDistrict, Buriram province. Qualitative research methodology was used to collect data from interviewing and observing three PiPhat instructors namely Mr. Singh Thong Puangpan, Mr. DamrongsagPunvihanand Mr. AangPrapphai. The data were collected from November 2017 to May 2018.Theinstrument used in this research was interview forms (Index Item – Objective Congruence (IOC) at 0.84.) The data were collected from document research and informal interviews. Data analysis was presented in tabular form while the results were presented using descriptive analysis. The results of the research were as follows: 1) The traditional PiPhat ensembles were established in Ban Khaow, Sadao sub- district, Nang Rong district, Buriram province. The first Pi Phat instructor, KhunLaungPradit, who came from Cambodia and passed through Nang Rong district. He taught Pi Phat playing to local people in Nang Rong district. Kru Yang (unidentified last name), the first Pi Phat disciple, had got whole Pi Phatknowledges as KhunLaungPradit. Kru Yang had propagated Pi Phat to local people, his disciples and relative. KruMuangLewkul was Kru Yang’s disciple, who had got equivalent talent to Kru Yang. Kru Dam, a musician of Thai traditional dramatic performance(Likay) from NakhonRatchasima province, had showed Likay in Nang Rong. Furthermore, Kru Dam had taught Pi Phat to the musicians in Nang Rong. Moreover, he had shared the musical exchanges to each other. 2) The local Pi Phat instructions had similar knowledge transmission processes. These focused on basic practices including; stick holding techniques, appropriate sitting (illustrated by instructors), duo-squad practices and finger management techniques. This allowed their fellow musicians to get used to the sounds of the performance. When they could play the duo-squad and do finger management techniques proficiently, they would continue on to other processes. These included the brief 2-layer songs, the overtures, and other medley and ceremonial performances. The transfer process can be concluded as follows :1) asking to be ready, 2) the beginning of the practice, 3) performance practice and 4) the measurement. Furthermore, they were also taught about virtue and morality of being a good musician. The music was performed at homes, temples and music clubs. " en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.subject กระบวนการถ่ายทอดของครูปี่พาทย์พื้นบ้าน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ en_US
dc.title กระบวนการถ่ายทอดของครูปี่พาทย์พื้นบ้าน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ en_US
dc.title.alternative THE TRANSMISSION PROCESS OF THE PI PHAT’STEACHING IN NANGRONG DISTRICT, BURIRAM PROVINCE en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.discipline ดนตรีศึกษา en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.name ครุศาสตรมหาบัณฑิต en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics