ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

กระบวนการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรดนตรีพื้นบ้านอีสานระดับมัธยมศึกษาตามหลักสูตรของวิทยาลัยนาฏศิลป์ร้อยเอ็ด

Show simple item record

dc.contributor.advisor เชาว์ การวิชา en_US
dc.contributor.advisor ธิติ ปัญญาอินทร์ en_US
dc.contributor.author พงศ์จักร, ยามสุข
dc.date.accessioned 2021-11-15T04:24:55Z
dc.date.available 2021-11-15T04:24:55Z
dc.date.issued 2563
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/7940
dc.description.abstract การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีความมุ่งหมาย เพื่อศึกษาบริบททั่วไปของการจัดการเรียนการสอน และกระบวนการจัดการเรียนการสอน หลักสูตรดนตรีพื้นบ้านอีสาน ระดับมัธยมศึกษา ในวิทยาลัยนาฏศิลปร้อยเอ็ด โดยดำเนินการสร้างแบบสัมภาษณ์ หาความสอดคล้องของข้อคำถาม และเก็บข้อมูลจาก กลุ่มบุคคลผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย ครูผู้สอน ผู้บริหาร และผู้ผ่านกระบวนการหลักสูตร จากนั้นนำข้อมูลมาวิเคราะห์ สังเคราะห์และนำเสนอโดยการเขียนบรรยายความเชิงพรรณนา โดยผลการศึกษาวิจัยพบว่า 1. บริบททั่วไปของการจัดการเรียนการสอนนั้นเป็นการจัดการเรียนการสอนด้านต่าง ๆในด้านหลักสูตรและงานวิชาการคำนึงถึงความสำคัญในการยกระดับศาสตร์ด้านดนตรีพื้นบ้านอีสานให้มีความสำคัญเทียบเท่ากับสาขาวิชาดนตรีอื่น ๆ มีการกำหนดหลักสูตรที่ชัดเจนจากผู้เชี่ยวชาญทางด้านดนตรีพื้นบ้านอีสานและด้านการศึกษาส่วนด้านครูและบุคลากร ต้องมีความเชี่ยวชาญเฉพาะโดยจะต้องเป็นผู้มีทักษะ ประสบการณ์ทางด้านดนตรีพื้นบ้านอีสานเป็นอย่างดีมีการบริหารงานการเรียนการสอนแบบคณะกรรมการบริหารสถานศึกษา ควบคุมการจัดการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบ และสภาพแวดล้อมทั่วไป อาคารสถานที่มีความเหมาะสมกับการเรียนทักษะทางดนตรี เพื่อส่งเสริมการเรียนการสอนด้านดนตรีพื้นบ้านอีสานให้มีประสิทธิภาพสูงสุด จากบริบทต่าง ๆร่วมกันบนพื้นฐานของหลักสูตร มีการจัดสรรงบประมาณเพื่อตอบสนองวัสดุครุภัณฑ์เครื่องดนตรีที่เพียงพอ และมีเป้าหมายในการผลิตผู้เรียนให้ประสบความสำเร็จตามเป้าประสงค์ของการจัดการเรียนการสอน ตามหลักสูตร 2. ด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอนนั้นเป็นการจัดการเรียนการสอนที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของวิทยาลัยฯ มีการกำหนดเนื้อหาหลักสูตรไว้อย่างชัดเจน เริ่มจากการวางแผนและกำหนดการสอนก่อนนำเข้าสู่บทเรียน โดยเป็นการวิเคราะห์หลักสูตรเพื่อสร้างความเข้าใจ ทัศนคติที่ดี ความรักและภูมิใจในการเรียน ซึ่งผู้สอนจะต้องมีวางแผนการสอนล่วงหน้าเสมอ จากนั้นจึงมีการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ โดยเน้นให้ผู้เรียนได้ฝึกทักษะอย่างอิสระโดยมีผู้สอนที่เชี่ยวชาญเฉพาะด้านคอยชี้แนะซึ่งจะใช้บทเรียนที่มีความหลากหลายเหมาะสมกับผู้เรียนแต่ละคน เน้นการฝึกฝนเครื่องดนตรีให้มีความลึกซึ้งเฉพาะด้าน ใช้การบูรณาการการสอนแบบภูมิปัญญาเดิมร่วมกับทฤษฎีการเรียนรู้ทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ โดยบทบาทของผู้สอนและผู้เรียนจะร่วมกันสร้างสรรค์ผลงานผ่านกระบวนการทางดนตรีและสรุปบทเรียนเป็นขั้นตอนสุดท้ายของกิจกรรมการสอน ซึ่งผู้เรียนมีบทบาทในการตระหนักถึงการเรียน ได้ทบทวนความรู้และพัฒนาทักษะทั้งในและนอกห้องเรียนและผู้สอนมีบทบาทในการสร้างประสบการณ์จริงในด้านดนตรีพื้นบ้านการแนะแนวทางแหล่งการเรียนรู้เพิ่มเติม เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ก่อนถึงกระบวนการวัดและประเมินผล ซึ่งมีจุดหมายในการคาดคะเนผู้เรียน การพัฒนาปรับปรุงผู้เรียนจากการร่วมกันสร้างเกณฑ์มาตรฐานการวัดและประเมินผลทั้งทฤษฎีและปฏิบัติ และทำการวัดผล คำนึงถึงวิธีการประเมินด้วยเครื่องมือและวิธีการที่เหมาะสม และให้ผู้สอนร่วมกันหาแนวทางเพื่อให้ผู้เรียนสามารถผ่านกระบวนการวัดผล จึงจะครบกระบวนการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตร en_US
dc.description.sponsorship The aims of this study were 1) to examine general context of teaching and learning management and 2) to investigate the process of teaching and learning of E-san folk music courses in secondary level at Roi Et College of Dramatic Arts. The data were collected by using interview form from teachers, administrators and graduates. Then, the collected data were analyzed and synthesized. The results were as follows: 1. General context of teaching and learning management was administered by determining curriculum that focused on the importance of enhancing E-san folk music to be equal with other musical branches. Moreover, the school administrators were responsible for supervising the teaching and learning to be systematic in several aspects. In terms of academic aspect, there was a clear specification of the curriculum appointed by the experts in E-san folk music and curriculum. For personnel aspect, specialists who were skilled and had a good experience in the field of E-san folk music were involved in the curriculum design. Moreover, the budget was distributed in order to meet the musical instruments need, and proper teaching location for the effective E-san folk music teaching and learning according to mutual contexts on the basis of curriculum and goals set to enhance successful learners. 2. In terms of the process of teaching and learning, the unique teaching and learning process was implemented at the college. Clear curriculum was determined started from preparation which emphasized on enhancing understanding, positive attitude, love and pride in the teaching and learning and then lead to the lesson. The teachers always have to make a lesson plan and activities that focused on the learners’ skill practice independently under the supervision of the specialists. There was a variety lesson that suited the individual learners. Likewise, specialized musical instrument practice was focused and the integration of the primary wisdom and teaching and learning theories was emphasized. Then, the lesson was summarized and the creation of musical works was the final step in the teaching and learning process. This encouraged the learners to review and develop their skill both inside and outside the class. Moreover, real experiences in the field of folk music and recommendation of complementary resources for continually learning were implemented before the assessment. Then, the learners’ skills were improved and evaluated based on the assessment according to the mutual standard criteria in terms of theories and practices. In addition, the assessment was made with proper instruments and approaches and the teachers agree to find the way to make the learners pass the assessment as the final step in the process of teaching and learning. en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.subject กระบวนการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรดนตรีพื้นบ้านอีสานระดับมัธยมศึกษาตามหลักสูตรของวิทยาลัยนาฏศิลป์ร้อยเอ็ด en_US
dc.title กระบวนการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรดนตรีพื้นบ้านอีสานระดับมัธยมศึกษาตามหลักสูตรของวิทยาลัยนาฏศิลป์ร้อยเอ็ด en_US
dc.title.alternative Teaching and Learning Process of E-San Folk Music Courses in Secondary Level at Roi Et College of Dramatic Arts en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.discipline ดนตรีศึกษา en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.name ครุศาสตรมหาบัณฑิต en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics