ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

โครงการรูปแบบการบริหารจัดการระบบการผลิตข้าวเม่าแบบบูรณาการ เพื่อสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจชุมชนหมู่บ้านข้าวเม่า อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์

Show simple item record

dc.contributor.author ม้าแก้ว, จารินี
dc.contributor.author เพียรจัด, สรรเพชร
dc.contributor.author มูลวันดี, ผกามาศ
dc.contributor.author ผลเกิด, ปัญจมาพร
dc.contributor.author มะรังษี, สุภาพร
dc.date.accessioned 2020-07-17T06:41:10Z
dc.date.available 2020-07-17T06:41:10Z
dc.date.issued 2019-10-01
dc.identifier.citation รายงานการวิจัย en_US
dc.identifier.isbn -
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/6586
dc.description.abstract หัวข้อวิจัย รูปแบบการบริหารจัดการระบบการผลิตข้าวเม่าแบบบูรณาการเพื่อสร้าง ความเข้มแข็งของเศรษฐกิจชุมชนหมู่บ้านข้าวเม่า อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ผู้วิจัย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดร.จารินี ม้าแก้ว และคณะ หน่วยงาน สาขาเทคโนโลยีวิศวกรรมไฟฟ้า คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ปีพ.ศ. 2562 บทคัดย่อ การวิจัยเรื่องรูปแบบการบริหารจัดการระบบการผลิตข้าวเม่าแบบบูรณาการเพื่อสร้าง ความเข้มแข็งของเศรษฐกิจชุมชนหมู่บ้านข้าวเม่า อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ทราบศักยภาพและเศรษฐกิจชุมชนหมู่บ้านข้าวเม่า อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ 2) ให้ได้รูปแบบ การบริหารจัดการระบบการผลิตข้าวเม่าแบบบูรณาการเพื่อสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจชุมชน หมู่บ้านข้าวเม่า อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์3) ทดลองใช้และทราบผลการประเมินรูปแบบการ บริหารจัดการระบบการผลิตข้าวเม่าแบบบูรณาการเพื่อสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจชุมชน หมู่บ้านข้าวเม่า อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ กลุ่มเป้าหมายในการศึกษาข้อมูลใช้วิธีเจาะจงจาก ผู้ผลิตข้าวเม่า จำนวน 33 ครัวเรือน งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยแบบผสม (Mixed Method) ใช้เครื่องมือ เชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการบริหารจัดการระบบการผลิตข้าวเม่าแบบบูรณาการเพื่อสร้าง ความเข้มแข็งของเศรษฐกิจชุมชนหมู่บ้านข้าวเม่า เป็นกระบวนการในการรวบรวมองค์ความรู้ศาสตร์ และศิลป์มาจัดการทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชนโดยบูรณาการทำงานร่วมกับภาคีเครือข่ายเพื่อพัฒนา กระบวนการผลิตข้าวเม่าให้เกิดความเปลี่ยนแปลง 4 ด้าน คือ 1) ด้านเทคโนโลยีการผลิต 2) ด้าน พลังงาน 3) ด้านอาชีวอนามัย 4) ด้านเศรษฐกิจ ผ่านกระบวนการสร้างความเปลี่ยนแปลงตามศาสตร์ พระราชา เข้าใจ เข้าถึง และพัฒนาโดยอาศัยการร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมประเมิน สร้างความตระหนัก และสัจจะสัญญา โดยมีเป้าหมายในการแก้ไขรูปแบบกระบวนการผลิตและแก้ไขพฤติกรรมของผู้ผลิต ผลลัพธ์สุดท้ายคือทำให้เกิดความเข้มแข็งของเศรษฐกิจชุมชน ผลการทดลองใช้รูปแบบพบความเปลี่ยนแปลง 3 ด้าน คือ 1) ด้านระบบการผลิตข้าวเม่า บ่อแช่และล้างข้าวเปลือกได้มาตรฐาน เตาคั่วข้าวเม่าประสิทธิภาพสูง (เตาเทอโร) สามารถประหยัด ฟืนลงได้ 36.63% มีการเผาไหม้สมบูรณ์เขม่าควันไฟน้อยลง 80% ทำอุณหภูมิได้สูงขึ้น 37.47% อุณหภูมิสะสมรอบตัวเตาลดลง 38.8% ระบบการตำได้มาตรฐานมีระดับเสียงต่ำลง 14.12% สั่นสะเทือนน้อยลง โรงเรือนการผลิตได้มาตรฐานอากาศถ่ายเทดีขึ้น 2) ด้านมิติทางสังคมตามศาสตร์ ข พระราชา กระบวนการสร้างความเข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา ทำให้ชุมชนเริ่มเข้าใจปัญหาของตนเอง เปิดใจยอมรับการทำงานร่วมกับภาคี เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน เกิดการระเบิดจากภายใน รู้สึก เป็นเจ้าของ เกิดการมีส่วนร่วมและมีจิตสาธารณะ แบ่งปันช่วยเหลือกัน ไม่แบ่งพรรคแบ่งพวก เกิด การรักษาสิ่งแวดล้อม เกิดการเพิ่มพูนความรู้ ได้นวัตกรรมใหม่ และลูกหลานคืนถิ่น 3) เศรษฐกิจ ชุมชน ต้นทุนต่อกิโลกรัมลดลง 0.42% ราคาขายต่อกิโลกรัมเพิ่มขึ้น 45.83% ยอดขายข้าวเม่าโปร เพิ่มขึ้น 8.65% รายได้ทั้งชุมชนเพิ่มขึ้น 58.45% กำไรทั้งชุมชนเพิ่มขึ้น 170% ช่องทางการจำหน่าย หลากหลายขึ้น มีการส่งเสริมการตลาด ส่งผลทำให้เกิดการกระจายรายได้ให้กับคนในชุมชน ทำให้เกิด ชื่อเสียงกับชุมชน การยอมรับผลิตภัณฑ์มากที่สุดคือ เนื้อสัมผัสผลิตภัณฑ์ 69.75% รองลงมาบรรจุ ภัณฑ์สะดวกต่อการบริโภค 68.25% และน้อยที่สุดความประทับใจแรกเห็น 55.75 คำสำคัญ : รูปแบบการบริหารจัดการ, ระบบการผลิตข้าวเม่า, บูรณาการ, เศรษฐกิจชุมชน, ศักยภาพชุมชน en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.subject รูปแบบการบริหารจัดการ en_US
dc.subject ระบบการผลิตข้าวเม่า en_US
dc.subject บูรณาการ en_US
dc.subject เศรษฐกิจชุมชน en_US
dc.subject ศักยภาพชุมชน en_US
dc.subject Management en_US
dc.subject shredded rice grain production process en_US
dc.subject integration en_US
dc.subject community economy en_US
dc.subject community potential en_US
dc.title โครงการรูปแบบการบริหารจัดการระบบการผลิตข้าวเม่าแบบบูรณาการ เพื่อสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจชุมชนหมู่บ้านข้าวเม่า อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ en_US
dc.title.alternative A Model of Shredded Rice Grain Integrated Process Management for Economic Community Strengthening : Shredded Rice Grain Village, Nang Rong, Buriram. en_US
dc.title.alternative A Model of Shredded Rice Grain Integrated Process Management for Economic Community Strengthening : Shredded Rice Grain Village, Nang Rong, Buriram. en_US
dc.type Article en_US
dc.contributor.emailauthor supaposn.ms@bru.ac.th en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics