ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

เกณฑ์ตัดสินความจริงตามหลักกาลามสูตร : การศึกษาเชิงวิเคราะห์ วิจักษ์ และวิธาน

Show simple item record

dc.contributor.author เมธา, หริมเทพาธิป
dc.date.accessioned 2019-08-09T07:57:21Z
dc.date.available 2019-08-09T07:57:21Z
dc.date.issued 2560
dc.identifier.citation รมยสาร, ปีที่ 13, ฉบับที่ 3 (ก.ย. - ธ.ค. 2558) : หน้า 69 - 78 en_US
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/5360
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อถกคำถามว่าเกณฑ์ตัดสินความจริงตามหลัก กาลามสูตรเรียกว่าเป็นลัทธิประโยชน์นิยมได้หรือไม่ โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงปรัชญาเพื่อ หาคำตอบที่ดีที่สุดจากการประนีประนอมทุกฝ่ายเท่าที่จะทำได้และมีเหตุผลเหนือกว่า ทุกฝ่าย ผลการวิจัยพบว่า เหตุผลของฝ่ายตรงข้ามที่สนับสนุนว่าเกณฑ์ตัดสินความจริง ตามหลักกาลามสูตรเป็นลัทธิประโยชน์นิยม แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรก เห็นว่า เกณฑ์ตัดสินความจริงตามหลักกาลามสูตรเป็นประโยชน์นิยมเชิงตะวันตก กลุ่มที่สอง เห็นว่า เกณฑ์ตัดสินความจริงตามหลักกาลามสูตรเป็นประโยชน์นิยมเชิงพุทธ ผู้วิจัย วิจารณ์เหตุผลของฝ่ายตรงข้ามว่า การให้เหตุผลดังกล่าวมีจุดอ่อน 2 ประเด็น ประเด็น แรก เกิดจากการเลือกตีความเฉพาะส่วนผลของการกระทำแต่ละเลยส่วนเหตุและคำ วินิจฉัยของวิญญูชน ประเด็นที่สอง เกิดจากการตีความคำว่า “ประโยชน์” ของพุทธ ศาสนาในความหมายเดียวกับปรัชญาตะวันตก แต่ผู้วิจัยกลับคิดเห็นตรงกันข้ามว่า ไม่น่าจะเรียกได้เช่นนั้น เพราะแท้จริงแล้วประโยชน์ในพุทธศาสนาเป็นประโยชน์เชิง คุณค่าสำหรับพัฒนาคุณภาพชีวิต ผู้วิจัยเสนอคำตอบใหม่ว่า เกณฑ์ตัดสินความจริง ตามหลักกาลามสูตรเป็นแนวคิดหลังนวยุคสายกลาง เพราะมีหลักการ วิธีการ และ จุดมุ่งหมายเหมือนกัน กล่าวคือ 1) ยึดหลักการไม่ยึดมั่นถือมั่น ย้อนอ่านใหม่หมดไม่ ลดอะไรเลย และแสวงหาจุดร่วมสงวนจุดต่าง 2) ยึดวิธีการคิดอย่างมีวิจารณญาณ 3) ยึดเป้าหมาย คือ การพัฒนาคุณภาพชีวิตทั้งโดยส่วนตนและส่วนรวม en_US
dc.description.abstract The objective of the research was to discuss the question “Could criterion of truth according to Kãlãmasutta could defined to be utilitarianism?” in the philosophical approach in order to discover the best answer which compromise all parties and will be the superior reason. The research result was showed that the opposed parties support the criterion of truth according to Kalamasutta was defined as utilitarianism composed of 2 groups ; 1) western utilitarianism, 2) Buddhist utilitarianism. The researcher found that the opposed reasons had two weak points; 1) the hermeneutics was done especially on the consequences of the action by neglecting the consideration of causes and the diagnosis of the responsible men, 2) the hermeneutics of the word “Useful” in Buddhism as same meaning of utilitarianism in the western philosophy. On the other hand, the researcher had purpose that useful in Buddhism give the answer should not to be utilitarianism because in Buddhism the valuated benefits for the development of life quality. The researcher proposed the new that the criterion of truth according to Kalamasutta was a criterion philosophy because they had the same principles, methods, and aims ; 1) both supported the detachment principle, reread all reject none concept and seek variety 2) both critical thinking 3) their objectives were the development of the life quality by individual and public approach. en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.subject เกณฑ์ตัดสินความจริงตามหลักกาลามสูตร : การศึกษาเชิงวิเคราะห์ วิจักษ์ และวิธาน en_US
dc.title เกณฑ์ตัดสินความจริงตามหลักกาลามสูตร : การศึกษาเชิงวิเคราะห์ วิจักษ์ และวิธาน en_US
dc.title.alternative Criterion of Truth According to Kalamasutta : An Analytic, Appreciative and Applicative Study en_US
dc.type Article en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics