ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

นักศึกษาปริญญาเอก สาขาวิชาหลักสูตรและการเรียนการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

Show simple item record

dc.contributor.author สิรินันท์, สุรไพฑูรย์ แซ่ผุง
dc.date.accessioned 2019-08-09T02:58:21Z
dc.date.available 2019-08-09T02:58:21Z
dc.date.issued 2560
dc.identifier.citation รมยสาร. ปีที่ 13 ฉบับที่ 2 (พ.ค.-ส.ค. 2558) : หน้า 205-215 en_US
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/5211
dc.description.abstract การวิจัยนี้วัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างหลักสูตรพื้นฐานอาชีพ สำหรับบุคคล ออทิสติกใช้การวิจัยเชิงสำรวจ 2) เพื่อศึกษาผลการเตรียมความพร้อมของครูในการ ทดลองใช้หลักสูตร ใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการ และ 3) เพื่อศึกษาผลของการใช้หลักสูตร พื้นฐานอาชีพของบุคคลออทิสติก ใช้การวิจัยแบบ One shot case study กลุ่มเป้า หมาย คือ ครูผู้สอนงานอาชีพ 5 คนผู้ปกครองบุคคลออทิสติก 6 คน และบุคคลออทิ สติก 6 คน ในศูนย์วิจัยและพัฒนาการจัดการศึกษาพิเศษแบบเรียนรวมสำหรับบุคคล ออทิสติกโรงเรียนสาธิต เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบบันทึกการสนทนา กลุ่ม แผนจัดประสบการณ์พื้นฐานอาชีพ แบบสังเกตพฤติกรรมการสอนของครู แบบ สังเกตพฤติกรรมนักเรียน แบบประเมินความสามารถในการปฏิบัติงานอาชีพ แบบ ประเมินคุณภาพของผลงานที่เกิดจากการปฏิบัติงาน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์ เนื้อหา ค่าร้อยละ และค่าเฉลี่ย ผลการวิจัย มีดังนี้ ระยะที่ 1 ผลการสร้างหลักสูตรพื้นฐานอาชีพ พบว่า ครูและผู้ปกครองบุคคล ออทิสติกต้องการให้มีการพัฒนาหลักสูตรพื้นฐานอาชีพสำหรับบุคคลออทิสติกเพื่อให้ บุคคลออทิสติกมีความสามารถพัฒนาตนเองสู่การประกอบอาชีพในอนาคต ต้องการ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านอาชีพมาให้ความรู้และฝึกประสบการณ์อาชีพแก่บุคคลออทิสติ ก ต้องการเทคนิค วิธีการ และสื่อเพื่อให้บุคคลออทิสติกปฏิบัติงานจนเกิดความสำเร็จ หลักสูตรพื้นฐานอาชีพสำหรับบุคคลออทิสติกที่พัฒนาขึ้นมี 7 อาชีพ ได้แก่ 1) อาชีพประกอบปากกา 2) อาชีพประดิษฐ์สร้อยลูกปัด 3) อาชีพประดิษฐ์กิ๊บ 4) อาชีพประดิษฐ์พวงหรีด 5) อาชีพบรรจุขนมเพื่อจำหน่าย 6) อาชีพทำอาหาร สุนัขและ 7) อาชีพทำอาหารแมว ระยะที่ 2 ผลการเตรียมความพร้อมของ ครูในการทดลองใช้หลักสูตรพื้นฐานอาชีพ พบว่า กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการทำให้ครูมีความ เข้าใจในหลักสูตรและสามารถจัดกิจกรรมการเรียน การสอนได้ครบถ้วนตามที่หลักสูตรกำหนด โดยครู มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของตนเองในการสอน 4 ด้าน คือ การเตรียมสื่อและอุปกรณ์ในการจัดการ เรียนการสอน การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตาม ลำดับขั้นตอนการวิเคราะห์งาน การใช้เครื่องมือวัด และประเมินผล ตลอดจนการหาวิธีในการช่วยเหลือ นักเรียนได้อย่างเหมาะสม ระยะที่ 3 ผลการใช้หลักสูตรพื้นฐานอาชีพ ของบุคคลออทิสติกพบว่า บุคคลออทิสติกกลุ่มเป้า หมายมีคะแนนความสามารถในการปฏิบัติงานหลัง เรียนเฉลี่ยสูงสุด คือ อาชีพประกอบปากการองลงมา คือ ประดิษฐ์สร้อยลูกปัดและอาชีพประดิษฐ์กิ๊บตาม ลำดับ ส่วนอาชีพที่ได้คะแนนเฉลี่ยตํ่าสุด คือ การทำอาหารแมว en_US
dc.description.abstract This research aimed 1) to develop the career curriculum for persons with autism by using the survey research technique, 2) to study the results of the teachers’ readiness preparation to tryout the curriculum by using the action research technique, and 3) to study the results of using the basic career curriculum for persons with autism by the One Shot case study. The targets included five responsible teachers in career practice, six parents of persons with autism and eight persons with autism in the Research and Development Centre of Autistic Inclusive Education Demonstration School, Khon Kean University. The instruments included a focus group discussion form, career development lesson plans, two observation forms for observing behaviors of the teachers and persons with autism, two assessment forms for assessing the ability to work and the quality assessment of the finished products. Descriptive statistics such as percentage, mean, and content analysis were employed. The research findings of the three phases were as follows: In the first phase dealing with the results of creating the basic career curriculum, it was found that teachers and parents of persons with autism needed a career curriculum for persons with autism in order to enable them improve their working skills needed in the jobs, specialists in each career ; methods, techniques, and materials for teaching persons with autism to finish their jobs. The developed career curriculum consisted of 7 jobs as follows : (1) putting parts of ball-point pens together, (2) beadwork, (3) putting parts of hairdressing clips together, (4) making wreaths, (5) packing snacks, (6) making instant dog’s food, and (7) making instant cat’s food. In the second phase dealing with the results of the teachers’ readiness preparation in try-out of the career curriculum, it was found that the action research technique could help the teachers understand the curriculum and they could provide learning activities prescribed in the curriculum. Teachers changed their behavior in four aspects : the preparation of the teaching materials used in learning activities, organizing the learning activities step by step as mentioned in task analysis, the use of the assessment tools, and the appropriate methods in helping persons with autism. In the third phase dealing with the results of using the career curriculum, it was found that the target persons with autism had the ranking scores from putting parts of ball-point pens; beadwork, and hairdressing clips together respectively and the lowest ranking scores were of making cat’s food. en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.subject นักศึกษาปริญญาเอก สาขาวิชาหลักสูตรและการเรียนการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น en_US
dc.title นักศึกษาปริญญาเอก สาขาวิชาหลักสูตรและการเรียนการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น en_US
dc.title.alternative Career Curriculum Development for Persons with Autism en_US
dc.type Article en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics