ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงกับการจัดการความขัดแย้งของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2

Show simple item record

dc.contributor.advisor โกวิท วัชรินทรางกูร en_US
dc.contributor.advisor สิทธิชัย ดีล้น en_US
dc.contributor.author สายพิณ, ภูมิประโคน
dc.date.accessioned 2018-09-26T05:13:15Z
dc.date.available 2018-09-26T05:13:15Z
dc.date.issued 2561-10-30
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/4356
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครูที่มีต่อภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียน 2) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครูที่มีต่อการจัดการความขัดแย้งของผู้บริหารโรงเรียน และ 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงกับการจัดการความขัดแย้งของผู้บริหารโรงเรียน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 148 คน และครู จำนวน 335 คน ได้มาจากการสุ่มแบบชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมี 3 ลักษณะ ได้แก่ แบบตรวจสอบรายการ แบบมาตราส่วน ประมาณค่า 5 ระดับ และแบบปลายเปิด แบบสอบถามมีค่าความเชื่อมั่น 0.98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสัมประสิทธิ์สหพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้บริหารโรงเรียนมีภาวะผู้นำ โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยลำดับสูงสุดคือ ด้านการมีอิทธิพลเชิงอุดมการณ์และด้านการคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล รองลงมาคือ ด้านการสร้างแรงบันดาลใจ ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยลำดับต่ำสุด คือ ด้านการกระตุ้นการใช้ปัญญา 2) ผู้บริหารโรงเรียนจัดการความขัดแย้ง โดยรวมด้านการยอมเสียประโยชน์ ด้านการร่วมแรงร่วมใจและด้านการประนีประนอมอยู่ในระดับมาก ส่วนด้านการแข่งขันและด้านการหลีกเลี่ยงอยู่ในระดับปานกลาง โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยลำดับสูงสุดคือ ด้านการยอมเสียประโยชน์และการร่วมแรงร่วมใจ รองลงมาคือ ด้านการประนีประนอม ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยลำดับต่ำสุด คือ ด้านการหลีกเลี่ยง และ 3) ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนมีความสัมพันธ์ทางบวกค่อนข้างต่ำกับการจัดการความขัดแย้งของผู้บริหารโรงเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 คำสำคัญ : ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง การจัดการความขัดแย้ง ผู้บริหารโรงเรียน และความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงกับการจัดการความขัดแย้ง en_US
dc.description.sponsorship The purposes of this research were : 1) to study School administrators and teachers’ opinions on the transformational leadership of school administrators under the Primary Educational Service Area Office 2, 2) to investigate the conflict management of the school administrators, and 3) to find out the relationship between transformational leadership and conflict management of the school administrators. The sample used in this study were 148 school administrators and 335 teachers selected by proportional stratified random sampling. The research instrument used was the 3 part questionnaire with the reliability of 0.98, including checklist, 5-rating scale, and open-ended form. The statistics used were frequency, percentage, mean and standard deviation, and Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient. The research results revealed that: 1) the school administrators’ transformational leadership as perceived by the school administrators and teachers was at a high level in overall and each aspect. Ideological influence and individualized consideration were at the average highest level and was followed by inspiration building while intellectual stimulation was at the average lowest level. 2) the conflict management according to the school administrators and teachers’ opinions was at high level in overall. Having considered each aspect, it showed that accommodating, collaborating, and compromising were at the average high level while competing and avoiding were at the average moderate level. Moreover, accommodating and collaborating were at average highest level and was followed by compromising while avoiding was at the average lowest level, and 3) the relationship between transformational leadership and conflict management was overall positive at a slightly low level significant at the statistical level of .01 Keywords : transformational leadership, conflict management, school administration, and relationship between transformational leadership and conflict management en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.subject ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงกับการจัดการความขัดแย้งของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2 en_US
dc.title ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงกับการจัดการความขัดแย้งของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2 en_US
dc.title.alternative Relationship between Transformational Leadership and Conflict Management of School Administrators under Buriram Educational Service Area Office 2 en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.discipline การบริหารการศึกษา en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.name ครุศาสตรมหาบัณฑิต en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics