ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

ปัญหาและแนวทางแก้ปัญหาการบริหารงานวิชาการและกิจกรรมตามหลักสูตรของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น จังหวัดบุรีรัมย์

Show simple item record

dc.contributor.advisor กิติวัชร ถ้วยงาม en_US
dc.contributor.advisor เผ่าพงษ์พัฒน์ บุญกะนันท์ en_US
dc.contributor.author มัธยา, นิลฟู
dc.date.accessioned 2018-09-20T03:00:09Z
dc.date.available 2018-09-20T03:00:09Z
dc.date.issued 2561-09-06
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/4321
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) เพื่อศึกษาปัญหาและแนวทางแก้ปัญหาการบริหารงานวิชาการและกิจกรรมตามหลักสูตรของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น จังหวัดบุรีรัมย์ 2) เพื่อเปรียบเทียบปัญหาการบริหารงานวิชาการและกิจกรรมตามหลักสูตร ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น จังหวัดบุรีรัมย์จำแนกตามสถานภาพตำแหน่งและขนาดของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 3) เพื่อศึกษาแนวทางการแก้ปัญหาการบริหารงานวิชาการและกิจกรรมตามหลักสูตร ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น จังหวัดบุรีรัมย์ การวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาปัญหาการบริหารงานวิชาการและกิจกรรมตามหลักสูตรของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารและครูผู้ดูแลเด็กตามขนาดของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ในระดับขนาดเล็กขนาดกลางและขนาดใหญ่ ได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างง่าย (Simple random) เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระยะที่ 2 แนวทางแก้ปัญหา โดยการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหาร และเชี่ยวชาญด้านการสอนระดับปฐมวัยเป็นที่ยอมรับจำนวน 7 คน ใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive selection) เครื่องมือที่ใช้ได้แก่แบบสัมภาษณ์แนวทางการแก้ไขปัญหาการบริหารงานวิชาการและกิจกรรมตามหลักสูตร วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) ผลของการวิจัย 1.ปัญหาและแนวทางแก้ปัญหาการบริหารงานวิชาการและกิจกรรมตามหลักสูตรของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น จังหวัดบุรีรัมย์ตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครูดูแลเด็กโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การนิเทศการศึกษา รองลงมา คือ ด้านการวิจัยในชั้นเรียน และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุดคือ ด้านการเขียนแผนการจัดประสบการณ์ และด้านการวัดผลและประเมินผล 2.ปัญหาและแนวทางแก้ปัญหาการบริหารงานวิชาการและกิจกรรมตามหลักสูตรของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น จังหวัดบุรีรัมย์ จำแนกตามสถานภาพตำแหน่ง โดยรวมและรายด้านไม่แตกต่าง 3.เปรียบเทียบความคิดเห็นเห็นผู้บริหารและครูดูแลเด็กเกี่ยวกับปัญหาการบริการงานวิชาการและกิจกรรมตามหลักสูตรของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น จังหวัดบุรีรัมย์ จำแนกตามขนาดของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านการนิเทศการศึกษา ด้านการวิจัยในชั้นเรียน ด้านโภชนาการ ด้านกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน (กิจกรรมวันสำคัญต่างๆ / โครงการที่ส่งเสริมผู้เรียน) แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 ด้านการประเมินคุณภาพภายในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ส่วนด้านอื่นๆไม่แตกต่างกัน 4.ความคิดเห็นจากการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับแนวทางการแก้ปัญหาบริหารงานวิชาการและกิจกรรมตามหลักสูตรซึ่งแนวทางแก้ปัญหาในด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านนิเทศการศึกษา หน่วยงานต้นสังกัดควรมีการวางแผนพัฒนากระบวนนิเทศการศึกษาอย่างมีระบบ มีการกำกับติดตามและประเมินผล รวมทั้งรายงานผลการนิเทศต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อเป็นข้อมูลในการพัฒนาต่อไป และรองลงมาคือ ด้านการวิจัยในชั้นเรียน หน่วยงานต้นสังกัดควรส่งเสริมสนับสนุนให้ครูเข้ารับการอบรมการออกแบบและจัดทำวิจัยในชั้นเรียนเพื่อพัฒนาผู้เรียนอย่างเป็นระบบ และมีการรายงานการจัดทำวิจัยในชั้นเรียนต่อหน่วยงานต้นสังกัดอย่างน้อยปีล่ะ 1 ครั้ง en_US
dc.description.sponsorship This research aimed, 1) to study the problems of academic administration and activities according to the curriculum of the child development center under local administrative organization. 2) to compare the problem of academic administration and activities by position and size of the child development center. 3) to study the solutions of problems in academic administration and activities under local administrative organization. The research was divided into two phases. Phase one included studying problems of academic administration and activities. The samples were the administrative and teaching professionals compared with the size of the child development center. There were small, medium and large centers included in the study. They were selected by simple random sampling. The instrument used was questionnaires. Statistics used for data analysis were percentages, means, and standard deviation. Phase two included studying solutions by interviewing seven administrative and teaching professionals of early childhood education. They were selected by purposive selection. The instrument used was an interview form of solutions academic administration and activities. The data used content analysis. The results of the study were as follows: 1. The problems of academic administration and activities according to the curriculum of the child development center under local administrative organization as a whole, were at a moderate level; ranking from the highest were educational supervision and classroom research. The lowest were lesson planning, measurement and evaluation. 2. The problems of academic administration and activities by position, as a whole and on an individual basis, were not affected. 3. The opinion comparison between administrator and teacher about the problem of academic administration and activities compared with the size of the child development center as a whole, had a.05 level of statistical significance. An individual result was educational supervision, classroom research, nutrition, and student activities (important events as these programs encourage the students) had assessment produced a.05 level of statistical significance but the other results were not affected. a.01 level of statistical significance. The internal quality assessment produced a .05 level of statistical significance but the other results were not affected. 4. The solutions by interviewing the administrative professionals and teaching professionals of early childhood education were revealed that the results which took the highest average,was educational supervision. The department should have a plan to develop the processes of the educational supervision system, have monitoring and evaluation processes, and then report to the department for the next development. The secondary was classroom research, the department should encourage and support teachers to participate and do classroom research to develop students within the system then report classroom research to the department at least once a year en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.subject ปัญหาและแนวทางแก้ปัญหาการบริหารงานวิชาการและกิจกรรมตามหลักสูตรของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น จังหวัดบุรีรัมย์ en_US
dc.subject ปัญหาและแนวทางแก้ปัญหาการบริหารงานวิชาการและกิจกรรมตามหลักสูตรของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น จังหวัดบุรีรัมย์ en_US
dc.title ปัญหาและแนวทางแก้ปัญหาการบริหารงานวิชาการและกิจกรรมตามหลักสูตรของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น จังหวัดบุรีรัมย์ en_US
dc.title.alternative Problems and Solutions to Academic Administration and Activity - based of Child Development Centers under Buriram Local Administrative Organization en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.discipline การบริหารการศึกษา en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.name ครุศาสตรมหาบัณฑิต en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics