ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

ปัญหาในการสอนภาษาอังกฤษและความต้องการในการพัฒนาวิชาชีพของครูชาวไทยผู้สอนภาษาอังกฤษในฐานะภาษาต่างประเทศในระดับชั้นประถมศึกษา

Show simple item record

dc.contributor.advisor Saowarot Ruangpaisan en_US
dc.contributor.advisor surachai Piyanukool en_US
dc.contributor.author ประมาณ อุ่นพิมาย
dc.date.accessioned 2018-09-06T03:18:57Z
dc.date.available 2018-09-06T03:18:57Z
dc.date.issued 2561-09-04
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/4308
dc.description.abstract การวิจัยเชิงสำรวจนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาในการสอนภาษาอังกฤษ ความต้องการในการพัฒนาวิชาชีพ และเปรียบเทียบปัญหาในการสอนภาษาอังกฤษและความต้องการในการพัฒนาวิชาชีพของครูผู้สอนภาษาอังกฤษในฐานะภาษาต่างประเทศชาวไทยที่จบเอกภาษาอังกฤษกับครูที่ไม่จบเอกภาษาอังกฤษ ระดับชั้นประถมศึกษา เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์เขต 4 โดยใช้แบบสอบถามและการสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง ประชากรคือ ครูชาวไทยผู้สอนวิชาภาษาอังกฤษในฐานะภาษาต่างประเทศระดับชั้นประถมศึกษา จำนวน 144 คน โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test ในการเปรียบเทียบปัญหาและความต้องการระหว่างครูเอกภาษาอังกฤษ และไม่ใช่เอกภาษาอังกฤษ ผลการวิจัยสามารถสรุปได้ดังนี้ ปัญหาในการสอนภาษาอังกฤษ เมื่อพิจารณาในแต่ละด้านพบว่า 1) ปัญหาด้านตัวครูอยู่ในระดับ ปานกลาง ปัญหาที่พบบ่อยมากที่สุดคือ ปัญหาด้านการสื่อสาร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทักษะด้านการฟัง ในขณะที่ปัญหาที่พบบ่อยมากที่สุด คือ ปัญหาด้านทักษะการสอน 2) ปัญหาด้านผู้เรียน พบว่ามีปัญหาในระดับมาก ปัญหาที่พบมากที่สุด คือ นักเรียนขาดความมั่นใจในการพูดภาษาอังกฤษ ซึ่งมาจากการที่นักเรียนเขินอาย ไม่กล้าแสดงออก นอกจากนั้นยังขาดความรู้ด้านการฟัง และความรู้ด้านไวยากรณ์ อันเนื่องมาจากมีวงคำศัพท์ที่จำกัดและพื้นฐานความรู้ที่แตกต่างกัน 3) ปัญหาด้านสื่อการสอน หนังสือแบบเรียนและหลักสูตรอยู่ในระดับ ปานกลาง โดยเนื้อหาแบบเรียนไม่สัมพันธ์กับบริบทในท้องถิ่น นอกจากนี้แบบเรียนมีความยากเกินระดับความรู้ความสามารถของนักเรียน ผู้สอนไม่มีเวลาในการพัฒนาสื่อการเรียนการสอน ประกอบกับหลักสูตรมีการเปลี่ยนแปลง ไม่เน้นการสื่อสาร หรือการนำเทคโนโลยีมาใช้ 4) ปัญหาด้านการวัดและการประเมินผล อยู่ในระดับ ปานกลาง ผู้สอนขาดทักษะทั้งในด้านการการเขียนแบบทดสอบ การฟัง การพูด การออกแบบเกณฑ์ในการวัดและวิเคราะห์แบบทดสอบ อีกทั้งแบบทดสอบควรมีความยืดหยุ่นและปรับให้เข้ากับความสามารถของนักเรียน และความมุ่งเน้นไปที่ความสามารถในการสื่อสารในชีวิตประจำวัน และ 5) ปัญหาด้านการบริหารงานของโรงเรียนและสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้นั้น พบในระดับ ปานกลาง โดยการเรียนการสอนไม่ต่อเนื่อง อันเกิดจากการประเมินโรงเรียน ประกอบกับการที่ต้องทำงานอื่นๆ นอกเหนือจากการสอนจำนวนมาก ด้านความต้องการในการพัฒนาวิชาชีพของครู พบว่า ระยะเวลาในการอบรมที่ครูผู้สอนภาษาอังกฤษในฐานะภาษาต่างประเทศระดับชั้นประถมศึกษา เขตพื้นที่การศึกษาระดับประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 4 ต้องการพัฒนาวิชาชีพอยู่ในระดับ ปานกลาง โดยต้องการพัฒนาวิชาชีพเป็นหลักสูตรระยะนั้น 3-5 วันในระดับ มาก โดยมีความต้องการพัฒนาทักษะด้านการพูดและการฟัง อยู่ในระดับ มาก ด้านการสอนทักษะการพูดและการฟังในระดับ มาก ลักษณะของการพัฒนาวิชาชีพที่ต้องการนั้น พบความต้องการในระดับ มาก โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับการแสดงบทบาทสมมุติ เกมและเพลง, สื่อมัลติมีเดียและเทคโนโลยีสารสนเทศ ตามลำดับ การเปรียบเทียบปัญหาในการสอนภาษาอังกฤษโดยจำแนกตามครูผู้สอนที่เป็นเอกภาษาอังกฤษ และครูผู้สอนที่ไม่ใช่เอกภาษาอังกฤษ เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ครูผู้สอนที่ไม่ใช่เอกภาษาอังกฤษมีปัญหาด้านการวัดประเมินผลมากกว่าครูผู้สอนที่จบเอกภาษาอังกฤษแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนด้านครู ผู้เรียน หนังสือเรียน สื่อและหลักสูตร การบริหารงานและสิ่งแวดล้อมทางการเรียน และความต้องการในการพัฒนาวิชาชีพนั้นนั้น แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ en_US
dc.description.sponsorship This survey research aimed to identify problems in English language teaching (ELT), to investigate professional Development needs of thai EFL primary school teachers and to compare problems in ELT and professional development needs between English major and non-English major teachers. The instruments used in this study were questionnaires and semi-strustured interviews were 144 primary school teachers teaching English as a foreign languagein buriram Primary Educational Service Area Office 4. The obtained quantitative data And Qualitative data were analyzed by employing destriptive statistics, including frequency, percentage, mean, standard deviation and inferential statistics, t-test. The findings were revealed as Follows: Regarding the problems in ELT, 1) Teachers’ problems were overall at the moderate level; the mostly found problems were English communicative skills especially English listening skill were observed to be the highest level whereas English teaching skill was the least reproblem.,2) Students’ problems according to teachers’ views were at the high level; the most problems were students lacked confidence in speaking English, English listening skill and English grammatical knowledge because of the limited of vocabulary bank and differences of knoeledge background in English language, 3) Medie, textbook, and curriculum problems were at the moderate level; contents in the textbook were not related to the local contexts also the textbooks were difficult for their learning abilities, teachers did not have time to develop their teacning materials altogether with the curriculum changes, English communicative approaches and technology usage were not focused, 4) Evaluation problems were also at the moderate level; teachers lack of skill in constructing listening, speaking tests, test analysis and 5) School administration and learning environment were at the moderate level; teaching activities interrupted by many school quality assurance rounds was at the high level, teachers could not teach their students continuously due to their extra tasks. In terms of the professional development needs, it was found that Thai EFL primary school teachers in Buriram Primary Eduactional Service Area Office 4 needed professional development in moderate level;3-5-day training programs were at the high level. Regarding their personal skills, speaking and listening skills were required at the high level. The training contents which were reported at the high level were role-plays, songs, games, multimedia, and information technology respectively. The comparison of the problems in English language teaching (ELT) and the needs for their professional development between English-major and non-English major teachers indicated that the latter group reported. Despite the higher mean scores for the latter group, there was no statistically significant difference across the two groups for teachers themselves, students, textbooks, multimedia, curriculums, administration, and learning environments. In addition, the results of the needs analysis demonstrated that the teachers’ needs for their professional development did not differ significantl en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.subject ปัญหาในการสอนภาษาอังกฤษและความต้องการในการพัฒนาวิชาชีพของครูชาวไทยผู้สอนภาษาอังกฤษในฐานะภาษาต่างประเทศในระดับชั้นประถมศึกษา en_US
dc.title ปัญหาในการสอนภาษาอังกฤษและความต้องการในการพัฒนาวิชาชีพของครูชาวไทยผู้สอนภาษาอังกฤษในฐานะภาษาต่างประเทศในระดับชั้นประถมศึกษา en_US
dc.title.alternative Problems in English Language Teaching andProfessional Development Needs of Thai EFLPrimary School Teachers en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.level master degree en_US
dc.degree.name Master of Arts en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics