ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

สภาพการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3

Show simple item record

dc.contributor.advisor ศิราณี จุโทปะมา en_US
dc.contributor.advisor ประคอง กาญจนาการุณ en_US
dc.contributor.author สุกฤตา, เสนาราช
dc.date.accessioned 2018-09-06T02:49:02Z
dc.date.available 2018-09-06T02:49:02Z
dc.date.issued 2561-09-05
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/4298
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาและเปรียบเทียบสภาพการดำเนินงานระบบการช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3 ตามแนวทางที่สำนักงานและกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนดใน 5 ประการ ได้แก่ การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล การคัดกรองนักเรียน การส่งเสริมและพัฒนานักเรียนการป้องกันช่วยเหลือและแก้ไช และการส่งต่อนักเรียน โดยจำแนกตามสถานภาพ ตำแหน่งและขนาดของโรงเรียนกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารและครูแนะแนว 204 ได้จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม ได้ค่าความเชื่อมั่นองแบบสอบถามเท่ากับ .9518 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานสถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมุติงาน คือ t-test และ f-test กำหนดค่าสถิติที่ระดับนัยสำคัญ .05 ผลการวิจัยพบว่า 1.ความคิดเห็นของผู้บริหารและครูแนะแนวเกี่ยวกับสภาพการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3 โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยที่สูงที่สุด คือ ด้านการรู้จักนักเรียนเป็นราบบุคคล รองลงมา คือ ด้านการคัดกรองนักเรียน ด้านการป้องกัน ช่วยเหลือและแก้ไข ด้านการส่งเสริมและพัฒนานักเรียนและด้านการส่งต่อนักเรียนตามลำดับ 2.ความคิดเห็นของผู้บริหารของผู้บริหารและครูแนะแนวเกี่ยวกับสภาพการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนจำแนกตามสถานภาพตำแหน่งโดยภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน 3.ความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูแนะแนวเกี่ยวกับสถานภาพการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนจำแนกตามขนาดโรงเรียน โดยภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน 4.ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับสภาพการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ที่มีจำนวนมากที่สุด คือโรงเรียนควนจัดให้ครูที่ปรึกษาได้ดูแลนักเรียนอย่างต่อเนื่องและทั่วถึง รองลงมาคือด้านการอบรมครูด้านการดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างต่อเนื่อง การประสานงานกับหน่วยงานอื่นให้มากขึ้น ด้านครูที่ปรึกษาควรออกไปเยี่ยมบ้านเพื่อจะได้รู้จักนักเรียนเป็นอย่างดี โรงเรียนควรจัดกิจกรรมต่างๆ ให้นักเรียนในระดับชั้นเดียวกันและต่างระดับได้ร่วมกิจกรรมกันเพื่อสร้างประโยชน์ให้นักเรียนและโรงเรียน ผู้ปกครองเข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้น และมีการประชุมบ่อยๆ ครูที่ปรึกษาควรทำกิจกรรมร่วมกับนักเรียนบ่อย ๆ ควรให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการเสนอแนวคิดติดต่อระบบการดูแล ช่วยเหลือนักเรียนและด้านครูและโรงเรียนควรเข้มงวดกับกฎระเบียบของโรงเรียนเพราะไม่เช่นนั้นก็จะทำให้นักเรียนไม่เห็นความสำคัญของกฎและระเบียบต่างๆ en_US
dc.description.sponsorship The purposes of this research were to study and compare operation of students assistance system at the schools Buriram Primary Education Service Area Office 3. It was considered in line with the guidelines of Office of the Basic Education Commission of Thailand in five aspects: knowing an individual student, screening students, promoting and developing students, prevention and problem solution, and forwarding students. It was classified by sample's positions and school sizes. The sample consisted of 204 administrators and teachers. They were collected via a multi-staged sampling method. The research tool was a questionnaire with the reliability of.9518. The statistics used to analyze the obtained data were frequency, percentage, mean and standard deviation. The hypothesis was tested by using independent t-test and F-test at the statistical significance of .05 level. The results revealed that: 1. The opinions of the sample on the operation of students assistance system at the schools under Buriram Primary Education Service Area Office 3 were found at a high level in overall and each aspect. Upon considering each aspect, it showed that the aspect of knowing an individual student was ranked at the average highest level and was followed by the aspects of screening students, prevention and problem solutions, promoting and developing students, and forwarding students respectively 2. The opinions of the sample on the aforementioned topic, classified by their positions were not found different in overall and each aspect. 3. The opinions of the sample on this topic, classified by their school sizes were also notfound different in overall and each aspect. 4. The sample' other opinions and suggestions about this issue were as follows: Students' advisor should be assigned by a school to continuously and thoroughly advise and take care of students. The teachers taking care of students should be continuously trained. Coordination with other organizations should be continuously made. Advisors should visit students at their house regularly. Activities should be organized for students with the same and ifferent classes in order to motivate them to make benefits for themselves and their schools. Parents should participate in the activities have regular meetings with schools. Advisor should often carry out the activities with their students. Students should be invited to participate in proposing opinions on the student assistance system. School rules and regulations should be strictly enforced otherwise the students might not give an importance on them. en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.subject สภาพการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3 en_US
dc.title สภาพการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3 en_US
dc.title.alternative Operation of Students Assistance System at Schools Buriram Primary Education Service Area Office 3 en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.name ครุศาสตราจารย์มหาบัณฑิต en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics