ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

สภาพการพัฒนาครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32

Show simple item record

dc.contributor.advisor ศิราณี จุโฑปะมา en_US
dc.contributor.advisor ประคอง กาญจนการุณ en_US
dc.contributor.author แสงจันทร์, สุขจิต
dc.date.accessioned 2018-08-27T03:28:34Z
dc.date.available 2018-08-27T03:28:34Z
dc.date.issued 2561-08-27
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/4275
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อการศึกษาสภาพการพัฒนาครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32 ตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครูใน 5 ด้าน ได้แก่ ด้านการฝึกอบรม ด้านการศึกษาดูงานหรือการศึกษาต่อ ด้านการพัฒนาครูโดยกระบวนการปฏิบัติงาน ด้านการพัฒนาด้วยตนเองและด้านการพัฒนาครูโดยกระบวนการบริหาร เพื่อเปรียบเทียบสภาพการพัฒนาครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32 ทั้ง 5 ด้าน จำแนกตามสถานภาพตำแหน่ง วุฒิการศึกษา และขนาดของโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างเป็นบุคลากรครูในโรงเรียน 345 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 66 คน และครู จำนวน 279 คน ซึ่งได้มาโดยตารางกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามตารางของเครจซีและมอร์แกน และการซุ่มแบบชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามที่ผู้วิจัยได้สร้างขึ้นและมีค่าความเชื่อมั่น 0.9547 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การทดสอบค่าเอฟ และวิธีการของเชฟเฟ่ (Scheffe’Method) ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพการพัฒนาครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32 ตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครู โดยรวมและรายด้านมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก 2. การเปรียบเทียบสภาพการพัฒนาครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32 ตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครู จำแนกตามสภาพตำแหน่งโดยรวมและรายด้านไม่โดยแตกต่างกัน 3. การเปรียบเทียบสภาพการพัฒนาครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32 ตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครู จำแนกตามวุฒิการศึกษาโดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า กระบวนการปฏิบัติงาน ด้านการฝึกอบรม ด้านการพัฒนาครู โดยกระบวนการปฏิบัติงานแตกต่างกันอย่างมีวินัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ด้านการพัฒนาด้วยตนเอง ด้านการพัฒนาครูโดยกระบวนการบริหารแตกต่างกันอย่างมีวินัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ยกเว้นด้านการศึกษาดูงานหรือการศึกษาต่อไม่แตกต่างกัน 4. การเปรียบเทียบสภาพการพัฒนาครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32 ตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครู จำแนกตามขนาดของโรงเรียน โดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 5. ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของผู้บริหารและครูเกี่ยวกับสภาพการพัฒนาครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32 ที่มีจำนวนมากที่สุด คือ 1) การพัฒนาครูในโรงเรียนควรมีการวางแผนการพัฒนาบุคลากรร่วมกันระหว่างผู้บริหารและครูเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่นักเรียน ได้แก่ การจัดฝึกอบรมควรจัดให้สอดคล้องกับหลังสูตรการศึกษาแกนกลางและหลักสูตรของโรงเรียนสามารถนำผลการอบรมมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับการเรียนการสอน 2) ส่งเสริมให้บุคลากรในโรงเรียนศึกษาต่อระดับที่สูงขึ้นเพื่อเป็นการพัฒนาตนเองให้มีความเชี่ยวชาญในศาสตร์วิชาเฉพาะของแต่ละบุคคลหรือสนับสนุนให้บุคลากรครูได้ไปศึกษาดูงานในแหล่งเรียนรู้ที่ครูจะนำความรู้ที่ได้รับมาถ่ายทอดให้กับนักเรียน และ 3) โรงเรียนควรเลือกสรรบุคลากรครูที่มีความสามารถเป็นครูนิเทศประจำโรงเรียนเพื่อให้คำปรึกษาและแนะนำแนวทางการปฏิบัติที่ถูกต้องให้การทำงานเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล นอกจากนี้ควรส่งเสริมและสนับสนุนให้ครูมีการจัดแสดงผลงานทางวิชาการอย่างสม่ำเสมอ en_US
dc.description.sponsorship The purposes of this research were to study the status of teacher development in schools under the Secondary Educational Service Area Office 32 according to the opinions of the administrators and teachers in five aspects, namely training, study trip or higher education, teacher development by means of operational process, self-development, and teacher development by means of administration process and to compare the status of teacher development in schools under this office in five aspects, classified by position, education and school’s size. The samples totally consisted of 345 teachers: 66 school administrators and 279 teachers, selected by using the table of Krejcie & Morgan, and stratified random sampling technique. The instrument used to collect the data was a questionnaire constructed by the researcher with its reliability at 0.9547. The statistics used to analysis the data were percentage, mean, standard deviation, t-test F-test, and Scheffe method. The findings of this research were as follows: 1. The status of teacher development in schools under the Secondary Educational Service Area Office 32 according to the opinions of the administrators and teachers in overall and each aspect was at the high level. 2. The comparison of the status of teacher development in schools under this office according to the opinions of the administrators and teachers, classified by their position was not different in overall and each aspect. 3. The comparison of the status of teacher development in schools under this office according to the opinions of the administrators and teachers, classified by their education was significantly different at the .01 statistical levels in overall aspect. When considering each aspect, it was found that training and teacher development by means of operational process were significantly different at the .01 statistical levels while self-development and teacher development by means of administration process were significantly different at the .05 statistical levels. Except for study trip and higher education, there was no difference. 4. The comparison of the status of teacher development in schools under this office according to the opinions of the administrators and teachers, classified by school’s size was significantly different at the .01 statistical levels in overall and each aspect. 5. The opinions and suggestions of the administrators and teachers about the status of teacher development in schools under this office were found most as follows: 1) The teacher development in schools should be planned together between administrators and teachers in order to be the most beneficial to students, consisting of training that should be organized in accordance with the core curriculum and the school curriculum to be able to apply the training results to appropriate teaching and learning process; 2) The schools should promote personnel to continue their higher education in order to improve themselves to be skillful in a particular field or should support them to make a study trip in the learning sources that teachers will apply the grained knowledge to teach their students; and 3) The schools should select personnel school consultant to recommend practice principles required to work effectively and efficiently. In addition, teachers should be encouraged and supported to create and produce their academic works continuously. en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.subject สภาพการพัฒนาครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32 en_US
dc.title สภาพการพัฒนาครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32 en_US
dc.title.alternative The status of teacher development in schools under the Secondary Educational Service Area Office 32. en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.discipline สาขาวิชาการบริหารการศึกษา en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.name ครุศาสตรมหาบัณฑิต en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics