ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

การบริหารความขัดแย้งในองค์การของบุคลากรสังกัดองค์กรปกครองท้องถิ่นในเขตพื้นที่อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

Show simple item record

dc.contributor.advisor ผดุงชาติ ยังดี en_US
dc.contributor.advisor ประชัน คะเนวัน en_US
dc.contributor.author ชูชาติ, พลสงคราม
dc.date.accessioned 2018-08-22T02:58:27Z
dc.date.available 2018-08-22T02:58:27Z
dc.date.issued 2561-08-20
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/4259
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย 1) เพื่อศึกษาการบริหารความขัดแย้งในองค์การของบุคลากรสังกัดองค์การปกครองท้องถิ่น ในเขตพื้นที่อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ 2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของบุคลากรสังกัดองค์ปกครองท้องถิ่น ในเขตพื้นที่อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ เกี่ยวกับการบริหารความขัดแย้งในองค์การ โดยจำแนกตามเพศ ระดับการศึกษาและสถานภาพตำแหน่ง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย มี2 กลุ่ม ได้แก่ ผู้บริหารและหัวหน้าส่วนจำนวน 94 คน และผู้ปฏิบัติงาน ได้จากการสุ่มจากประชากร จำนวน 191 คน รวม 285 คน โดยสุ่มให้กระจายไปตามองค์กรปกครองท้องถิ่นต่าง ๆตามสัดส่วน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้เทคนิคแบบสัมภาษณ์ ได้จากการเลือกแบบเจาะจง โดยการกำหนดเป็นโควตา จำนวน 12 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 2 ประเภท คือ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ โดยแบบสอบถามมีค่าความเชื่อมันเท่ากับ 0.8837 ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ใช้การวิเคราะห์โดยอุปมาน ส่วนข้อมูลจากการตอบแบบสอบถามใช้การวิเคราะห์ด้วยการแจกแจงความถี่ หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมุติฐาน โดยการวิเคราะห์ค่า T-test และ F-test เมื่อพบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยในแต่ละด้านอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ทำการเปรียบเทียบเป็นรายคู่ด้วยวิธีการของเชฟเฟ่กำหนดค่าสถิติที่นัยสำคัญ .05 ผลการวิจัยพบว่า การบริหารความขัดแย้งในองค์การของบุคลากรสังกัดองค์กรปกครองท้องถิ่น ในเขตพื้นที่อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านการเอาชนะ อยู่ในระดับน้อย ด้านการหลีกเลี่ยง และด้านการยอมให้ อยู่ในระดับปานการส่วนด้านการร่วมมือ และด้านการประนีประนอม อยู่ในระดับมากที่สุด โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือด้านการประนีประนอม รองลงมา คือด้านการร่วมมือ ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการเอาชนะ ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของบุคลากรที่มีต่อต่อการบริหารความขัดแย้งในองค์การสังกัดองค์กรปกครองท้องถิ่นในเขตพื้นที่อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ จำแนกตามเพศ และระดับการศึกษา โดยภาพรวม และรายด้านไม่แตกต่างกัน และจำแนกตามสถานภาพตำแหน่ง โดยภาพรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากการใช้เทคนิคการสัมภาษณ์ พบว่า การบริหารความขัดแย้งในองค์การของบุคลากรสังกัดองค์กรปกครองท้องถิ่นในเขตพื้นที่อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งมีข้อเสนอแนะตามความมากกน้อยแต้ละด้านใน 3 ด้าน มีดังนี้ 1) ด้านการประนีประนอม เมื่อเกิดความขัดแย้งก็จะหาสาเหตุว่าเกิดจากอะไร และช่วยหาวิธีแก้ไขโดยการพูดคุยให้เกิดการประนีประนอมมากที่สุด เพราะเป็นการแก้ปัญหาให้ผู้อื่นพึงพอใจมากที่สุด 2) ด้านการร่วมมือ ผู้บริหารควรทำให้ผู้ใต้บังคับบัญชารู้สึกว่าตนมีส่วนร่วมในการออกความคิดเห็นและแก้ไขปัญหา พยายามประสานความสนใจทุกอย่างของผู้อื่นและของตนเองเข้าด้วยกัน ข้อเสนอแนะควรจะเปลี่ยนความขัดแย้งให้เป็นปัญหาที่คู่กรณีจะต้องร่วมมือแก้ไขหรือหาทางออกที่เหมาะสม หาวิธีการแก้ไขด้วยการเห็นพ้องต้องกัน และ 3) ด้านการยอมให้ ควรขอความร่วมมือจากบุคคลอื่น เพื่อให้ทุกคนที่เกี่ยวข้องได้มีส่วนร่วม ในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง en_US
dc.description.sponsorship The purposes of this research were 1) to study the conflict management within the organizations of personnel under Local Administrative Organizations of KhuMueangDistrict,BuriramProvnce and 2) to compare the opinions about this case, classified by their genders, educational levels, and position status. The samples consisted of two groups, namely 94 administrators and heads of sections and 191 officers who were randomly selected from the proportion, including a total of 285 people selected by proportional random sampling distributed to proportional, including a total of 285 people selected by proportional random sampling distributed to various local administrative organizations. There were 12 quota samples employed in the instruments and selected by a purposive random sampling method. The instruments used in this research were a questionnaire with the reliability of 0.8837 and an interview. The data collected from the interview were analyzed by the induction and the data collected from the questionnaire were analyzed by percentage, mean, and standard deviation. The hypothesis was test by T-test, and F-test. Having found the difference of statistically significant mean score in each aspect, the paired comparison test was conducted by Scheffe's method, and the statistical significance was set at 05. The findings of this research were found that the conflict management within the organizations of personnel under Local Administrative Organizations of KhuMueang District, Buriram Province was overall at the high level. Taking each aspect into consideration, it was found that overcoming was at the low level; voidance and tolerance were at the moderate level, whereas, compromise and compromise were at the highest level. Considering the average scores from high to low, the compromise was first ranked, followed by the cooperation, and the overcoming respectively. Having compared the personnel's opinions about this case, classified by their genders and educational levels, it was found that there was no difference in overall and each aspect, while classified by their position status there was significant difference at the statistical level of 05 in overall and each aspect. The opinions and recommendations of personnel about this case using the interview technique, it was found that there were three aspects as follows: 1) The compromise: When a conflict happened, they found out what the problems were and tried to find the solutions by discussing the most compromises because this case made others most satisfied; 2) The collaboration: Administrators should let their subordinates feel that they participated in sharing opinions and solutions and try to harmonize with all other people and they were interested in, and the conflict should be changed into the problem that needed to collaborate to solve or find the right solution with the parties' consent; and 3) the tolerance: There should have the request for the cooperation with other relevant people to participate in resolving conflict. en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.subject การบริหารความขัดแย้งในองค์การของบุคลากรสังกัดองค์กรปกครองท้องถิ่นในเขตพื้นที่อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ en_US
dc.title การบริหารความขัดแย้งในองค์การของบุคลากรสังกัดองค์กรปกครองท้องถิ่นในเขตพื้นที่อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ en_US
dc.title.alternative Conflict Management within Organization of personnel under Local Administrative Organizations of Khu mueang District, Buriram Province en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.discipline รัฐประศาสนศาสตร์ en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.name รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics