ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

บทบาทการส่งเสริมการเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2

Show simple item record

dc.contributor.advisor ศรีเพ็ญ พลเดช en_US
dc.contributor.advisor สิทธิชัย ดีล้น en_US
dc.contributor.author ปริศนา, แสงตา
dc.date.accessioned 2018-08-22T02:56:13Z
dc.date.available 2018-08-22T02:56:13Z
dc.date.issued 2561-08-21
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/4258
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายที่ศึกษาและเปรียบเทียบบทบาทการส่งเสริมการเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2 จำแนกตามประสบการณ์การทำงานและขนาดโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างเป็นครู ได้จากการกำหนดขนาดตามตารางของเครจซี่และมอร์แกน จำนวน 335 คน แล้วทำการสุ่มแบบขั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมี 3 ลักษณะ คือ แบบตรวจสอบรายการ แบบมาตราส่วนประมาณค่าและแบบปลายเปิด มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .994 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมุติฐานใช้ค่าทีที่เป็นอิสระ และค่า F – test (One – way ANOVA) เมื่อพบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยใช้การเปรียบเทียบเป็นรายคู่ด้วยวิธีการของเชฟเฟ่ ผลการวิจัยพบว่า 1. ครูมีความคิดเห็นเกี่ยวกับบทบาทส่งเสริมการเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2 โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก โดยด้านคุณภาพครูมีค่าเฉลี่ยระดับสูงเป็นอันดับหนึ่ง รองลงมาคือ ด้านคุณภาพผู้เรียน และด้านคุณภาพผู้บริหาร ตามลำดับ 2. ผลเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูเกี่ยวกับบทบาทการส่งเสริมการเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2 จำแนกตามประสบการณ์การทำงาน พบว่า โดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3. เปรียบเทียบความคิดเห็นของครูเกี่ยวกับบทบาทการส่งเสริมการเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2 จำแนกตามขนาดโรงเรียน พบว่า ครูที่ปฏิบัติงานในโรงเรียนที่มีขนาดต่างกัน มีความคิดเห็นโดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 เมื่อ พิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทุกด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ยกเว้นด้านคุณภาพผู้บริหารแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 en_US
dc.description.sponsorship The purpose of this research was to study roles of school administrators at Buriram Primary Educational Service Area office 2 for promoting preparation for entering ASEAN community, classified by their experiences and school sizes. The sample consisted of 335 teachers selected by stratified sampling. The instrument used in this study was 5 rating scale questionnaires with the reliability of .994. The statistics used to analyze the collected data were percentage, mean and standard deviation. The hypotheses were tested by using t-test and F-test. Having found the significant differences, the paired differences were tested by using a Scheffe’s method with the statistical significance set at .05 level. The findings were as follows: 1. The sample’s opinions about the roles of school administrators at Buriram Primary Educational Service Area Office 2 for promoting preparation for entering ASEAN community were overall found at a high level. Having considered each aspect, it showed that all aspects were also found at a high level. Moreover’ teachers’ quality was ranked first and was followed by instructional management, administrators ‘quality and students’ quality respectively. 2. Having compared the sample’ opinions about the roles of school administrators with different experiences, it showed that their opinions were different at the statistical significance of .01 level in overall and each aspect. Having considered each aspect, it showed that all aspects were also significantly different at the statistical level of .01. 3. Having compared the sample’ opinions about the roles of school administrators at different school sizes, it showed that their opinions were different at the statistical significance of .01 level in overall and each aspect. Having considered each aspect, it showed that all aspects were also significantly different at the statistical level of .01 while the aspect of administrators’ quality was significantly different at the statistical level of .05. en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.subject บทบาทการส่งเสริมการเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2 en_US
dc.title บทบาทการส่งเสริมการเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2 en_US
dc.title.alternative Roles of school Administrators at Buriram Primary Educational Service Area Office 2 for Promoting Preparation for Entering ASEAN Community en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.discipline การบริหารการศึกษา en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.name ครุศาสตรมหาบัณฑิต en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics