ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

สภาพการรับข่าวสารทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3

Show simple item record

dc.contributor.advisor สุรชัย ปิยานุกูล en_US
dc.contributor.advisor สงวน สหวงษ์ en_US
dc.contributor.advisor รื่นรมย์ วัชรินทรางกูร en_US
dc.contributor.author อัจฉรา, กิจโกศล
dc.date.accessioned 2018-02-16T06:34:48Z
dc.date.available 2018-02-16T06:34:48Z
dc.date.issued 2548
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/3828
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาประเภทของสื่อที่ผู้บริหารโรงเรียนรับข่าวสารทางวิชาการ ปัญหาการรับข่าวสารทางวิชาการ ความต้องการรับข่าวสารทางวิชาการ และเปรียบเทียบปัญหาและความต้องการของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3 ประชากรที่ใช่ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วยผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 244 คน กลุ่มตัวอย่าง 148 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมี 4 ลักษณะ คือ แบบตรวจสอบรายการ แบบมาตรส่วนประมาณค่า แบบเลือกตอบ และแบบปลายเปิด ค่าความเชื่อมั่น 0.9681 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เมื่อเปรียบเทียบข้อมูลและพบความแตกต่างได้เปรียบเทียบความแตกต่างเป็นรายคู่ โดยวิธีของเชฟเฟ่ (Scheffe’s Method) กำหนดค่าสถิติที่ระดับนัยสำคัญ .05 ผลการวิจัยพบว่า 1. ผู้บริหารโรงเรียนได้รับข่าวสารทางวิชาการจากวารสารวิชาการมากที่สุด รองลงมา คือ ข่าวคุรุสภา วารสารกบข., วารสารข้าราชการครู และวารสารปฏิรูปการศึกษา 2. ผู้บริหารโรงเรียนมีปัญหาการรับข่าวสารทางวิชาการ เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย คือ ขาดสื่อและอุปกรณ์ที่ทันสมัยในการรับข่าวสาร ไม่มีอุปกรณ์ดาวเทียมในการรับข่าวสารทางโทรทัศน์เพื่อการศึกษา (Education Television, ETV) หน่วยงานที่ผลิตข่าวสารไม่ได้ถามความต้องการของสังคม การถ่ายทอดข่าวทางโทรทัศน์ไม่ทั่วถึงทุกช่อง และข่าวส่วนใหญ่ออกอากาศในเวลาราชการทำให้ไม่มีเวลารับรู้ 3. ผู้บริหารโรงเรียนมีความต้องการในการรับข่าวสารทางวิชาการ เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย คือ ระเบียบ แนวปฏิบัติ และกฎเกณฑ์ใหม่อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนการจัดทำแผนพัฒนาการศึกษา การจัดทำหลักสูตรท้องถิ่น การจัดระบบบริการและสารสนเทศ และความเคลื่อนไหวในวงการศึกษา 4. ผู้บริหารโรงเรียนที่มีเพศต่างกันและปฏิบัติหน้าที่ในโรงเรียนที่มีขนาดต่างกันมีปัญหาการรับข่าวสารทางวิชาการแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนผู้บริหารโรงเรียนที่มีอายุ การศึกษาสูงสุด และประสบการณ์การทำงานต่างกันมีปัญหาการรับข่าวสารทางวิชาการไม่แตกต่างกัน 5. ผู้บริหารโรงเรียนที่มีเพศ อายุ การศึกษาสูงสุด ประสบการณ์ในการทำงาน และปฏิบัติหน้าที่ในโรงเรียนที่มีขนาดต่างกันมีความต้องการในการรับข่าวสารทางวิชาการไม่แตกต่างกัน 6. ผลจากการตอบแบบสอบถามปลายเปิดผู้บริหารโรงเรียนแสดงความคิดเห็น และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับปัญหาในการรับข่าวสารทางวิชาการ เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย คือ ขาดงบประมาณในการจัดซื้อสื่อที่ใช้ในการรับข่าวสาร สื่อไม่เพียงพอกับผู้รับข่าวสารและการเสนอข่าวในเวลาราชการ โรงเรียนอยู่ห่างไกลความเจริญ และไม่สามารถรับสัญญาณโทรทัศน์ได้ ส่วนข้อเสนอแนะและความต้องการในการรับข่าวสารทางวิชาการเพิ่มเติมของผู้บริหารโรงเรียน เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย คือ ต้องการให้จัดสรรงบประมาณดำเนินการ และซ่อมบำรุงสื่อที่ใช้ในการสื่อสาร ต้องการข่าวที่นำเสนอวิธีการปฏิบัติมากกว่าหลักการและปรัชญาต้องการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องออกนิเทศติดตามการจัดกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อจะได้รับทราบปัญหาและความต้องการของครูโดยตรง และเนื้อหาข่าวสารทางวิชาการที่ผู้บริหารโรงเรียนต้องการรับรู้เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย คือ การกิจกรรมการเรียนการสอน การสร้างสื่อนวัตกรรมที่ทันสมัย การพัฒนาหลักสูตรแกนกลางและหลักสูตรท้องถิ่น และความเคลื่อนไหวทางการศึกษา en_US
dc.description.sponsorship The purposes of this research were to study types of the media that the Buriram school administrators received the academic information, problems and needs receiving the information, and to compare the problems and needs of receiving the information of the school administrators. The participants of this research included 244 administrators and the samples from these administrators were 148. The instrument was a questionnaire comprising 3 parts: check – list, rating scale, and open ended questions. This study had the reliability of 0.9681. The statistics used to analyze the data were means, percentage, and standard deviation. If there were some differences after researcher had compared the data, each pair of the data would be analyzed by Scheffe’s Method. The level of statistical significance was set at .05.The results of the study reveled that: 1. Most of the administrators received the academic information from the Academeic Periodical. The next periodicals were Teachers Council News, Kor Bor Khor, Teachers, and education Reform. 2. The order of problems in receiving the information from the most to the least problems were lacking of media and modern equipment for receiving the information from education television, information, producers had never asked teachers about their, The TV information broad casting was not available at every channel and the broad casting time was the time when the administrators were working. Therefore, they did not have time to watch. 3. The most needs in receiving the information of the administrators were regulations, guidelines, and new rules. The second needs were making local curriculum, making service and information system, and the movement in education. 4. The administrators who had different sex and worked in different school had statistical significant different opinions on problems at .05 level, while the administrators who had different ages, highest level of education, and different experiences did not have different opinions 5. The samples who had different sex, ages, highest level of education, experiences, and worked in different school did not have different school did not have different needs in receiving academic information. 6. Samples gave the suggestions through opened – ended questions telling abut the top mist problems receiving the information: inadequate budget to buy informational media, inadequate media and the information was broadcasted when the administrators were working, and the schools were in rural area where there was not any TV signals. The samples also added the following suggestions and needs: they needed provided budgets and maintainance the media, they needed practical information more than principals and philosophy, and they needed people who took charge of this went to school to supervise and observe school activities. Then they would know the problems and needs directly from the teachers. Finally, the academic information that the administrators wanted to know were: learning and teaching activities and how to create modern media and technology, how to develop core curriculum and local curriculum, and movement of education. en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.subject สภาพการรับข่าวสารทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3 en_US
dc.title สภาพการรับข่าวสารทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3 en_US
dc.title.alternative Exposure to academic information of school administrators in Buriram Educational Area 3 en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.discipline การบริหารการศึกษา en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.name ครุศาสตรมหาบัณฑิต en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics