ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

การเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบล จังหวัดบุรีรัมย์ต่อการปฏิบัติงานครูตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพครู พ.ศ. 2537

Show simple item record

dc.contributor.advisor อนันต์ชัย พงศ์สุวรรณ en_US
dc.contributor.advisor หาญชัย อัมภาผล en_US
dc.contributor.advisor พรพิมล พงศ์สุวรรณ en_US
dc.contributor.author สุเทียน, เข็มบุปผา
dc.date.accessioned 2017-10-02T04:17:34Z
dc.date.available 2017-10-02T04:17:34Z
dc.date.issued 2548
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/2782
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ในจังหวัดบุรีรัมย์ต่อการปฏิบัติงานของครูตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพครู พ.ศ. 2537 ซึ่งมี 11 ด้าน คือ 1.ปฏิบัติกิจกรรมทางวิชาการเกี่ยวกับการพัฒนาวิชาชีพครู 2.ตัดสินใจปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ โดยคำนึงถึงผลที่จะเกิดขึ้นกับผู้เรียน 3.มุ่งมั่นพัฒนาผู้เรียนให้เต็มศักยภาพ 4.พัฒนาแผนการสอนให้สามารถปฏิบัติได้เกิดผลจริง 5.พัฒนาสื่อการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพอยู่เสมอ 6.จัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยเน้นผลถาวรที่เกิดขึ้นแก่ผู้เรียน 7.รายงานผลพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนได้อย่างมีระบบ 8.ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ผู้เรียน 9.ร่วมมือกับผู้อื่นในสถานศึกษาอย่างสร้างสรรค์ 10.ร่วมมือกับผู้อื่นอย่างสร้างสรรค์ในชุมชน 11.แสวงหาและใช้ข้อมูลข่าวสารในการพัฒนา ประชากรที่ใช้ในการศึกษาคือปลัด อบต. ประธานสภา อบต. และประธานกรรมการบริหาร อบต. จำนวน 552 คน จาก 184 อบต. ผลการวิจัยพบว่า 1.ผู้บริหาร อบต. ทุกตำแหน่งทุกระดับการศึกษาและทุกอาชีพ มีความคิดเห็นว่าการปฏิบัติงานของครูอยู่ในระดับปานกลางและเมื่อเปรียบเทียบผู้บริหาร อบต. ที่มีตำแหน่งระดับการศึกษาและอาชีพที่ต่างกัน โดยรวมพบว่ามีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 2.ผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบล อบต. ที่มีการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีเห็นว่าการปฏิบัติงานของครูอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าการปฏิบัติงานของครูอยู่ในระดับมาก 8 ด้าน และระดับปานกลาง 3 ด้าน คือ มุ่งมั่นพัฒนาผู้เรียนให้เต็มศักยภาพ พัฒนาสื่อการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพอยู่เสมอ และจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยเน้นผลถาวรที่เกิดแก่ผู้เรียน 3.เมื่อจำแนกตามอาชีพโดยภาพรวมเห็นว่าการปฏิบัติงานของครูอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าอาชีพค้าขายเห็นว่าการปฏิบัติงานของครูอยู่ในระดับมาก 4 ด้าน คือ “ปฏิบัติกิจกรรมทางวิชาการเกี่ยวกับการพัฒนาวิชาชีพครูอยู่เสมอ” “ ตัดสินใจปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ โดยคำนึงถึงผลที่จะเกิดกับผู้เรียน” “ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ผู้เรียน” และ “ร่วมมือกับผู้อื่นในสถานศึกษาอย่างสร้างสรรค์” และอาชีพรับจ้างมีความคิดเห็นต่อการปฏิบัติงานของครูอยู่ในระดับมาก 1 ด้าน คือ “ร่วมมือกับผู้อื่นอย่างสร้างสรรค์ในชุมชน” en_US
dc.description.sponsorship Teaching Profession Standard B.E. 2537 comprises 11 aspects; 1) performing academic activities of teaching profession development, 2) deciding to act for students’ benefits, 3) committing to develop full capacity students, 4) developing teaching plan for concrete output 5) developing effective teaching aids, 6) performing teaching and learning activities in view of students’ permanent outcome, 7) being able to report students’ quality development outcome systematically, 8) being a role model for students, 9) creatively co-operate with school colleagues, 10) creatively co-operate with the community, and 11) seeking and employing information for development. It was curious to learn whether Buriram’s teachers keep up with the standard through the Sub-District Administrators’ (SDAs) opinions. The population of this study was 552 SDAs; the inspectors, the council chairs, and the administrative chairs from 184 sub-districts. It was found that: 1) SDAs of all positions, education levels, and occupations perceived that teachers’ performance was moderate. When different position, education level, and occupation was compared, differences in opinions without statistic significance was opened. 2) SDAs’ with graduate degree perceived that teachers’ performance as a whole was high. When aspect were considered, 8 were found high and 3 moderate; committing to develop full capacity students, developing effective teaching aids, and performing teaching and learning activities in view of students’ permanent outcome. 3) When classified by occupation, as a whole teachers’ performance was moderate. When aspects was considered businessman perceived the performance as high in 4 aspect; performing academic activities of teaching profession development, deciding to act for students’ benefits, being a role model for students, and creatively co-operate with school colleagues. Additionally, laborers perceived that teachers’ performance was high in creatively co-operate with the community. en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.subject การเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบล จังหวัดบุรีรัมย์ต่อการปฏิบัติงานครูตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพครู พ.ศ. 2537 en_US
dc.title การเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบล จังหวัดบุรีรัมย์ต่อการปฏิบัติงานครูตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพครู พ.ศ. 2537 en_US
dc.title.alternative SUB - district organization administrators' opinions regarding Buriram' s teachers' performance on teaching profession standard B.E. 2537 en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.discipline การบริหารการศึกษา en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.name ครุศาสตรมหาบัณฑิต en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics