ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

ปัญหารการประเมินผลการปฏิบัติงานเพื่อพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนประจำปีของข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 1

Show simple item record

dc.contributor.advisor ประสิทธิ์ สุวรรณรักษ์ en_US
dc.contributor.advisor นิวัฒน์ กัลยพฤกษ์ en_US
dc.contributor.advisor มาลิณี จุโฑปะมา en_US
dc.contributor.author สมชัย, ปัตถา
dc.date.accessioned 2017-09-30T06:18:31Z
dc.date.available 2017-09-30T06:18:31Z
dc.date.issued 2551
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/2670
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย เพื่อศึกษาปัญหาการประเมินผลการปฏิบัติงานเพื่อพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนประจำปีของข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 1 กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 140 คน และข้าราชชการครูสายงานการสอน จำนวน 341 คน ได้จากกลุ่มสุ่มจากประชากร โดยกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามตารางของเครจซี่และมอร์แกน (Krijcie & Morgan) แล้วทำหารสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) โดยสุ่มกลุ่มย่อยตามขนาดของสถานศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม มี 3 ลักษณะคือ แบบตรวจสอบรายการ (Check List) แบบมาตราส่วนประมาณ (Rating Scale) 5 ระดับ และแบบปลายเปิด (Open Form) แบบสอบถามมีค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 2.550-9.268 และค่าความเชื่อมั่น .9897 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมติฐานช้าค่า t-test Independent และ F-test กำหนดค่าสถิติที่ระดับนัยสำคัญ .05 ผลการวิจัย พบว่า 1. ปัญหาการประเมินผลการปฏิบัติงานเพื่อพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเงินเดือนประจำปีของข้าราชการครู โดยรวมมีความคิดเห็นต่อสภาพปัญหาการดำเนินงานอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านการลามีปัญหาการดำเนินงานอยู่ระดับน้อย ส่วนปัญหาการดำเนินงานด้านอื่นๆ มีปัญหาการดำเนินงานอยู่ในระดับปานกลาง 2. การเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและข้าราชการครูสายงานการสอนต่อปัญหาการประเมินผลการปฏิบัติงานเพื่อพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเงินเดือนประจำปีของข้าราชการครู พบว่า โดยรวมมีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ทุกด้านมีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน เช่นเดียวกัน 3. การเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาที่มีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานต่างกันต่อปัญหาการประเมินผลการปฏิบัติงานเพื่อพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเงินเดือนประจำปีของข้าราชการครู พบว่า โดยรวมมีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ทุกด้านมีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน เช่นเดียวกัน 4. การเปรียบเทียบความคิดเห็นของข้าราชการครูสายงานการสอนที่มีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานต่างกันต่อปัญหาการประเมินผลการปฏิบัติเพื่อพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเงินเดือนประจำปีของข้าราชการครู พบว่า โดยรวมมีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ทุกด้านมีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน เช่นเดียวกัน 5. ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับปัญหาการประเมินผลการปฏิบัติงานเพื่อพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเงินเดือนประจำปีของข้าราชการครู พบว่า ด้านคุณภาพและปริมาณงานของตำแหน่ง ควรมอบหมายงานให้บุคลากรได้มีส่วนร่วมให้มากที่สุด ด้านผลการปฏิบัติงาน มีความรับผิดชอบในการปฏิบัติงาน ตรงต่อเวลา มีความมานะบากบั่น อดทน อุตสาหะและกล้าเผชิญหน้ากับปัญหา ด้านการลา ผู้บังคับบัญชาควนยึดระเบียบว่าด้วยการลาเป็นหลัก en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.subject ปัญหารการประเมินผลการปฏิบัติงานเพื่อพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนประจำปีของข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 1 en_US
dc.title ปัญหารการประเมินผลการปฏิบัติงานเพื่อพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนประจำปีของข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 1 en_US
dc.title.alternative Problems of performance appaisal for Annual Pay Raise of the Teachers Under Buriram Educational Service Area Office1 en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.discipline การบริหารการศึกษา en_US
dc.degree.level ปริญญญาโท en_US
dc.degree.name ครุศาสตรมหาบัณฑิต en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics