ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

การศึกษาความสามารถในการพึ่งตนเองของสมาชิกผู้เข้าร่วมโครงการธนาคารประชาชน : กรณีศึกษา ผู้ใช้บริการธนาคารออมสิน สาขาอำเภอนางรอง

Show simple item record

dc.contributor.advisor ปราโมทย์ เบญจกาญจน์ en_US
dc.contributor.advisor วุฒินันท์ รามฤทธิ์ en_US
dc.contributor.advisor จำเริญ อุ่นแก้ว en_US
dc.contributor.author วิภาศ, โพธิ์ใส
dc.date.accessioned 2017-09-29T08:05:48Z
dc.date.available 2017-09-29T08:05:48Z
dc.date.issued 2548-01-23
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/2604
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาความสามารถในการพึ่งตนเองของสมาชิกผู้เข้าร่วมโครงการธนาคารประชาชน และเพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการพึ่งตนเองของสมาชิกผู้เข้าร่วมโครงการธนาคารประชาชน โดยจำแนกตามประเภทของกิจการ หาบเร่ แผงลอย ร้านค้าและบริการ ในกรอบ 3 ด้าน การพึ่งตนเองทางเศรษฐกิจ การพึ่งตนเองทางด้านสังคม การพึ่งตนเองทางด้านจิตใจ กลุ่มตัวอย่างคือสมาชิกผู้เข้าร่วมโครงการธนาคารประชาชน จำนวน 257 คน ได้มาจากการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามตารางของทาโร ยามาเน (Taro Yamane) แล้วทำการสุ่มด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์มี 3 ลักษณะคือ แบบเลือกตอบ แบบมาตราส่วนประมาณค่า 3 ระดับ และแบบปลายเปิด สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยใช้ไคกำลังสอง การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) และเปรียบเทียบรายคู่ใช้วิธีของเชฟเฟ่ (Scheffe’s Method) กำหนดค่าสถิติที่ระดับนัยสำคัญ .05 ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการวิเคราะห์รายละเอียดการพึ่งตนเองทางด้านเศรษฐกิจ เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน เช่น กรรมสิทธิ์ในสถานประกอบการ การกำหนดราคาของสินค้า รายได้จากการประกอบกิจการ รายจ่ายในการลงทุน การกู้เงินจากแหล่งเงินกู้อื่น ความสามารถในการออม โดยภาพรวม พบว่าแผงลอย มีการพึ่งตนเองทางด้านเศรษฐกิจได้ดีกว่าประเภทกิจการอื่น 2. ผลการวิเคราะห์รายละเอียดการพึ่งตนเองทางด้านสังคม โดยภาพรวมทั้งก่อนและหลังเข้าร่วมโครงการฯ อยู่ในระดับปากกลาง เมื่อจำแนกตามประเภทของกิจการพบว่า ร้านค้ามีการพึ่งตนเองทางด้านสังคมได้ดีกว่ากว่าประเภทกิจการอื่น 3. ผลการวิเคราะห์รายละเอียดการพึ่งตนเองทางด้านจิตใจ โดยภาพรวมก่อนเข้าร่วมโครงฯ อยู่ในระดับปานกลาง หลังเข้าร่วมโครงการฯ อยู่ในระดับมาก เมื่อจำแนกตามประเภทของกิจการพบว่า ร้านค้า มีการพึ่งตนเองทางด้านจิตใจได้ดีกว่าประเภทกิจการอื่น 4. ข้อแนะนำและความคิดเห็นเพิ่มเติมส่วนใหญ่เสนอแนะให้ขยายวงกู้เงินลดดอกเบี้ย ขยายเวลาชำระออกไปอีกและให้เพิ่มการบริการต่างๆ ตามลำดับ en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.subject การศึกษาความสามารถในการพึ่งตนเองของสมาชิกผู้เข้าร่วมโครงการธนาคารประชาชน : กรณีศึกษา ผู้ใช้บริการธนาคารออมสิน สาขาอำเภอนางรอง en_US
dc.title การศึกษาความสามารถในการพึ่งตนเองของสมาชิกผู้เข้าร่วมโครงการธนาคารประชาชน : กรณีศึกษา ผู้ใช้บริการธนาคารออมสิน สาขาอำเภอนางรอง en_US
dc.title.alternative Study of self-reliance of the participants People Banking Project : a case study of the Customers of Government Savings Bank, Nangrong District Branch en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.discipline สังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.name ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics