ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

การศึกษาเปรียบเทียบการจัดกิจกรรมการนิเทศภายในระหว่างโรงเรียนของรัฐและเอกชน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 2

Show simple item record

dc.contributor.advisor พิกุล ภุมิโคกรักษ์ en_US
dc.contributor.advisor อนันต์ชัย พงศ์สุวรรณ en_US
dc.contributor.advisor พรพิมล พงศ์สุวรรณ en_US
dc.contributor.advisor กิ่งแก้ว ปะติตังโข en_US
dc.contributor.author ภัทราวรรณ, การัมย์
dc.date.accessioned 2017-09-16T06:17:53Z
dc.date.available 2017-09-16T06:17:53Z
dc.date.issued 2555
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/1841
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้ มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพการจัดกิจกรรมการนิเทศภายในโรงเรียนของรัฐและเอกชน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 2 2) เปรียบเทียบสภาพการจัดกิจกรรมนิเทศภายในระหว่างโรงเรียนของรัฐและเอกชน สังกัดสำนักงานพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 2 ตามตัวแปรประเภทโรงเรียน คือ ครูโรงเรียนของรัฐและเอกชน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 2 จำนวน 1,948 คน กลุ่มตัวอย่างได้จากการกำหนดขนาดตัวอย่างของเคอลินเจอร์ ได้ขนาดของกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 235 คน แบ่งออกเป็นครูโรงเรียนของรัฐ จำนวน 167 คน และครูในโรงเรียนเอกชน จำวนวน 68 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงร่าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบค่า t แบบ Independent Samples t-test โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิตที่ระดับ .05 ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพการจัดกิจกรรมการนิเทศภายในโรงเรียนของรัฐและเอกชน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 2 โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2. สภาพการจัดกิจกรรมการนิเทศภายในระหว่างโรงเรียนของรัฐและเอกชนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมา เขต 2 โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า การประชุมระดมความคิดมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 การศึกษาเอกสารทางวิชาการสื่อการสอนและเทคโนโลยีที่ทันสมัย การสังเกตการณ์สอน การสาธิตการสอน การอบรมสัมมนาและการศึกษาดูงาน มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3. ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากการวิจัย คือ กิจกรรมการนิเทศภายในโรงเรียนช่วยสร้างความตระหนัก และกระตุ้นให้ครูเกิดความตื่นตัวและพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ แต่มีข้อเสีย คือ ขาดการกำกับติดตามผลการนิเทศ เป็นการเพิ่มภาระงานให้แก่ครูทั้งที่ครูมีจำนวนไม่พอ ควรมีการวางแผนและดำเนินการนิเทศอย่างเป็นระบบ ให้การสนับสนุนด้านบุคลากรและงบประมาณ ดำเนินกิจกรรมการนิเทศอย่างเป็นระบบ ให้การสนับสนุนด้านบุคลากรและงบประมาณ ดำเนินกิจกรรมการนิเทศตามบริบทของแต่ละโรงเรียนที่สามารถทำได้ 4. ผลจากการสัมภาษณ์พบว่าอุปสรรค์ในการดำเนินกิจกรรมภายในโรงเรียนคือ บุคลากรไม่เพียงพอ ครูมีภาระงานมาก ไม่มีเวลา งบประมาณไม่เพียงพอ แต่ละโรงเรียนจะต้องปรับเปลี่ยนการดำเนินกิจกรรมให้เป็นไปตามบริบทของตนเอง เพื่อให้การดำเนินกิจกรรมสำเร็จลุล่วง en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.title การศึกษาเปรียบเทียบการจัดกิจกรรมการนิเทศภายในระหว่างโรงเรียนของรัฐและเอกชน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 2 en_US
dc.title.alternative A COMPARATIVE STUDY ON STATE OF INTERNAL SUPERVISION ACTIVITIES BETWEEN PUBLIC SCHOOL AND PRIVATE SCHOOLS UNDER NAKHONRATCHASIMA PRIMARY EDUCATION SERVICE AREA OFFICE 2 en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.discipline การบริหารการศึกษา
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.name ครุศาสตรมหาบัณฑิต


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics