ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

การพัฒนาตลาดการค้าชายแดนบริเวณจุดผ่อนปรนช่องสายตะกู ตำบลจันทบเพชร อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์

Show simple item record

dc.contributor.advisor ประชัน คะเนวัน en_US
dc.contributor.advisor วรภูริ มูลสิน en_US
dc.contributor.author พิทักษ์กล้า, การะเกษ
dc.date.accessioned 2017-09-16T04:00:34Z
dc.date.available 2017-09-16T04:00:34Z
dc.date.issued 2559
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/1575
dc.description.abstract การศึกษาครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อการศึกษาและเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชากรที่มีต่อการพัฒนาตลาดการค้าชายแดนบริเวณจุดผ่อนปรนช่องสายตะกู ตำบลจันทบเพชร อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ ใน 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการพัฒนาตลาดการค้า ด้านการกำหนดนโยบาย และกลไกการค้า และด้านสภาพแวดล้อมทางการภาพและผลิตภัณฑ์ที่จำหน่าย กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ประชากร จำนวน 361 คน ผู้ประกอบการค้า จำนวน 152 คน และนักท่องเที่ยว จำนวน 100 คน รวมทั้งสิ้น จำนวน 613 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย มี 2 ประเภท คือ แบบสอบถามแบบมาตราส่วน 5 ระดับ และแบบสัมภาษณ์ โดยมีค่าความเชื่อมั่น 0.9139 แบบสัมภาษณ์ใช้การวิเคราะห์โดยอุปมาน ส่วนข้อมูลจากการตอบแบบสอบถามใช้การวิเคราะห์ด้วยการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยการวิเคราะห์ค่า t-test Independent และ F-test ผลการวิจัยพบว่า 1. การพัฒนาตลาดการค้าชายแดน บริเวณจุดผ่อนปรนช่องสายตะกู ตำบลจันทบเพชร อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับปานกลาง เช่นกัน โดยด้านที่มีค่าสูงสุด คือ ด้านการพัฒนาตลาดการค้ารองลงมา คือด้านสภาพแวดล้อมทางกายภาพและด้านผลิตภัณฑ์ที่จำหน่ายที่ตลาดการค้า ตามลำดับ 2. ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบการพัฒนาตลาดการค้าชายแดน บริเวณจุดผ่อนปรนช่องสายตะกู ตำบลจันทบเพชร อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ โดยภาพรวมและรายด้าน พบว่า ด้านการกำหนดนโยบายและกลไกการค้า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และด้านสภาพแวดล้อมทางกายภาพและด้านผลิตภัณฑ์ที่จำหน่ายที่ตลาดการค้าแตกต่างกันอย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนด้านการพัฒนาตลาดการค้า ไม่แตกต่างกัน 3. ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบการพัฒนาตลาดการค้าชายแดน บริเวณจุดผ่อนปรนช่องสายตะกู ตำบลจันทบเพชร อำเภอบ้านกรวด จังหวดบุรีรัมย์ ที่มีสถานภาพทางอาชีพแตกต่างกัน โดยภาพรวม และรายด้าน พบว่า ด้านการพัฒนาตลาดการค้าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ด้านการกำหนดนโยบายและกลไกการค้า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนด้านสภาพแวดล้อมทางกายภาพและด้านผลิตภัณฑ์ที่จำหน่ายที่ตลาดการค้าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. จากการสัมภาษณ์ในแต่ละด้านมีดังต่อไปนี้ ด้านการพัฒนาตลาดการค้า ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องเสนอแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจการค้าชายแดนเพื่อกำหนดเป็นเขตการค้า มีการปรับปรุงระบบภาษีและขั้นตอนการนำสินค้าเข้าออกการจัดแผนผังของตลาดและสิ่งก่อสร้างอำนวยความสะดวกแก่ผู้ประกอบการด้านการกำหนดนโยบายและกลไกการค้าควรมีการส่งเสริมและอำนวยความสะดวกแก่ผู้ประกอบการช่วยเหลือประชาชนผู้ส่งออกให้มีรายได้ มีงานทำ และไม่ให้มีการเอารัดเอาเปรียบทำให้การค้ามีความเป็นธรรม และจัดการการลักลอบการค้าสินค้าหนีภาษีด้านสภาพแวดล้อมทางกายภาพแวดล้อมทางกายภาพและด้านผลิตภัณฑ์ที่จำหน่ายที่ตลาด ต้องมีการวางแผนการค้า เพื่อตอบสนองการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม การพิจารณาจุดแข็ง จุดอ่อนด้านสินค้ามีหลากหลายประเภทและมีศักยภาพในการแข่งขัน เพื่อตอบสนองการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมที่เป็นผลมาจากการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน " en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.title การพัฒนาตลาดการค้าชายแดนบริเวณจุดผ่อนปรนช่องสายตะกู ตำบลจันทบเพชร อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ en_US
dc.title.alternative ฺBorder Market Development at Sai Taku Check Point in Janthobphet Sub - district,Ban Kruat District,Buriram Province en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.discipline รัฐประศาสนศาสตร์
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.name รัฐประศาสนศาสตร์
dc.degree.name รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics