ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

ภูมิปัญญาการวางทิศทางอาคารสิมอีสาน กรณีศึกษา จังหวัดบุรีรัมย์

Show simple item record

dc.contributor.author สมบัติ, ประจญศานต์ และคณะ
dc.date.accessioned 2023-05-20T06:08:42Z
dc.date.available 2023-05-20T06:08:42Z
dc.date.issued 2558-12-31
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/8608
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติการสร้างสิมอีสาน หรืออุโบสถพื้นถิ่น ระบุคุณค่าที่มีต่อชุมชน สำรวจรูปแบบทางสถาปัตยกรรมและอธิบายองค์ความรู้ของภูมิปัญญาท้องถิ่นในการออกแบบการวางทิศทางอาคารที่สร้างสภาวะสบายแก่ผู้ใช้อาคาร ศึกษาจาก 3 กรณีศึกษา คือ สิมวัดมณีจันทร์ สิมวัดบรมคงคา อ.พุทไธสง และสิมวัดท่าเรียบ อ.นาโพธิ์ จ.บุรีรัมย์ ซึ่งอาคารมีอายุ 76 ปี 106 ปี 126 ปี ตามลำดับ สรรค์สร้างโดยภูมิปัญญาช่างพื้นถิ่นที่มีความสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ บริบททางสังคม วัฒนธรรมและเศรษฐกิจ โดยผู้วิจัยได้วัดค่าอุณหภูมิของอากาศ ความชื้นสัมพัทธ์ ความเร็วลม และอุณหภูมิพื้นผิวเฉลี่ยโดยรอบ ตั้งแต่เดือนธันวาคม พ.ศ.2557 ถึง กรกฎาคม พ.ศ.2558 ด้วยเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ ผลการวิจัยได้ว่า จากคติความเชื่อทำให้การวางทิศทางของสิมให้ด้านหน้าไปทางทิศตะวันออกซึ่งเป็นการวางด้านแคบของอาคารตั้งรับแนวทิศตะวันออก-ตะวันตกเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างสภาวะสบายให้กับผู้ใช้อาคารเนื่องจากลดพื้นที่เปลือกอาคารที่สะสมความร้อน ลดปริมาณความร้อนจากแสงแดดที่ส่องผ่านเข้าภายในอาคารกว่าการวางด้านหน้าอาคารสิมไปทางแนวทิศเหนือ-ใต้ ตลอดทั้งวันทั้งในฤดูหนาว ฤดูร้อน และฤดูฝนภายในสิมทั้งสามหลังเกิดสภาวะสบายแก่ผู้ใช้อาคาร กล่าวคือ มีอุณหภูมิต่ำสุด-สูงสุดเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 18.50 ˚c – 40.00 ˚c ความชื้นสัมพัทธ์ต่ำสุด-สูงสุดเฉลี่ยระหว่าง 27.00 – 99.00% ความเร็วลมต่ำสุด-สูงสุดเฉลี่ย 0.01 – 1.96 เมตรต่อวินาที แม้ว่าจะมีอุณหภูมิสูงกว่าแผนภูมิสภาวะสบายของ Victor Olgyay แต่สอดคล้องกับการศึกษาภาคสนามของนักวิชาการไทยที่ได้ข้อค้นพบว่าสภาวะสบายมีความสัมพันธ์อย่างมากกับสภาพอากาศในท้องถิ่น และสิ่งสำคัญที่สุด คือความสามารถในการปรับตัวของคนที่ทำให้ผู้ใช้อาคารยังคงรู้สึกสบายได้ตลอดเวลา ผลการวิจัยทำให้อธิบายภูมิปัญญาการออกแบบด้วยหลักการออกแบบสถาปัตยกรรมที่ทำให้เกิดสภาวะสบายแก่ผู้เข้าใช้สอยอาคารอย่างมีเหตุมีผลตามหลักการทางวิทยาศาสตร์ ทั้งการวางผังอาคารการวางทิศทางของอาคาร การเลือกรูปทรงของหลังคาเป็นหลังคาทรงสูงสองชั้นมีที่ว่างช่วยดักความร้อน ชายคายื่นยาวช่วยบังแดดบังฝน การเลือกรูปทรงอาคารที่มีการระบายอากาศได้ดีโดยมีช่องเปิดทางด้านทิศเหนือ-ใต้ที่มีช่องให้ลมเข้าและออก ข้อมูลดังกล่าวสร้างความภาคภูมิใจในอัตลักษณ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นของชุมชนยังผลให้เกิดการอนุรักษ์ ทำให้สถาปัตยกรรมที่มีคุณค่าของชุมชนมิสูญสลายยังคงอยู่เป็นรากเหง้ามรดกทางวัฒนธรรมที่สำคัญของท้องถิ่น ส่งผลให้เกิดการสืบสานต่อยอดวัฒนธรรมสร้างนวัตกรรมการออกแบบสถาปัตยกรรมสีเขียวที่สะท้อนอัตลักษณ์สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นสืบไป en_US
dc.description.sponsorship สำนักบริหารโครงการส่งเสริมการวิจัยในอุดมศึกษาและพัฒนามหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2558 en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.relation.ispartofseries ;36/2558
dc.subject สถาปัตยกรรม en_US
dc.subject สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น en_US
dc.subject architecture en_US
dc.subject Vernacular architecture en_US
dc.title ภูมิปัญญาการวางทิศทางอาคารสิมอีสาน กรณีศึกษา จังหวัดบุรีรัมย์ en_US
dc.title.alternative The Local Wisdom in Orientation of the I-san Vernacular Buddhist Holy Temples (Sims) : Case Study Buriram Province en_US
dc.type Research en_US
dc.contributor.emailauthor sombat.pj@bru.ac.th en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics