ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

กระบวนการเรียนรู้การออกแบบและผลิตผ้าไหมมัดหมี่ทอมือ หมู่บ้านท่องเที่ยวไหม จังหวัดบุรีรัมย์

Show simple item record

dc.contributor.author ประจญศานต์, สมบัติ
dc.date.accessioned 2020-09-11T05:59:01Z
dc.date.available 2020-09-11T05:59:01Z
dc.date.issued 2563-03-24
dc.identifier.citation วารสารวิจัยเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่. 12(2). หน้า 132-143. en_US
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/6966
dc.description.abstract จังหวัดบุรีรัมย์เป็นแหล่งที่มีภูมิปัญญาการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมและผลิตเป็นผ้าทอมือที่มีคุณภาพโดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ผ้าไหมมัดหมี่ทอมือ แต่การพัฒนาผลิตภัณฑ์ยังมีความจำเป็นเร่งด่วน เนื่องจากความต้องการที่หลากหลายของผู้บริโภคที่ตัดสินใจซื้อสินค้าจากลวดลาย สีสัน และเนื้อผ้า โครงการนี้จึงได้นำองค์ความรู้เรื่องเทคนิคการออกแบบลายมัดหมี่จากแม่ลาย ร่วมกับการออกแบบสีโดยการผสานสีด้วยสายตาและการเปลี่ยนค่าน้ำหนักด้วยเส้นด้ายยืนสีกลางมาถ่ายทอดความรู้ โดยมีกลุ่มเป้าหมายจำนวน 5 หมู่บ้านท่องเที่ยวไหมจังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 30 คน โดยใช้กระบวนการอบรมเชิงปฏิบัติการถ่ายทอดความรู้และทักษะเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ผลที่เกิดกับชุมชนพบว่าทุกกลุ่มสามารถนำองค์ความรู้ที่ได้รับไปใช้ร่วมกับ ภูมิปัญญาที่มีเพื่อการผลิตผ้าไหมมัดหมี่ได้ต้นแบบจำนวน 40 ผืนที่มีความหลากหลายจากเดิม แต่ยังพบตำหนิของผ้าที่เกิดจากความบกพร่องในการผลิต เช่น ความยาวมาตรฐานของผืนผ้า เมื่อมีการผลิตเพื่อจำหน่ายพบว่า ความหลากหลายด้านสีสันและความแปลกใหม่ ทันสมัยของลวดลายส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค การติดตามผลความยั่งยืนของการเปลี่ยนแปลงพบว่ามีการผลิตซ้ำผ้าต้นแบบ มีการออกแบบประยุกต์ และนำเทคนิคมาใช้ออกแบบลายและสีสันใหม่เพิ่มขึ้น en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.subject ไหม, มัดหมี่, ออกแบบ, ลาย, สี, silk, Ikat, design, motif, colour en_US
dc.title กระบวนการเรียนรู้การออกแบบและผลิตผ้าไหมมัดหมี่ทอมือ หมู่บ้านท่องเที่ยวไหม จังหวัดบุรีรัมย์ en_US
dc.title.alternative The learning process of hand-woven silk design and produce, Silk Tourist Village, Buriram Province en_US
dc.type Article en_US
dc.contributor.emailauthor sombat.pj@bru.ac.th en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics