ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

การวิเคราะห์ความหมายชี้บ่งเป็นนัยบทสนทนา: กรณีศึกษาภาพยนตร์เรื่อง เบรคกิ้งดอร์น

Show simple item record

dc.contributor.advisor Nawamin Prachanant en_US
dc.contributor.author วารุณี, แซ่เอี๊ย
dc.date.accessioned 2020-07-14T02:23:13Z
dc.date.available 2020-07-14T02:23:13Z
dc.date.issued 2563
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/6530
dc.description.abstract เป็นที่ทราบกันดีว่าในวัจนปฏิบัติศาสตร์นั้น ความหมายชี้บ่งเป็นนัยในการสนทนาเป็นการศึกษาเพื่ออธิบายความเข้าใจถึงความแท้จริงที่ถูกสื่อสารเพื่อสื่อความหมายในการสนทนานั้นมีมากกว่าสิ่งที่กล่าวเป็นคำพูด วัตถุประสงค์ประการแรกของการศึกษาในครั้งนี้ คือศึกษาประเภทของความหมายชี้บ่งเป็นนัยบทสนทนา: ในภาพยนตร์เรื่องเบรคกิ้งดอร์น (Breaking Dawn) ประการที่สอง คือ เพื่อศึกษาผลของการกล่าวความหมายชี้บ่งเป็นนัยในสองกรณี คือ กรณีที่ผู้ฟังเข้าใจความชี้บ่งเป็นนัย และกรณีที่ผู้ฟังไม่เข้าใจความชี้บ่งเป็นนัยที่ปรากฎในภาพยนตร์เรื่องเบรคกิ้งดอร์น สถิติที่ใช้ในการวิเคระห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ ความถี่และค่าร้อยละ ส่วนการวิเคระห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้วิธีการวิเคระห์เชิงเนื้อหาในการวิจัยเชิงพรรณนา การศึกษาในครั้งนี้ อาศัยหลักการเรื่องความหมายชี้บ่งเป็นนัยของไกรซ์ (Grice,1975) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านเรื่องคติความร่วมมือในการสื่อสาร (Conversational Maxims) ผลการวิจัยพบว่าความหมายชี้บ่งเป็นนัยที่พบในบทสนทนาในภาพยนตร์เรื่องเบรคกิ้งดอร์น มีจำนวนทั้งสิ้น 60 ข้อความ ด้านการศึกษาประเภทของความหมายชี้บ่งเป็นนัยที่พบในบทสนทนา พบว่าแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ประเภทที่หนึ่ง ความหมายชี้บ่งเป็นนัยในการบทสนทนาแบบทั่วไป และประเภทที่สองความหมายชี้บ่งเป็นนัยในการบทสนทนาแบบเฉพาะเจาะจง โดยประเภทที่สองนำมาใช้ในการสนทนามากกว่า คือ พบถึง 52 ข้อความ (f=52, 86.67%) ในขณะที่ความหมายชี้บ่งเป็นนัยในการบทสนทนาแบบทั่วไป พบว่ามีการนำมาใช้ในการสนทนา 8 ข้อความ (f=8, 13.33%) การใช้ความชี้บ่งเป็นนัยในการสนทนาที่พบเกือบทั้งหมดมีผลทำให้ผู้ฟังเข้าใจความหมายแฝงได้ (f=59, 98.33%) มีความหมายชี้บ่งเป็นนัยในบทสนทนาเพียง 1 ข้อความ ที่มีผลทำให้ผู้ฟังไม่เข้าใจความหมายแฝง (f=1, 1.67%) ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า การใช้หลักคติบทคุณภาพ หรือหลักคุณภาพนั้นสามารถพบได้มากที่สุด กรณีการใช้การเสียดสีและอุปลักษณ์ในการสร้างความหมายชี้บ่งเป็นนัยในการสนทนาพบมากที่สุดในงานวิจัยนี้ en_US
dc.description.sponsorship In pragmatics, conversational implicature is known to account for the foremost perception of more being communicated than being said. The purposes of this research were 1) to investigate types of conversational implicature produced in the film, and 2) to examine the results of producing conversational implicature in terms of being understood by the hearer (success) and being misunderstood by the hearer (failure) in the film. The samples were the utterances drawn from dialogues in the film Breaking Dawn. The Statistics used to analyzed by a descriptive method using content analysis. This research was conducted in line with the theory of Grice’s conversational implicature (1975), especially in terms of conversational maxims. The results revealed that there were 60 conversational implicature produced through the film and two types of conversational implicature were found. Moreover, particularized conversational implicatures (PCI) were more frequently produced (f= 52, 86.67%), and generalized conversational implicature (GCI) were less frequently produced (f= 8, 13.33%). Almost all conversational implicature found in film dialogues were understood by the listeners (f= 59, 98.33%). Only one particularized conversational implicature was examined being misunderstood by the hearer (f= 1, 1.67%). In addition, the conversational implicature were most produced under the principle of flouting maxim of quality. Additionally, sarcasm and metaphor were the major tools used by the speakers to produce particularized conversational implicatures. en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.subject การวิเคราะห์ความหมายชี้บ่งเป็นนัยบทสนทนา: กรณีศึกษาภาพยนตร์เรื่อง เบรคกิ้งดอร์น en_US
dc.title การวิเคราะห์ความหมายชี้บ่งเป็นนัยบทสนทนา: กรณีศึกษาภาพยนตร์เรื่อง เบรคกิ้งดอร์น en_US
dc.title.alternative An analysis of Conversational Implicatures : A Case Study of the Film Breaking Dawn en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.discipline Master's Degree en_US
dc.degree.name Master of Arts en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics