ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการป่าชุมชนในจังหวัดสุรินทร์

Show simple item record

dc.contributor.advisor ปิยากร หวังมหาพร en_US
dc.contributor.author ธิติ ศรีใหญ่
dc.date.accessioned 2019-11-26T23:14:38Z
dc.date.available 2019-11-26T23:14:38Z
dc.date.issued 2014-07
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/5861
dc.description ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาด้านการจัดการ มหาวิทยาลัยศรีปทุม. 2557 en_US
dc.description.abstract การวิจัยเรื่อง การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการป่าชุมชนในจังหวัดสุรินทร์ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการป่าชุมชนในจังหวัดสุรินทร์ 2) เพื่อเปรียบเทียบระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 3) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการป่าชุมชนในจังหวัดสุรินทร์ 4) เพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรคของการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการป่าชุมชนในจังหวัดสุรินทร์ 5) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการป่าชุมชนในจังหวัดสุรินทร์ การศึกษาวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ และการวิจัยเชิงคุณภาพ ประชากร คือ ประชาชนที่เป็นหัวหน้าครัวเรือนที่ตั้งบ้านเรือนอาศัยอยู่ในชุมชนที่ตั้งใกล้กับโครงการป่าชุมชนในจังหวัดสุรินทร์ จำนวน 21,354 ครัวเรือน จำนวนกลุ่มตัวอย่าง 393 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเชิงปริมาณได้แก่ แบบสอบถาม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเชิงคุณภาพ คือ การสัมภาษณ์เชิงลึก ซึ่งกลุ่มตัวอย่างจำนวน 10 คน ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 57.8 อายุระหว่าง 41-50 ปี ร้อยละ 31.8 ระดับการศึกษาประถมศึกษา ร้อยละ 56.7 อาชีพเกษตรกรรม ร้อยละ 72.5 รายได้ต่อเดือน 0-5,000 บาท ร้อยละ 53.9 และระยะเวลาที่อาศัยอยู่ในชุมชน 41-50 ปี ร้อยละ 36.1 ปัจจัยแวดล้อม พบว่า ด้านวัฒนธรรมชุมชน มากเป็นอันดับ 1 ที่ระดับค่าเฉลี่ย 4.28 ด้านโอกาสหรือช่องทางในการเข้าร่วม เป็นอันดับ 2 ที่ระดับค่าเฉลี่ย 3.98 ระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการป่าชุมชนในจังหวัดสุรินทร์ พบว่า ด้านการควบคุมโดยรัฐทั้งหมด มากเป็นอันดับ 1 ที่ระดับค่าเฉลี่ย 3.68 ด้านการควบคุมโดยประชาชน เป็นอันดับ 2 ที่ระดับค่าเฉลี่ย 3.65 การวิเคราะห์เปรีบเทียบระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการป่าชุมชนในจังหวัดสุรินทร์ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ และระยะเวลาที่อาศัยอยู่ในชุมชน แตกต่างกัน ระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการป่าชุมชนในจังหวัดสุรินทร์ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ปัจจัยแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการป่าชุมชนในจังหวัดสุรินทร์ ประกอบด้วย ด้านการได้รับข้อมูลข่าวสาร ด้านการเป็นสมาชิกกลุ่มทางสังคม ด้านความร่วมมือของประชาชนในชุมชน และด้านการส่งเสริมการมีส่วนร่วม ปัญหาอุปสรรคของการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการป่าชุมชนในจังหวัดสุรินทร์ ได้แก่ การขาดความตระหนักถึงคุณค่าของทรัพยากรธรรมชาติ ไม่เข้าใจถึงบทบาทของป่าชุมชนที่มีต่อชุมชน ไม่เข้าใจกฏระเบียบข้อบังคับของป่าชุมชน ไม่มีเวลาร่วมกันรักษาทรัพยากรของชุมชน บทบาทของคณะกรรมการที่ดูแลป่าชุมชนยังไม่เข้มแข็ง การประชาสัมพันธ์กิจกรรมต่างๆ ในชุมชนยังไม่เพียงพอ ผู้นำท้องถิ่นยังให้ความสำคัญกับป่าชุมชนน้อย งบประมาณทั้งจากหน่วยงานท้องถิ่น และหน่วยงานภาครัฐยังไม่เพียงพอ แนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการป่าชุมชนในจังหวัดสุรินทร์ ได้แก่ การรณรงค์ให้เห็นคุณค่าของป่าชุมชนที่มีต่อชุมชน การจัดทำป้ายประชาสัมพันธ์ การประสัมพันธ์ให้ชุมชนได้รับทราบถึงกิจกรรมต่างๆ การสร้างจิตสำนึกและตระหนักถึงคุณค่าของทรัพยากรป่าไม้ในชุมชน การตั้งหน่วยพิพักษ์ป่าชุมชน หน่วยงานภาครัฐมาให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดการป่าชุมชน en_US
dc.description.sponsorship The research in the topic of “People’s Participation in Community Forest Management in Surin Province” has the objectives 1) to study the people’s participation in community forest management in Surin Province 2) to make a comparison on the level of people’s participation divided into the classification according to individual factors 3) to study factors that influence people’s participation in community forest management in Surin Province 4) to study problems and obstacles towards people’s participation in community forest management in Surin Province 5) to propose the development guideline on the people’s participation in community forest management in Surin Province. This research is qualitative research and qualitative research. Population is 21,354 people who are the heads of the household living in the community near the community forest management project in Surin Province, and 393 people are chosen as the samples. The research tools using in quantitative research is questionnaire and those in qualitative research is an in-depth interview with the sample of 10 people. It was found from the study that most of the respondents are male, of 57.8 percent with the age between 41-50 years old. For the occupation and education, people with the primary educational level is of 31.8 percent, agriculture 56.7 percent, For the monthly income from 0-5,000 Baht per month, it is of 53.9 percent, and period of living in the community from 41-50 years were of 36.1 percent. For the environmental factors, it is found that the majority, which is considered no. 1 is community culture with an average of 4.28, while the chance and opportunity in participation is ranked second with the average of 3.98. For the level of people's participation in community forest management in Surin Province, it is found that the majority ,which is ranked no. 1 is controlled by the government with an average of 3.68, control by people were ranked the second with an average of 3.65. The analysis on comparison the level of people’s participation in community forest management in Surin Province is classified by individual factors. It is found that age, level of education, career, income, and period of living in the community are found to be related to the level of people’s participation in community forest management in Surin Province with significance at .05 levels. Factors influencing the people’s participation in community forest management in Surin Province consist of information obtained, membership in the society, and the cooperation of the people in community, and participation promotion and support. Problems and obstacles of people’s participation in community forest management in Surin Province are lack of awareness on the value of natural resources without understanding the role of community forest towards the community, without understanding the rules of the community forest, no time available in participating in preserving community resources, the role of the committee which oversees the forest are not strong, So else is publication on activities in the community, the leader in the local area still give less importance on the community forest, and the budget from local agencies and the government are not enough. The development resolution on people’s participation in community forest management in Surin Province is to make a campaign for people in the community to see the value of community forest, to prepare the publication board, to publicize the activities the community in order to be more aware of them, and to set in the community forest protection unit and the government agencies to provide knowledge about the community forest management. en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.subject การมีส่วนร่วม, ป่าชุมชน, สุรินทร์, PEOPLE’S PARTICIPATION, COMMUNITY FOREST, SURIN en_US
dc.title การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการป่าชุมชนในจังหวัดสุรินทร์ en_US
dc.title.alternative PEOPLE’S PARTICIPATION IN COMMUNITY FOREST MANAGEMENT IN SURIN PROVINCE en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.discipline สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ en_US
dc.degree.level เอก en_US
dc.degree.name ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต en_US
dc.contributor.emailauthor darabkk@gmail.com en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics