ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

บทบาทและศักยภาพด้านการคมนาคมของจุดผ่อนปรนการค้าชายแดนไทย-ลาว ในพื้นที่จังหวัดน่าน

Show simple item record

dc.contributor.author เฮ่ประโคน, ธเนศ
dc.contributor.author นามประเสริฐ, สุปรีชา
dc.contributor.author ปีนะภา, สุดารัตน์
dc.date.accessioned 2019-09-10T13:01:39Z
dc.date.available 2019-09-10T13:01:39Z
dc.date.issued 2017-12
dc.identifier.citation เอกสารจากการประชุมวิชาการระดับชาติ นวัตกรรมและเทคโนโลยีวิชาการ 2017 25-26 ธันวาคม 2560 หน้า B-605 en_US
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/5594
dc.description การวิจัยนี้ศึกษาบทบาทและศักยภาพด้านการคมนาคมของจุดผ่อนปรนการค้าชายแดนไทย-ลาว ในพื้นที่จังหวัดน่าน ซึ่งมี 2 แห่ง คือ (1) บ้านใหม่ชายแดน อำเภอสองแคว และ (2) บ้านห้วยสะแตง อำเภอทุ่งช้าง ในส่วนของการศึกษาบทบาทของจุดผ่อนปรน ประชากรในการวิจัยแบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ ผู้นำชุมชน ผู้ขาย/ผู้ให้บริการ และผู้ซื้อ/ผู้รับบริการ บริเวณจุดผ่อนปรน โดยสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงและแบบแบ่งชั้นภูมิ เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง ประสมกับการเก็บข้อมูลภาคสนามโดยการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม ส่วนการศึกษาศักยภาพด้านการคมนาคม โดยอาศัยข้อมูลปริมาณการจราจรและกายภาพของถนน ผลการศึกษาพบว่า จุดผ่อนปรนการค้าชายแดนบ้านใหม่ชายแดน มีบทบาทที่สำคัญเป็นจุดค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้าระดับชาวบ้าน ประชาชนของทั้งสองประเทศข้ามไปมาระหว่างชายแดน เพื่อซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคเพื่อไปใช้หรือเพื่อการค้าในระดับท้องถิ่น ส่วนจุดผ่อนปรนการค้าชายแดนบ้านห้วยสะแตง มีบทบาทที่สำคัญ คือ เป็นจุดผ่านเพื่อรับบริการด้านสาธารณสุขเท่านั้น ทั้งนี้ปัจจัยด้านการคมนาคมเป็นปัจจัยที่สำคัญในการกำหนดบทบาทของจุดผ่อนปรนการค้าขายแดนไทย-ลาว ซึ่งในขณะนี้ระดับการให้บริการของถนนในปัจจุบันและในอนาคตมีค่าในระดับยอดเยี่ยม ดังนั้นการเสริมสร้างศักยภาพควรดำเนินการปรับปรุงสภาพผิวทางให้อยู่ในสภาพดี This research aimed to study the characteristics and transportation potentials of Thai-Lao check point border trade in Nan province. There were two areas, which in this study: Baan Mai Chai Dan in Song Khwae district and Baan Huai Sataeng in Thung Chang District. The populations consisted of three groups of local people including: community leaders, salespersons/facilitators and buyers/users and purposive sapling as well as stratified random sampling were used. Data were collected by structured interviews, and non-participant observations. In the part of transportation potentials, traffic volume and the physical conditions of roads were used as the data. The findings showed that the important characteristics of Baan Mia Chai Dan were for trading in locality in which local products could be merchandised and traded among people in the area and those who crossed the border for consumption and commerce. On the other hand, Baan Huai Sataeng had the important characteristics of a public health area in which patients were transferred to and from the hospitals. The characteristics of Thai-Lao check point border were considered by the transportation factors of which now the level of service has been at the excellent level even though the pavements should have been improved and maintained in good condition. en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.subject จุดผ่อนปรนการค้าชายแดนไทยลาว en_US
dc.subject บทบาท en_US
dc.subject ศักยภาพ en_US
dc.subject การคมนาคม en_US
dc.subject น่าน en_US
dc.title บทบาทและศักยภาพด้านการคมนาคมของจุดผ่อนปรนการค้าชายแดนไทย-ลาว ในพื้นที่จังหวัดน่าน en_US
dc.title.alternative Characteristics and Transportation Potentials of Thai-Lao Check Point Border Trade in Nan Province en_US
dc.type Proceedings en_US
dc.contributor.emailauthor thaned.hp@bru.ac.th en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics