ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

การพัฒนาแผนกลยุทธ์ความร่วมมือของชุมชนเพื่อการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน

Show simple item record

dc.contributor.author วีระศักดิ์, อรุณโน
dc.date.accessioned 2019-08-09T08:20:32Z
dc.date.available 2019-08-09T08:20:32Z
dc.date.issued 2560
dc.identifier.citation รมยสาร, ปีที่ 15, ฉบับที่ 1 (ม.ค.-เม.ย.2560): หน้า 233-242 en_US
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/5375
dc.description.abstract การวิจัยและพัฒนาเรื่องการพัฒนาแผนกลยุทธ์ความร่วมมือของชุมชนเพื่อการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน มี วัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาปัญหาความร่วมมือของชุมชนในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) เพื่อศึกษาการพัฒนาแผน กลยุทธ์ความร่วมมือของชุมชน ในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน 3) เพื่อนำแผนกลยุทธ์ด้านความร่วมมือไปทดลองใช้ในการ จัดการศึกษาของโรงเรียนกลุ่มทดลอง และ 4) เพื่อศึกษาผลที่ได้รับจากการพัฒนาแผนกลยุทธ์ความร่วมมือของชุมชนในการ จัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยมีวิธีการจัดทำวิจัย 4 ขั้นตอน คือ (1) ศึกษาปัญหาความร่วมมือของชุมชนกับกลุ่มประชากร จำนวน 7 โรงเรียนในกลุ่มเครือข่ายพุทไธสง มีผู้ให้ข้อมูลทั้งสิ้น 98 คน (2) สร้างและพัฒนานวัตกรรมการบริหารงาน โดย การจัดทำแผนกลยุทธ์ด้านความร่วมมือกับชุมชน จัดอบรมเชิงปฏิบัติการและจัดดำเนินงานตามแผน จำนวน 7 โรงเรียน ประชากรที่เกี่ยวข้อง จำนวน 98 คน (3) จัดดำเนินงานตามโครงการและกิจกรรมโดยใช้ระยะเวลา 2 ภาคเรียน และ (4) ผู้วิจัยศึกษาผลการปฏิบัติตามแผนงานตามโครงการของแต่ละโรงเรียน แล้วนำผลมาสรุปเป็นผลการพัฒนาความร่วมมือ กับชุมชนเพื่อการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความ สอดคล้องของความเห็นในการนำไปปฏิบัติและการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า ปัญหาการพัฒนาความร่วมมือของ ชุมชนเพื่อการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน เรียงตามภาระงาน 4 งานของโรงเรียน ตามลำดับ คือ ด้านบุคลากร มีปัญหาความ ร่วมมือ คือ การไม่เชิญบุคลากรภายนอกมาให้ความรู้กับนักเรียน เช่น ศิษย์เก่า ผู้ปกครอง ปราชญ์ชาวบ้าน ร่วมกิจกรรมกับ โรงเรียน ในกิจกรรมตามประเพณีต่างๆ รวมทั้งไม่ได้มีการยกย่องเชิดชูเกียรติบุคคลตัวอย่างของชุมชนด้านการบริหารทั่วไป มีปัญหาความร่วมมือ คือ การไม่ให้ข้อมูลสารสนเทศเพื่อการพัฒนาโรงเรียน การประชาสัมพันธ์กิจกรรมของโรงเรียนและ การจัดหางบประมาณเพื่อพัฒนาโรงเรียน ด้านบริหารงบประมาณมีปัญหาความร่วมมือ คือ ขาดการสนับสนุนงบประมาณ เพื่อจัดหาวัสดุอุปกรณ์ การระดมทรัพยากรจากชุมชน ด้านวิชาการ พบว่า มีปัญหาความร่วมมือ คือ ผู้บริหารไม่ทุ่มเทร่วมมือกับชุมชน รวมทั้งการจัดแหล่งเรียนรู้ในชุมชนเพื่อบริการ แก่นักเรียน นำไปสู่การวางแผนงานด้านวิชาการ การศึกษา ผลการดำเนินงานตามแผนกลยุทธ์พบว่า ผลสำเร็จของแผน กลยุทธ์ มีค่าความพึงพอใจในระดับดีมาก ทำให้โรงเรียนกับ ชุมชนมีความศรัทธา ความเชื่อมั่นและสร้างความร่วมมือที่ดี มีกิจกรรมที่นำไปสู่การพัฒนาการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานที่ มีประสิทธิภาพ en_US
dc.description.abstract The research and development study aimed 1) to study the community partnership coordination problems in basic education management, 2) to study the development of the community partnership coordination strategies for basic education management, 3) to select and operate the strategic plan and implementing plan in the seven experimental schools, 4) to study the effect of the development of community partnership coordination strategic plan for basic education management. The sample was administrators, teachers, and the experts in school committee of seven schools at Phutthaisong School Network. The 98 respondents were trained and workshop to operate the strategic plan and implemented the plan in school for two semesters. The collected data were analyzed and the results of community partnership coordination on strategic plan for basic education management were presented. The data were analyzed by percentages, means, standard deviation, and content analysis. Major findings on the problems concerning the development of community partnership coordination for basic education management on school functions were found that (1) the opportunity for community’s expert to teach and carry out activities with the students, (2) providing information for school’s development, (3) mobility of funds for school’s development, and (4) the management information system in academic activities for students. The researcher selected and operated the innovation on strategic plan on community partnership coordination for strategic plan, and implement in the school network for the experiment. The results of the study were revealed that the level of satisfaction was high and brought about admiration, belief and well coordination between schools and communities leading to the activities for effective basic education management. en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.subject การพัฒนาแผนกลยุทธ์ความร่วมมือของชุมชนเพื่อการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน en_US
dc.title การพัฒนาแผนกลยุทธ์ความร่วมมือของชุมชนเพื่อการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน en_US
dc.title.alternative Development of a Strategic Plan on Community Partnership Coordination for Basic Education Management en_US
dc.type Article en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics