ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

การศึกษาและออกแบบเฟอร์นิเจอร์สำนักงานจากเส้นใยกาบมะพร้าว

Show simple item record

dc.contributor.author จักกฤษณ์, พนาลี
dc.date.accessioned 2019-08-09T03:46:00Z
dc.date.available 2019-08-09T03:46:00Z
dc.date.issued 2560
dc.identifier.citation รมยสาร. ปีที่ 14 ฉบับที่ 1 (ม.ค.-เม.ย. 2559) : หน้า 165-179 en_US
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/5241
dc.description.abstract สังคมไทยเดิมเป็นสังคมเกษตรกรรม อาศัยอยู่กับธรรมชาติเป็นหลัก มะพร้าวเป็นพืชพื้นเมืองที่อยู่คู่กับสังคมไทย มาตั้งแต่สมัยอดีต มะพร้าวถือเป็นพืชเศรษฐกิจของประเทศไทยคนไทยจึงรู้จักการนำทุกส่วนของมะพร้าวมาประดิษฐ์ให้ เกิดประโยชน์ เช่น ลำต้นใช้ในการสร้างบ้านเรือน ทางมะพร้าวใช้มาจักสานเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ ผลใช้กินเนื้อหรือ ประกอบอาหารคาวหวานต่างๆ กาบมะพร้าวใช้ทำพรมเช็ดเท้า แปรงขัด กะลามะพร้าวใช้ทำเครื่องมือและอุปกรณ์เครื่อง ใช้ต่างๆ ในชีวิตประจำวัน ในส่วนของกาบมะพร้าวมีเส้นใยประเภท ลิกโนเซลลูโลส ซึ่งมีคุณสมบัติทางด้านความเหนียว มี ความเบา เป็นเส้นตรงที่เรียวยาว ยังไม่ถูกนำมาใช้ประโยชน์ ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้กำหนดวัตถุประสงค์ในการ วิจัยไว้ 2 ประการ คือ 1) ศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับวัตถุดิบ วัสดุ กรรมวิธี กระบวนการผลิต และข้อมูลที่เกี่ยวข้อง 2) ศึกษาแนวทางการศึกษาออกแบบเฟอร์นิเจอร์จากเส้นใยกาบมะพร้าวให้มีรูปแบบที่พัฒนาความเป็นอยู่ความต้องการของ ผู้บริโภคในปัจจุบัน การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยได้ดำเนินการศึกษาค้นคว้าข้อมูลเอกสารที่เกี่ยวข้อง และการสำรวจกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ประกอบด้วยผู้มีอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก การวิจัยในครั้งนี้สรุปผลได้ดังนี้ มะพร้าวเป็นพืชเศรษฐกิจที่ปลูกทั่วทุกภาคของประเทศไทย จากการลงพื้นที่ สำรวจในตำบลอำแพง อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร พบว่า เกษตรกรมีการปลูกมะพร้าวเป็นส่วนใหญ่ ในแต่ละ ปีนั้นจะมีวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรคือ กาบมะพร้าวทิ้งกองทับถมกันรอการเผาทำลาย ดังนั้นการแก้ไขปัญหา คือเพิ่ม มูลค่าให้กาบมะพร้าว เพื่อแก้ปัญหาเผาทำลาย เพิ่มมูลค่าให้กับวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เส้นใยกาบมะพร้าว มีลักษณะ เป็นเส้นยาว เหนียว และทนต่อแรงอัด แรงดึง เส้นใยกาบมะพร้าวที่เหลือใช้ทางการเกษตรด้วยการนำเส้นใยมาออกแบบ เฟอร์นิเจอร์เนื่องจากเส้นใยกาบมะพร้าวมีคุณสมบัติที่ดีคือมีลักษณะของเส้นใยทนต่อแรงอัด แรงดึง มีความเหนียว สามารถ นำมาเป็นวัสดุหลักในพัฒนาวัสดุโดยผ่านกระบวนการอัด สามารถเป็นแผ่นห่อหุ้มโครงสร้างเพื่อเป็นผลิตภัณฑ์เฟอร์นิเจอร์ มีพื้นผิวและเอกลักษณ์ของเส้นใยกาบมะพร้าว สามารถใช้เทคโนโลยีภายในท้องถิ่นในกระบวนการผลิตได้ จากการออกแบบเฟอร์นิเจอร์สำนักงานต้นแบบทั้ง 5 แบบ ผลจากการทำแบบสอบถามเพื่อสำรวจความคิดเห็น ของผู้บริโภคจำนวน 30 คน พบว่าโดยค่าความเหมาะสมของผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการพัฒนาแล้วในสองอันดับแรก คือ ด้านรูป แบบของผลิตภัณฑ์มีความแปลกใหม่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว โดยเฉลี่ย ( x = 4.50) ระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านผลิตภัณฑ์มีรูปแบบและโครงสร้างที่เหมาะสมต่อการเป็นผลิตภัณฑ์เฟอร์นิเจอร์ โดยเฉลี่ย ( x = 4.53) ระดับความคิด เห็นอยู่ในระดับมากที่สุด ดังนั้น โครงงานวิจัยเรื่องการศึกษาและออกแบบ เฟอร์นิเจอร์จากเส้นใยกาบมะพร้าว จึงเป็นอีกกระบวนการ เพื่อพัฒนาวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เพื่อเป็นแนวทาง ในการสร้างผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญาท้องถิ่น อันก่อให้เกิด การพัฒนาเศรษฐกิจของชุมชนอย่างยั่งยืน ซึ่งเป็นประเด็น สำคัญของงานวิจัยนี้ คือ การนำของเหลือทิ้งจากภาค เกษตรกรรม คือ กาบมะพร้าวซึ่งมีเส้นใยกาบมะพร้าว มา ศึกษาและออกแบบเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีประโยชน์ แทนการ ทิ้งกองทับถมเป็นแหล่งเพาะพันธ์ุยุงและสร้างทัศนวิสัยที่ ไม่ดี อีกทั้งยังสามารถเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรได้อีกทาง หนึ่งด้วย en_US
dc.description.abstract There were two objectives in this research: 1) to study information related to the material / materials manufacturing process. 2) to study design of furniture from coconut fibers to form the well-being needs of the modern consumer. In the present study, the qualitative research was conducted by studying the relevant documents and a sample survey by a purposive sampling mostly from agriculturist. The research finding could be sum up as follows: coconut was a crop that was grown all over the country. It was found from the survey in Amphaeng Sub district, Banphaeo district, Samutsakhon province that mostly agriculturist grew a coconut tree and left a waste material in agriculture every year and coconut left mounds awaiting destruction. Solution to problem was adding a value to the burning of agricultural waste. The fibers of the coconut were long, tough and resistant coir fibers, which can be used as the main material in the material through the compression process. It can be structured to cover the furniture with a unique texture and coconut fiber, and local technology can be used in the manufacturing process. The design of the 5 types of office furniture prototypes by survey 30 customers with questionnaire revealed that the product that has been developed in the first-two orders was the novel form of the product and unique with average ( = 4.50) at the highest level. The products with suitable layout and structure with average ( = 4.53) at the highest level. The project study and design furniture from coconut fiber was a process of the development of agricultural residues to be guideline for the creation of local products for sustainable economic development of the community. The key findings of the research was that a waste of agriculture like coconut coir fiber can be used for study and design a useful product instead of leaving a hotbed mounds created through mosquitos and bad vision, on the other hand, it also can increase the income of farmers. en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.subject การศึกษาและออกแบบเฟอร์นิเจอร์สำนักงานจากเส้นใยกาบมะพร้าว en_US
dc.title การศึกษาและออกแบบเฟอร์นิเจอร์สำนักงานจากเส้นใยกาบมะพร้าว en_US
dc.title.alternative The project study and Design Furniture from Coconut Fiber en_US
dc.type Article en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics