ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

รูปแบบการบริหารงานการจัดการศึกษาปฐมวัยในโรงเรียนเอกชน

Show simple item record

dc.contributor.author อรุณี, สาธรพิทักษ์
dc.date.accessioned 2019-08-09T03:41:20Z
dc.date.available 2019-08-09T03:41:20Z
dc.date.issued 2560
dc.identifier.citation รมยสาร. ปีที่ 13 ฉบับที่ 2 (พ.ค.-ส.ค. 2558) : หน้า 101-111 en_US
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/5236
dc.description.abstract การศึกษาวิจัยรูปแบบการบริหารการจัดการศึกษาปฐมวัยในโรงเรียนเอกชน มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบของการบริหารงานการจัดการศึกษาปฐมวัย ในโรงเรียนเอกชน 2) สร้างและพัฒนารูปแบบการบริหารการจัดการศึกษาปฐมวัยใน โรงเรียนเอกชน และ 3) ประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการบริหารงานการจัดการ ศึกษาปฐมวัยในโรงเรียนเอกชน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 การสร้างรูปแบบการบริหารงานการจัดการศึกษาปฐมวัยในโรงเรียนเอกชน กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้เชี่ยวชาญ สาขาการศึกษาปฐมวัย ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารการ ศึกษา ครูวิชาการของโรงเรียนเอกชน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการบริหารงานวิชาการ โรงเรียน จำ นวน 15 คน กลุ่มที่ 2 การพัฒนารูปแบบการบริหารงานการจัดการศึกษา ปฐมวัยในโรงเรียน เอกชน กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอนในโรงเรียน อนุบาลสายสัมพันธ์ จำนวน 26 คน กลุ่มตัวอย่างทั้ง 2 กลุ่ม ได้มาโดยการเลือกแบบ เจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ คู่มือการใช้รูปแบบการบริหาร การจัดการศึกษาสำหรับการจัดการศึกษาปฐมวัยโรงเรียนเอกชนแบบสอบถาม และ แบบประเมิน สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและ ร้อยละ ผลการวิจัย พบว่า 1. องค์ประกอบของการบริหารการจัดการศึกษาสำหรับการจัดการศึกษา ปฐมวัยโรงเรียนเอกชน ประกอบด้วย 7 องค์ประกอบ 46 ตัวบ่งชี้ โดยองค์ประกอบที่ 1ด้านหลักสูตรและการนำหลักสูตรไปใช้ ประกอบ ด้วย 9 ตัวบ่งชี้ องค์ประกอบที่ 2 ด้านการจัด ประสบการณ์เรียนรู้ประกอบด้วย 8 ตัวบ่งชี้ องค์ ประกอบที่ 3 ด้านการพัฒนาสื่อการเรียนการสอน ประกอบด้วย 5 ตัวบ่งชี้ องค์ประกอบที่ 4 ด้าน การวัดและประเมินผล ประกอบด้วย 7 ตัวบ่งชี้ องค์ประกอบที่ 5 ด้านการนิเทศภายใน ประกอบ ด้วย 5 ตัวบ่งชี้ องค์ประกอบที่ 6 ด้านการวิจัยเชิง ปฏิบัติการเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาในสถาน ศึกษา ประกอบด้วย 5 ตัวบ่งชี้และองค์ประกอบที่ 7 ด้านการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในและ มาตรฐานการศึกษา ประกอบด้วย 7 ตัวบ่งชี้ 2. รูปแบบการบริหารการจัดการศึกษา สำหรับการจัดการศึกษาปฐมวัยโรงเรียนเอกชน ประกอบด้วย 6 ขั้นตอน มีองค์ประกอบย่อย 23 ตัว บ่งชี้ ขั้นตอนที่ 1 การระบุเป้าหมาย 4 ตัวบ่งชี้ ขั้น ตอนที่ 2 การจัดทำแผนกลยุทธ์ 6 ตัวบ่งชี้ ขั้นตอน ที่ 3 การปฏิบัติงานตามแผนกลยุทธ์ 2 ตัวบ่งชี้ ขั้น ตอนที่ 4 การส่งเสริมสนับสนุน กำกับติดตามนิเทศ 4 ตัวบ่งชี้ ขั้นตอนที่ 5 การตรวจสอบและประเมินผล 5 ตัวบ่งชี้และขั้นตอนที่ 6 การสะท้อนผล รายงานผล การดำเนินงานและการนำผลการประเมินไปใช้ 4 ตัวบ่งชี้ 3. ผลการประเมินความเหมาะสมของรูป แบบการบริหารการจัดการศึกษาปฐมวัยในโรงเรียน เอกชน โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับ มาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีความเหมาะ สมอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเฉพาะด้านการนิเทศ ภายใน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา ด้านการพัฒนา ระบบประกันคุณภาพภายในและมาตรฐานการ ศึกษา ด้านหลักสูตรและการนำหลักสูตรไปใช้ ด้าน การวัดและประเมินผล ด้านการวิจัยเชิงปฏิบัติการ เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาในสถานศึกษา ด้าน การพัฒนาสื่อการเรียนการสอน และด้านการจัด ประสบการณ์เรียนรู้ตามลำดับ en_US
dc.description.abstract The research on early childhood educational administration model in a private school had three purposes as follows : 1) to study the elements of early childhood educational administration in the private school, 2) to create and develop the early childhood educational administration model in the private school, and 3) to evaluate the appropriateness of the early childhood educational administration model. The samples used in this research were divided into 2 groups based on two phases of research : in the first phase, creating the Early Childhood Educational Administration Model in the Private School, the samples were 15 persons from specialists in the program of Early Childhood Education, BRU, the experts in educational administration, academic teachers of private schools, and stakeholders of academic management of school. In the second phase, developing the Early Childhood Educational Administration Model in the Private School, the samples were 26 persons from school administrators and teachers of Saisamphan Kindergarten School. The research instruments included a set of questionnaire and an interview form. The statistics employed for analyzing the data were mean, standard deviation, and percentage. The results of research were as follows. 1. The early childhood educational administration model for the private kindergarten school comprised 7 elements and 46 indicators. The first element, school curriculum and implementation, consisted of 9 indicators. The second one, learning management, included 8 indicators. The third element, the development of teaching and learning media, comprised 5 indicators. The fourth element, learning assessment and evaluation, contained 7 indicators. The fifth element, school internal supervision, comprised 5 indicators. The sixth one, action research for developing educational quality in schools, consisted of 5 indicators. The last element, developing internal quality assurance system and educational standard, included 7 indicators. 2. The procedures of constructing and developing early childhood educational administration model consisted of 6 steps and 23 indicators. The first step, setting the goals, included 4 indicators. The second step, strategic plans making, consisted of 6 indicators. The third step, strategic plans implementation, comprised 2 indicators. The fourth step, promoting, supporting, monitoring, following, and supervising, had 4 indicators. The fifth step, checking and evaluating, contained 5 indicators. The last step, reflecting, reporting, and implementing, had 4 indicators. 3. The result of evaluating the appropriateness of implementing the early childhood educational administration model in the private kindergarten school revealed suitability for practice at a high level. Considering each aspect, the researcher found that all areas of the early childhood educational administration model were suitable at high levels, especially the internal supervision gained the highest mean, which were followed by the area of developing internal quality assurance system and educational standard, the school curriculum and implementation, the assessment and evaluation, the action research for developing educational quality in schools, the development of teaching and learning media and finally, the learning management respectively. en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.subject รูปแบบการบริหารงานการจัดการศึกษาปฐมวัยในโรงเรียนเอกชน en_US
dc.title รูปแบบการบริหารงานการจัดการศึกษาปฐมวัยในโรงเรียนเอกชน en_US
dc.title.alternative The Early Childhood Educational Administration Model in a Private School en_US
dc.type Article en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics