ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

ทุนทางสังคมและการเสริมสร้างพลังชุมชนในการพัฒนา กรณีศึกษา: บ้านคำบง ตำบลสะอาด อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น

Show simple item record

dc.contributor.author อุมาสวรรค์, คุณสิงห์
dc.date.accessioned 2017-10-16T07:44:34Z
dc.date.available 2017-10-16T07:44:34Z
dc.date.issued 2016
dc.identifier.citation การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2554 en_US
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/3002
dc.description บทคัดย่อ งานการวิจัยเรื่องทุนทางสังคมและการเสริมสร้างพลังชุมชนในการพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและประเมิน ทุนทางสังคมที่มีอยู่ในพื้นที่ทั้ง 3 ประเภท ได้แก่ ทุนมนุษย์ ทุนสถาบัน ทุนวัฒนธรรม และเพื่อสร้างทางเลือกใน การเสริมสร้างพลังชุมชนโดยการนำทุนทางสังคมมาใช้ในการพัฒนาในการดำเนินการวิจัยเน้น การวิจัยและเก็บรวบรวม ข้อมูล ด้วยวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยกำหนดประเด็นคำถามที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) กับกลุ่มเป้าหมาย 5 กลุ่ม จำนวน 50 ราย ได้แก่ ผู้นำชุมชน คณะกรรมการกองทุน เจ้าหน้าที่รัฐ ผู้นำศาสนา และประชาชนทั่วไป จากนั้นได้สร้างกระบวนการในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และวางแผนในการพัฒนาทุนเพื่อสร้างทางเลือก ในการเสริมสร้างพลังชุมชนโดยการนำทุนทางสังคมมาใช้ในการพัฒนา ผลการวิจัย พบว่า ประเด็นแรก ประเมินการมีอยู่ของทุนทางสังคม ทั้ง 3 ประเภท ได้แก่ ทุนมนุษย์ ทุนสถาบัน และทุนวัฒนธรรม พบว่า 1) ทุนมนุษย์ ชุมชนได้มีการดึงศักยภาพของคนในชุมชนมาใช้ให้เกิดประโยชน์ตามขีดความสามารถและข้อจำกัด ในรูปแบบของการถ่ายทอด แลกเปลี่ยนให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน 2) ทุนสถาบัน นอกจากบ้าน วัด โรงเรียนชุมชนยังให้ ความสำคัญกับกลุ่มสถาบันทางด้านการเงินที่เป็นรูปแบบการออมทรัพย์เนื่องจากมีการแปลงรูปมาเป็นการจัดสวัสดิการให้ คนในชุมชน นอกจากนี้ยังมีหน่วยงานภาครัฐ/เอกชนที่เข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงานแต่ยังขาดการบูรณาการอย่าง จริงจัง 3) ทุนวัฒนธรรม ชุมชนยังคงปฏิบัติตามฮีต 12 คอง 14 แต่บางอย่างเริ่มสูญหายทำให้ระบบความสัมพันธ์และการ พึ่งพากันลดน้อยลงไปด้วย ประเด็นที่สอง ทางเลือกในการเสริมสร้างพลังชุมชนให้เกิดการนำทุนทางสังคมมาใช้ในการ พัฒนา มี 4 ประการ คือ 1) การสร้างความรู้ ความเข้าใจของทุนทางสังคมโดยชุมชนและภาคีเครือข่ายตระหนักถึงการใช้ ประโยชน์อย่างคุ้มค่า 2) การค้นหา รวบรวม จัดหมวดหมู่ และการจัดทำแผนที่ทุนทางสังคม 3) การนำทุนทางสังคมมา ถ่ายทอด อนุรักษ์ ฟื้นฟู จะช่วยเสริมสร้างให้ชุมชนรู้จักวิเคราะห์แก้ไขปัญหา และ 4) การพัฒนาทุนอย่างต่อเนื่อง ใน ลักษณะกิจกรรมเฉพาะกลุ่ม ลงแรงช่วยเหลือกัน บำเพ็ญประโยชน์ หรือถ่ายทอดภูมิปัญญา ด้วยกระบวนการเรียนรู้ ร่วมกันของคนในชุมชน ข้อเสนอแนะด้านนโยบาย 1) รัฐควรมีการกำหนดนโยบายตามยุทธศาสตร์การพัฒนาของระดับท้องถิ่นและ ระดับประเทศให้จัดตั้งกองทุนเพื่อพัฒนาและสนับสนุนทุนทางสังคมให้เป็นโครงข่ายทุนทางสังคมในระดับพื้นที่รวมทั้งเป็น ผู้จัดการศึกษาอย่างจริงจัง และพัฒนาเป็นองค์ความรู้ 2) ควรนำเอาเทคโนโลยีเข้ามาเป็นเครื่องมือจัดทำแผนที่ทุนทาง สังคมสามารถเผยแพร่ไปในระดับตำบล อำเภอ จังหวัดและระดับประเทศ ข้อเสนอแนะด้านการพัฒนา 1) ชุมชนควรมี การสำรวจรวบรวมและจัดทำแผนที่ทุนทางสังคม 2) ควรใช้กระบวนการวิเคราะห์ สังเคราะห์บทเรียนจากการใช้ทุนทาง สังคมร่วมกับภาคีเครือข่ายอย่างต่อเนื่อง 3) หน่วยงานหรือองค์กรในพื้นที่ควรส่งเสริม สนับสนุนให้ความสำคัญเรื่องทุน อย่างจริงจัง 4) ชุมชน ควรมีศูนย์เรียนรู้ในเรื่องของทุนทางสังคม เพื่อเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.subject ทุนทางสังคม en_US
dc.subject การเสริมสร้างพลังชุมชน en_US
dc.subject Social capital en_US
dc.subject Community Empowerment en_US
dc.title ทุนทางสังคมและการเสริมสร้างพลังชุมชนในการพัฒนา กรณีศึกษา: บ้านคำบง ตำบลสะอาด อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น en_US
dc.title.alternative SOCIAL CAPITAL AND COMMUNITY EMPOWERMENT FOR DEVELOPMENT: A CASE STUDY OF KHAMBONG VILLAGE, SA-AD SUBDISTRICT NAMPHONG DISTRICT, KHON KAEN PROVINCE en_US
dc.type Proceedings en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics