ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

การศึกษาการพัฒนาการประกอบอาชีพเลี้ยงโคเนื้อของเกษตรกร โดยวิธีการจัดการความรู้ กรณีศึกษา กลุ่มผู้เลี้ยงโคเนื้อ ในเขตอำเภอคูเมือง และอำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์

Show simple item record

dc.contributor.author จรัส, สว่างทัพ
dc.date.accessioned 2017-09-27T06:35:46Z
dc.date.available 2017-09-27T06:35:46Z
dc.date.issued 2015
dc.identifier.citation การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาครั้งที่ 17 และการสัมมนาวิชาการเพื่อเผยแพร่งานวิจัยสู่ชุมชน ครั้งที่ 5 en_US
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/2407
dc.description.abstract บทคัดย่อ การพัฒนาการประกอบอาชีพการเลี้ยงโคเนื้อของเกษตรกรโดยวิธีการจัดการความรู้ กรณีศึกษา กลุ่มผู้เลี้ยงโคเนื้อ ในเขตอำเภอคูเมือง และอำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ เป็น การศึกษาเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ ตลอดทั้งเป็นการสนับสนุนการเรียนการสอนเชิงวิจัยสำหรับ นักศึกษาสาขาวิชาสัตวศาสตร์ คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ มี วัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการเลี้ยงโคเนื้อของกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อในจังหวัดบุรีรัมย์ 2) ศึกษาการพัฒนาของการประกอบอาชีพเลี้ยงโคเนื้อโดยวิธีการจัดการความรู้ 3) ศึกษาความพึง พอใจของเกษตรกรในการใช้วิธีการจัดการความรู้มาใช้ในการพัฒนาการประกอบอาชีพการเลี้ยง โคเนื้อ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ เกษตรกรกลุ่มผู้เลี้ยงโคเนื้อบ้านโคกกลาง หมู่ที่ 9 ตำบลคูเมือง อำเภอ คูเมือง จำนวน 20 คน และเกษตรกรกลุ่มผู้เลี้ยงโคเนื้อบ้านหนองตะเคียน หมู่ที่ 12 ตำบลบ้าน กรวด อำเภอบ้านกรวด จำนวน 39 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือวิจัยที่ใช้ คือ แบบสอบถาม และการจัดเวที วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติเชิงพรรณนา และข้อมูลเชิง คุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษา พบว่า เกษตรกรกลุ่มผู้เลี้ยงโคเนื้อบ้านโคกกลาง และบ้านหนองตะเคียน มีสภาพการเลี้ยงโคเนื้อที่มีการพัฒนาจากการเลี้ยงโคเนื้อในอดีต เกษตรกร มีอาชีพทำไร่ทำนาเป็นอาชีพหลัก เลี้ยงโคเนื้อเป็นอาชีพรอง มีรายได้จากการเลี้ยงโคเนื้อเฉลี่ยต่อ ครอบครัวจากทั้ง 2 หมู่บ้าน 7,942 บาท มีพื้นที่ประกอบการเกษตรเฉลี่ยต่อครอบครัว 22 ไร่ เลี้ยง โคเนื้อเฉลี่ยต่อครอบครัว 6 ตัว ประกอบด้วยโคพื้นเมืองเฉลี่ย 4 ตัว โคลูกผสมบราห์มัน-พื้นเมือง เฉลี่ย 2 ตัว กลุ่มผู้เลี้ยงโคเนื้อบ้านโคกกลางมีโคลูกผสมชาโรเลส์ เฉลี่ย 1 ตัว แต่กลุ่มผู้เลี้ยงโคเนื้อบ้านหนองตะเคียนไม่มี เกษตรกรมีประสบการณ์เลี้ยงโคเนื้อเฉลี่ย 8 ปี สภาพการเลี้ยงโคเนื้อของ เกษตรกร จะปล่อยโคแทะเล็มหญ้าธรรมชาติตามหัวไร่ปลายนา เสริมด้วยฟางข้าวและหญ้าสด แหล่งฟางข้าวได้จากการเก็บไว้หลังเก็บเกี่ยว แหล่งหญ้าสดได้จากปลูกเอง มีการให้อาหารข้นน้อย รายและนานๆ ครั้ง แหล่งอาหารข้นได้จากการซื้ออาหารข้นสำเร็จรูปมาให้โคกิน มีการให้อาหาร แร่ธาตุก้อน ส่วนแหล่งน้ำได้จากแหล่งน้ำธรรมชาติ การให้อาหารของเกษตรกรให้ฟางข้าวและหญ้าสดร่วมกัน และให้อาหารข้นและ อาหารแร่ธาตุร่วมกัน โดยให้หญ้าสดแก่โคต่อวันคิดเป็นร้อยละ 10 ของน้ำหนักตัว ฟางข้าวร้อยละ 3 ของน้ำหนักตัว และอาหารข้นร้อยละ 1 ของน้ำหนักตัว ให้อาหารเช้าเวลา 07.00 น. อาหารบ่าย เวลา 13.00 น. และอาหารเย็นเวลา 18.00 น. การป้องกันโรคเกษตรกรให้วัคซีนแก่โคประจำทุกปี โรคที่เกษตรกรพบบ่อยๆ คือ โรคปากและเท้าเปื่อย เกษตรกรถ่ายพยาธิภายในประจำทุกปี ยาถ่าย พยาธิที่ใช้ คือ ไอโวเมก และปิเปอราซีน นอกจากนี้เกษตรกรยังมีการนำสมุนไพรมาใช้ป้องกัน รักษาโรคโคอีกด้วย ส่วนช่องทางตลาดสำหรับเกษตรกรกลุ่มผู้เลี้ยงโคเนื้อบ้านหนองตะเคียนอยู่ ในสภาพง่าย เกษตรกรกลุ่มผู้เลี้ยงโคเนื้อบ้านโคกกลาง อยู่ในสภาพค่อนข้างยาก การจำหน่ายโค เนื้อผ่านพ่อค้าคนกลางรวบรวมโคที่เข้ามาติดต่อในหมู่บ้าน การประเมินราคาใช้การประเมินด้วย สายตา โดยการประเมินน้ำหนักตัวและราคาแล้วสรุปเป็นราคาต่อกิโลกรัม ราคาโคเนื้อเพศผู้สูง กว่าเพศเมีย ราคาโคพื้นเมืองเฉลี่ยกิโลกรัมละ 33 บาท ราคาโคลูกผสมบราห์มัน-พื้นเมืองเฉลี่ย กิโลกรัมละ 40 บาท และราคาโคลูกผสมชาโรเลส์เฉลี่ยกิโลกรัมละ 45 บาท ปัญหาและอุปสรรคของเกษตรกรในการเลี้ยงโคเนื้อ ได้แก่ ไม่รู้เรื่องพันธุ์โค ขาดหญ้า อาหารสัตว์ ไม่มีความรู้ทางวิชาการในการจัดการ ขาดความรู้ในการป้องกันรักษาโรค ราคาโคต่ำ การพัฒนาการประกอบอาชีพเลี้ยงโคเนื้อโดยใช้วิธีการจัดการความรู้จากแก่นความรู้ ในด้าน พันธุ์โค ด้านการปรับปรุงพันธุ์ ด้านอาหาร ด้านการเลี้ยงดู ด้านการป้องกันรักษาโรค และด้านการตลาด โดยการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ กำหนดขุมความรู้เป็นขั้นบันได 5 ขั้น และ ยืนยันสภาพขั้นบันไดปัจจุบันของกลุ่มผู้เลี้ยงโคเนื้อทั้งสองกลุ่ม พบว่า กลุ่มผู้เลี้ยงโคเนื้อบ้าน หนองตะเคียนมีสภาพการเลี้ยงโคอยู่ในระดับขั้นบันไดที่ต่ำกว่ากลุ่มผู้เลี้ยงโคเนื้อบ้านโคกกลาง ทำให้กลุ่มผู้เลี้ยงโคเนื้อบ้านหนองตะเคียนได้รับองค์ความรู้ในการยกระดับขั้นบันไดเพื่อ พัฒนาการเลี้ยงโคเนื้อจากกลุ่มผู้เลี้ยงโคเนื้อบ้านโคกกลาง ความพึงพอใจของเกษตรกรในการพัฒนาการประกอบอาชีพเลี้ยงโคเนื้อในด้านการ จัดการความรู้ และด้านองค์ความรู้ที่ได้รับ อยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อทั้ง 2 ด้าน พบว่า มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากทุกรายข้อ ข้อแนะนำในการศึกษาวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ การจัดตั้งกลุ่มจะต้องมาจากความต้องการ ของเกษตรกร ภาครัฐต้องให้การสนับสนุน-แนะนำเกษตรกรในด้านวิชาการ ระบบการจัดการ ชักชวนเกษตรกรประกอบอาชีพและส่งเสริมการสร้างเครือข่ายกลุ่มผู้เลี้ยงโค en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.subject การประกอบอาชีพเลี้ยงโคเนื้อ กลุ่มผู้เลี้ยงโคเนื้อ การจัดการความรู้ en_US
dc.title การศึกษาการพัฒนาการประกอบอาชีพเลี้ยงโคเนื้อของเกษตรกร โดยวิธีการจัดการความรู้ กรณีศึกษา กลุ่มผู้เลี้ยงโคเนื้อ ในเขตอำเภอคูเมือง และอำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ en_US
dc.title.alternative THE STUDY OF THE DEVELOPMENT OF FARMERS’ BEEF CATTLE RAISING CAREER BY EMPLOYING KNOWLEDGE MANAGEMENT PROCEDURES: THE CASE STUDIES OF BANGRUAD DISTRICT AND KHUMUANG DISTRICT BEEF CATTLE RAISING GROUPS, BURIRAM PROVINCE en_US
dc.type Article en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics