ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

ผลการใช้ชุดกิจกรรมเรื่องปฎิกิริยาเคมี ที่ใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

Show simple item record

dc.contributor.author เฉลิมพล, วาลีประโคน
dc.date.accessioned 2017-09-02T07:59:01Z
dc.date.available 2017-09-02T07:59:01Z
dc.date.issued 2557
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/974
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมเรื่องปฏิกิริยาเคมีที่ใช้การเรียนรู้แบบว่าร่วมมือเทคนิค STAD สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน โดยใช้ชุดกิจกรรม เรื่อง ปฏิกิริยาเคมี ที่ใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ก่อนเรียนและหลังเรียน 3) ศึกษาดัชนีและประสิทธิผลของการเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมเรื่อง ปฏิกิริยาเคมีที่ใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และ 4 ) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรม เรื่อง ปฏิกิริยาเคมี ที่ใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1 ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555 โรงเรียนห้วยแถลงพิทยาคม อำเภอห้วยแถลง จังหวัดนครราชสีมา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 31 จำนวน 1 ห้องเรียน มีจำนวนนักเรียน 40 คน ได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) ชุดกิจกรรมเรื่องปฏิกิริยาเคมี ที่ใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 8 ชุด 2) แผนการจัดการเรียนรู้เรื่องปฏิกิริยาเคมี ที่ใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบ STAD จำนวน 8 แผน 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจำนวน 40 ข้อ เป็นข้อสอบปรนัย 4 ตัวเลือก โดยมีค่าความอยากง่ายระหว่าง 0.41 ถึง 0.70 และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรม จำนวน 20 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน E1/E2 และ E.I. ทดสอบสมมติฐานการวิจัย โดยใช้การทดสอบ t (Dependent Samples) ผลการวิจัยพบว่า 1.ประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมเรื่องปฏิกิริยาเคมี ที่ใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีประสิทธิภาพ 86.04/85.13 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80 2.ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนโดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3.ดัชนีประสิทธิผลของการเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรม เรื่อง ปฏิกิริยาเคมี ที่ใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีค่า 0.5378 แสดงว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนเพิ่มขึ้นร้อยละ 53.78 4.ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมเรื่อง ปฏิกิริยาเคมีที่ใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด th_TH
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. ศูนย์วิทยบริการ. en_US
dc.title ผลการใช้ชุดกิจกรรมเรื่องปฎิกิริยาเคมี ที่ใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 en_US
dc.title.alternative Effects of the Activity Packages Entitled 'Chemical Reaction' with Stad Co-Operative Learning Technique for Matthayomsuksa 2 Students en_US
dc.type Thesis en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics