ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

การเปรียบเทียบผลการวัดการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมเรื่อง การแก้โจทย์ปัญหาระคนชั้นประถมศึกษาที่ 3 โดยใช้การเรียนรู้แบบซิปปา กับการเรียนแบบปกติ

Show simple item record

dc.contributor.author ดารารัตน์, จารพิมพ์
dc.date.accessioned 2017-09-02T07:54:00Z
dc.date.available 2017-09-02T07:54:00Z
dc.date.issued 2560
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/965
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมาย 1) เพื่อการพัฒนาชุดกิจกรรม เรื่องการแก้โจทย์ปัญหาระคนชั้นประถมศึกษาปีที่3 โดยใช้การเรียนแบบซิปปาให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหาระคนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนโดยการเรียนรู้แบบซิปปาและการเรียนแบบปกติ 3) เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลการเรียนรู้ของเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรม เรื่องการแก้โจทย์ปัญหาระคนชั้นประถมศึกษาที่3 โดยใช้การเรียนรู้แบบซิปปาและ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรม เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหาระคนชั้นประถมศึกษาปีที่3โดยใช้การเรียนรู้แบบซิปปา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่3โรงเรียนเขตการทางสงเคราะห์5(ไตรคามสิทธิศิลป์)อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา2556 จำนวน46 คน มีจำนวน2 ห้องเรียน ห้องเรียนละ 23 คน ซึ่งได้มาการสุ่มแบบกลุ่มแบ่งกลุ่มตัวอย่างเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) ชุดกิจกรรมเรื่อง การแก้โจทย์ปัญหาระคน ชั้นประถมศึกษาปีที่3 โดยใช้การเรียนรู้แบบซิปปาทจำนวน 8 แผน 3) แบบทดสอบชนิดเลือกตอบแบบ 3 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ มีค่าความยากง่าย (p) อยู่ระหว่าง 0.30-0.73 และค่าอำนาจจำแนก (B) อยู่ระหว่าง 0.27 -0.40และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.87 และ 4)แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรม เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหาระคนชั้นประถมศึกษาปีที่3โดยใช้การเรียนรู้แบบซิปปา จำนวน 1 ฉบับ เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่ามี 3 ระดับ ประกอบด้วยข้อคำถาม จำนวน10 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าทดสอบที แบบ Dependent Sample t-test และ Independent Samples t-test ผลการวิจัยพบว่า 1.ประสิทธิภาพของชุดกิจกรรม เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหาระคน ชั้นประถมศึกษาปีที่3โดยใช้การเรียนรู้แบบซิปปามีประสิทธิภาพเท่ากับ 89.69/87.97 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้ 2. นักเรียนที่เรียนโดยใช้ชุดกิจกรรม เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหาระคน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้การเรียนรู้แบบซิปปา กับนักเรียนแบบปกติมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนไม่แตกต่างกัน แต่หลังเรียนนักเรียนที่เรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่านักเรียนที่เรียนแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 3. ดัชนีประสิทธิผลของการเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรม เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหาระคนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้การเรียนรู้แบบซิปปามีค่าเท่ากับ0.6327 แสดงว่า นักเรียนมีความรู้เพิ่มขึ้น 0.6327 หรือคิดเป็นร้อยละ63.27 4. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมเรื่อง การแก้โจทย์ปัญหาระคน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้การเรียนรู้แบบซิปปา โดยรวมอยู่ในระดับมาก th_TH
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. ศูนย์วิทยบริการ. en_US
dc.title การเปรียบเทียบผลการวัดการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมเรื่อง การแก้โจทย์ปัญหาระคนชั้นประถมศึกษาที่ 3 โดยใช้การเรียนรู้แบบซิปปา กับการเรียนแบบปกติ en_US
dc.title.alternative COMPARISON OF EFFECTS OF LEARNING ACTIVTYMANAGEMENT WITH ACTIVTY PACKAGE ENTITLED SOLVING MULTIPLE PROBLEMS FOR PRATHOMSUKSA3 STUDENTS USING CIPPA MODEL LEARNING AND REGULAR LEARNING en_US
dc.type Thesis en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics