ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

การประเมินใช้หลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 1

Show simple item record

dc.contributor.author ทิพยรัตน์, บุญมา
dc.date.accessioned 2017-09-02T07:53:50Z
dc.date.available 2017-09-02T07:53:50Z
dc.date.issued 2558
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/964
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้ มีความมุ่งหมาย เพื่อประเมินการใช้หลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 1 โดยใช้รูปแบบการประเมิน CIPP Model กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการตอบแบบสอบถาม จำนวน 387 คน ได้จากการกำหนดขนาดตามตารางของ ทาโร ยามาเน (Taro Yamane ) แล้วทำการสุ่มหลายขั้นตอน เป็นผู้บริหารจำนวน 20 คน ครู จำนวน 79 คน จำนวน 144 คน และผู้ปกครอง จำนวน 144 คน และกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการสัมภาษณ์ จำนวน 10 คน ได้จากการเลือกแบบเจาะจงจากผู้บริหารและครู เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลมี 2 ประเภท คือ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์การวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถาม ได้แก่ การแจกแจงความถี่ และร้อยละ ส่วนการวิเคราะห์ ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. ด้านบริบท จากความคิดเห็นของผู้บริหารและครูที่มีผลต่อการจัดทำหลักสูตรของสถานศึกษา มีความสอดคล้องกับนโยบายการศึกษาแห่งชาติ นโยบายการศึกษาของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และนโยบายการศึกษาแห่งชาติ นโยบายการศึกษาของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นที่การและถมศึกษาบุรีรัมย์เขต 1 ทุกด้าน และสอดคล้องกับความต้องการของนักเรียนและชุมชน 2. ด้านปัจจัยเบื้องต้น จากความคิดเห็นของผู้บริหารและครู พบว่า ด้านบุคลากร มีการพัฒนาส่งเสริมสมรรถนะของบุคลากรให้มีความพร้อมในการใช้หลักสูตรสถานศึกษาทุกด้าน ด้านงบประมาร มีการจัดหางบประมาณเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอนจากองค์การบริหารส่วนตำบล / เทศบาล และมีการจัดสรรงบประมาณเพื่อใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของนักเรียน ด้านสื่อการเรียนรู้ วัสดุ อุปกรณ์ และแหล่งเรียนรู้ มีแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย ภายในสถานศึกษา แต่โรงเรียนมีงบประมาณไม่เพียงพอในการจัดหาสื่อการเรียนรู้ให้เพียงพอเหมาะสมกับกิจกรรมการเรียนรู้ตามหลักสูตร ด้านสนอาคารสถานที่ มีการวางแผนการใช้อาคารสถานที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และปรับปรุงอาคารสถานที่เพื่อรองรับการจัดการเรียนการสอนมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนงาน แผนปฏิบัติการประจำปี และด้านความพร้อมของโรงเรียนมีการเตรียมความพร้อมด้านบุคลากร ด้านงบประมาณ ด้านสื่อการเรียนรู้ ด้านอาคารสถานที่ และด้านแผนการดำเนินการเพื่อรองรับการใช้หลักสูตรสถานศึกษา และกำหนดแนวทางการบริหารงานวิชาการ และการนิเทศติดตามผลการใช้หลักสูตร 3 .ด้านกระบวนการ จากความคิดเห็นของผู้บริหารและครู พบว่า การบริหารหลักสูตรสถานศึกษา มีการส่งเสริมให้ครูจัดทำแผนการเรียนรู้ จัดครูเข้าสอนตามความรู้ความสามารถของครู จัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และประเมินผลการเรียนรู้โดยวิธีการที่หลากหลาย ตามสภาพจริง และความคิดเห็นของนักเรียน พบว่า การมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอนของครู คือ การคิดวิเคราะห์ การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ แต่ยังมีครูสอนโดยวิธีบรรยาย สื่อการเรียนรู้ที่เหมาะสม คือ อินเทอร์เน็ต และแบบฝึกทักษะ ใช้วิธีการวัดผลก่อนเรียน ระหว่างเรียน และหลังเรียน จัดกิจกรรมพิเศษได้แก่ การทัศนศึกษา 4. ด้านผลผลิต จากความคิดเห็นของผู้บริหารและครู พบว่า ด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่สถานศึกษากำหนดไว้ มีความสอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 สอดคล้องกับเป้าหมาย จุดเน้น กรอบหลักสูตรระดับท้องถิ่น สอดคล้องกับวิสัยทัศฯของสถานศึกษา ด้านคุณภาพของนักเรียนตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน คือ นักเรียนเป็นผู้มีสุขภาพกายที่ดี มีสุขภาพจิตดี ส่วนความคิดเห็นของนักเรียนและผู้ปกครอง คือ นักเรียนเป็นลูกที่ดีของพ่อแม่ มีสุขภาพกายดี มีสุขภาพจิตดี ด้านการกำหนดสมรรถนะสำคัญของผู้เรียนในความคิดเห็นของผู้บริหาร ได้แก่ นักเรียนมีทักษะในการทำงานเป็นทีม มีความใฝ่รู้สนใจในการศึกษาค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง ส่วนความคิดเห็นของครูต่อการกำหนดสมรรถนะสำคัญของผู้เรียนสอดคล้องกับความคิดเห็นของนักเรียนและผู้ปกครอง ได้แก่ นักเรียนมีทักษะ การอ่าน การเขียน การพูด การฟัง สามารถสื่อสารได้ ด้านรางวัลในการแข่งขันทักษะของโรงเรียน พบว่า โรงเรียนขนาดใหญ่ได้รับรางวัลมากกว่าโรงเรียนขนาดกลาง และโรงเรียนขนาดกลางได้รับรางวัลมากว่าโรงเรียนขนาดเล็ก และด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จากผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ทั้ง 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ของโรงเรียนกลุ่มตัวอย่าง พบว่า โรงเรียนขนาดใหญ่มีค่าคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าโรงเรียนขนาดกลาง และโรงเรียนขนาดกลางมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าโรงเรียนขนาดเล็ก th_TH
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. ศูนย์วิทยบริการ. en_US
dc.title การประเมินใช้หลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 1 en_US
dc.title.alternative AN EVALUATION OF SCHOOL CURRICULUM IMPLEMENTATION IN SCHOOL UNDER BURIRAM PRIMARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFVICE AREA OFFICE 1 en_US
dc.type Thesis en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics