ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

สภาพการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนกลุ่มโรงเรียนในอำเภอประโคนชัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2

Show simple item record

dc.contributor.author อนันตกรณ์, สอนศิลป์พงศ์
dc.date.accessioned 2017-09-02T07:45:54Z
dc.date.available 2017-09-02T07:45:54Z
dc.date.issued 2552
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/950
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มุ่งศึกษาสภาพการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนกลุ่มเสี่ยงโรงเรียนในอำเภทประโคนชัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2 ตามกระบวนการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนใน 5 ด้าน และเสนอแนวทางการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนกลุ่มเสี่ยงโรงเรียนในอำเภทประโคนชัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นครูที่ปรึกษา จำนวน 240 คน และนักเรียนกลุ่มเสี่ยงของโรงเรียนในอำเภทประโคนชัย 5 โรงเรียน จำนวน 234 คนได้มาโยการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นและโดยวิธีสุ่มอย่างง่าย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการสนทนากลุ่ม ประกอบด้วยพนักงานเจ้าหน้าที่ส่งเสริมความประพฤตินักเรียนและนักศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2จำนวน 14 คน ครูแนะแนวและครูที่รับผิดชอบงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประเมินค่า วิเคราะห์ ข้อมูลโดยห่าค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1. ครูที่ปรึกษามีการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนกลุ่มเสี่ยง โรงเรียนในอำเภทประโคนชัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต2 โดยรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านส่งเสริมนักเรียน ด้านการป้องกันกันและแก้ไขปัญหานักเรียนและด้านการส่งต่อนักเรียน มีการดำเนินงานอยู่ในระดับมาก ส่วนด้านการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคลและด้านการคัดกรองนักเรียนดำเนินงานอยู่ในระดับปานกลาง 2. นักเรียนกลุ่มเสี่ยง มีความคิดเห็นต่อการดำเนินงาน ของครูที่ปรึกษาโดยรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการส่งเสริมนักเรียน ด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหานักเรียน และด้านการส่งต่อนักเรียนมีการดำเนินงานอยู่ในระดับมาก ส่วนด้านการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคล และด้านการคัดกรองนักเรียนมีการดำเนินงานอยู่ในระดับปานกลาง 3. ข้อเสนอแนะและแนวทางในการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนกลุ่มเสี่ยงมีดังนี้ 3.1 โรงเรียนควรจัดเวลาและอำนวยความสะดวกให้ครูที่ปรึกษาได้ออกไปเยี่ยมบ้านนักเรียนเพื่อพบปะพูดคุยกับผู้ปกครองนักเรียนซึ่งจะช่วยให้ครูที่ปรึกษาได้รับทราบข้อมูลที่แท้จริงของนักเรียน 3.2 โรงเรียนและครูที่ปรึกษาควรจัดให้มีการประชุมผู้ปกครองนักเรียนอย่างน้อยภาคเรียนละ 1 ครั้งเพื่อเป็นการแจ้งข้อมูลข่าวสารจากทางโรงเรียนให้ผู้ปกครองนักเรียนได้รับทราบ 3.3 ครูที่ปรึกษาควรมีการวางแผนในการเก็บข้อมูลนักเรียนเป็นรายบุคลด้วยวิธีการที่หลากหลาย เช่น การสังเกตพฤติกรรมนักเรียน การสัมภาษณ์ การเยี่ยมบ้าน การจัดทำระเบียนสะสม การใช้แบบสอบถาม การศึกษาเป็นรายกรณี การใช้แบบประเมินและแบบทดสอบทางจิตวิทยา เช่น แบบประเมินพฤติกรรมเด็ก (SDQ) แบบวัดความฉลาดทางอารมณ์ (EQ) แบบทดสอบสุขภาพจิต เป็นต้น 3.4 ครูที่ปรึกษาควรมีการวางแผนการคัดกรองนักเรียนโดยมีการจำแนกนักเรียนออกเป้นกลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มมีปัญหา และมีการจำแนกนักเรียนตามผลการเรียน พฤติกรรมการเรียน สุขภาพจิตใจ อารมณ์ ความประพฤติ ตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด 3.5 โรงเรียนควรมีการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมและพัฒนานักเรียนที่หลากหลายและครอบคลุม ทั้งด้านการเรียน อาชีพ ส่วนตัวและสังคม 3.6 โรงเรียน ครูแนะแนว ครูที่ปรึกษา ตลอดจนครูที่รับผิดชอบระบบงานการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนควรมีการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อเป็นเครือข่ายในการดูแลช่วยเหลือนักเรียนกลุ่มเสี่ยงของโรงเรียนในอำเภทประโคนชัย
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. ศูนย์วิทยบริการ en_US
dc.title สภาพการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนกลุ่มโรงเรียนในอำเภอประโคนชัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2 en_US
dc.title.alternative The Operational States on the Risk Group Students Assistance System of Schools in Prakhonchai District Under Buriram Educational Servive Area Office 2 en_US
dc.type Thesis en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics