ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

การรับรู้ต่อการสอนกลวิธีการอ่านเชิงประจักษ์ของนักเรียนไทยที่เรียนภาษาอังกฤษในฐานะภาษาต่างประเทศ

Show simple item record

dc.contributor.author ปิยนุช, เชื่อมกลาง
dc.date.accessioned 2017-09-02T07:41:32Z
dc.date.available 2017-09-02T07:41:32Z
dc.date.issued 2560
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/942
dc.description.abstract การปฏิรูปการศึกษาและความรับผิดชอบในการเรียนการสอนของโรงเรียนในประเทศไทยกำลังได้รับการดำเนินการอย่างต่อเนื่องอยู่ในขณะนี้ แต่ผลสัมฤทธิ์ทางการอ่างภาษาอังกฤษของนักเรียนไทยยังคงเป็นปัญหาตลอดมา การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยผสมผสานทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพโดยมีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาระดับการรับรู้ของนักเรียนไทยต่อการสอนกลวิธีการอ่านเชิงประจักษ์และการนำไปประยุกต์ใช้ งานวิจัยนี้ยังได้สำรวจความเหมือนและความแตกต่างของระดับการับรู้ระหว่างนักเรียนที่เรียนแผนการเรียนวิทยาศาสตร์ และนักเรียนที่เรียนแผนการเรียนศิลปศาสตร์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นนักเรียนไทยชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบุรีรัมย์พิทยาคม จำนวน 80 คนที่ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง โดยแบ่งเป็นนักเรียนที่เรียนแผนการเรียนศิลปศาสตร์ จำนวน 40 คน และนักเรียนที่เรียนแผนการเรียนวิทยาศาสตร์ จำนวน 40 คน งานวิจัยนี้ใช้กรณีศึกษาโดยการเก็บรวมรวมข้อมูลใช้เทคนิคด้านชาติพันธุ์วรรณา เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลได้แก่ เอกสารของโรงเรียน แบบสอบถาม บทเรียนอ่านสองเรื่องการสัมภาษณ์ และการสังเกตจากททเรียนการสอนอ่านซึ่งเป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณและคุณภาพ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลีย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและ independent samples t-test จากผลการวิเคราะห์เชิงปริมาณ พบว่า นักเรียนทั้งสองแผนการเรียนใช้กลวิธีการอ่านภาษาอังกฤษโดยรวมในระดับปานกลาง โดยใช้กลวิธีทางจิตใจมาที่สุดและใช้กลวิธีการอ่านทางความจำน้อยที่สุด ทั้งนี้นักเรียนที่เรียนแผนการเรียนศิลปศาสตร์และนักเรียนที่เรียนเเผนการเรียนวิทยาศาสตร์มีระดับการใช้กลวิธีที่ค่อนข้างเหมือนกัน จากการเปรียบเทียบการใช้กลวิธีการอ่านของนักเรียนที่เรียนแผนการเรียนศิลปศาสตร์ และนักเรียนที่เรียนแผนการเรียนวิทยาศาสตร์ พบว่า นักเรียนทั้งสองแผนการเรียนใช้กลวิธีทางความจำ กลวิธีทางพุทธิปัญญาและกลวิธีทางอภิปัญญา แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 ส่วนกลวิธีการชดเชยกลวิธีทางจิตใจและกลวิธีทางสังคม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนผลการวิเคราะห์เชิงคุณภาพ พบว่า นักเรียนที่เรียนแผนการเรียนวิทยาศาสตร์เข้าใจรูปแบบของการอ่านและกลวิธีการอ่านเชิงประจักษ์ มากกว่านักเรียนแผนการเรียนศิลปศาสตร์ ในทางตรงกันข้าม นักเรียนแผนการเรียนศิลปศาสตร์มีระดับการรับรู้ทางด้านจิตใจมากกว่านักเรียนที่เรียนแผนการเรียนวิทยาศาสตร์ นอกจากนี้ นักเรียนที่เรียนแผนการเรียนศิลปศาสตร์และนักเรียนที่เรียนแผนการเรียนวิทยาศาสตร์มีความแตกต่างกันในเเง่การับรู้ และการประยุกต์ใช้ด้านบริบททางการอ่านโดยนักเรียนที่เรียนแผนการเรียนวิทยาศาสตร์ใใช้กลวิธีการอ่าน เพื่อวัตถุประสงค์ทางวิชาการและเพื่อเพิ่มทักษะทางปัญญา ส่วนนักเรียนที่เรียนแผนการเรียนศิลปศาสตร์ประยุกต์ใช้กลวิธีการอ่านในยามว่าง อีกทั้งประยุกต์ใช้เมื่อเผชิญกับกลวิธีการอ่านที่ไม่คุ้นเคย ตามข้อค้นพบงานวิจัยในครั้งนี้ ได้นำทฤษฎี งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และการปฏิบัติการเรียนการสอนมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์สำหรับการศึกษาขั้นต่อไป th_TH
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. ศูนย์วิทยบริการ. en_US
dc.title การรับรู้ต่อการสอนกลวิธีการอ่านเชิงประจักษ์ของนักเรียนไทยที่เรียนภาษาอังกฤษในฐานะภาษาต่างประเทศ en_US
dc.title.alternative Perceptions of thai learners towards the explicit reading strategy instruction en_US
dc.type Thesis en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics