ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตราของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบเพื่อนคู่คิดกับแบบปกติ

Show simple item record

dc.contributor.author ฐนิชา, ปวงสุข
dc.date.accessioned 2017-09-02T07:32:19Z
dc.date.available 2017-09-02T07:32:19Z
dc.date.issued 2558
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/926
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย 1) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตรา ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบเพื่อนคู่คิดกับแบบปกติ มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 และ 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตราของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบเพื่อนคู่คิดกับแบบปกติ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 กลุ่มโรงเรียนลำปลายมาศ 2 ตำบลตลาดโพธิ์ อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 1 จาก 2 โรงเรียน จำนวน 2 ห้องเรียนละๆ 22 คน ซึ่งสุ่มมาจาก 6 ห้อง ด้วยการสุ่มอย่างง่าย โดยใช้การจับฉลาก กลุ่มทดลอง คือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านหนองไฮ ที่เรียนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบเพื่อนคู่คิด และกลุ่มควบคุมคือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนวัดชัยมงคลปราสาทวิทยาที่เรียนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่องคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตราของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 2) แผนการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่องคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตรา ที่เรียนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบเพื่อนคู่คิดกับแบบปกติ จำนวน 12 แผน และ3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนและหลังเรียน เรื่อง คำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตรา ที่เรียนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบเพื่อนคู่คิดกับแบบปกติ มีลักษณะเป็นแบบปรนัยเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ โดยมีค่าความยากง่าย (P) ระหว่าง 0.34 – 0.77 และค่าอำนาจจำแนก (B) ระหว่าง 0.22 – 0.66 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.85 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติที่ใช้ในการทดสอบสมติฐานได้แก่ Independent Samples t – test และ dependent Samples t – test ผลการวิจัยพบว่า 1. บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง คำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามตารางของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 84.40 / 89.70 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง คำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตรา ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 2 ที่เรียนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบเพื่อนคู่คิด สูงกว่าการเรียนแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 th_TH
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. ศูนย์วิทยบริการ. en_US
dc.title การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตราของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบเพื่อนคู่คิดกับแบบปกติ en_US
dc.title.alternative A COMPARISON OF LEARING ACHIEVEMENT ON INDIRECT SPELLING WORDS OF PRATHOMSUKSA 2 STUDENTS BY USING COMPUTER-ASSISTED INSTRUCTION WITH THINK –PAIR –SHARE AND CONVENTIONAL LEARNING en_US
dc.type Thesis en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics