ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

ผลการใช้แบบฝึกทักาะ เรื่อง การอ่านการเขียนสระเปลี่ยนรูปและลดรูปโดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2

Show simple item record

dc.contributor.author ศุภธิดา, วิรุฬพัฒน์
dc.date.accessioned 2017-09-02T07:28:40Z
dc.date.available 2017-09-02T07:28:40Z
dc.date.issued 2557
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/920
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1)ศึกษาประสิทธิภาพของแบบฝึกษะ เรื่องการอ่านการเขียนสระเปลี่ยนรูปและลดรูป โดยใช้ในการเรียนรู้แบบเทคนิค STAD สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่2 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนและหลังเรียนโยใช้แบบฝึกทักษะ เรื่องการอ่านการเขียนสระเปลี่ยนรูปลดรูป ดดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่2 3) ศึกษาดัชนีประสิทธิ์ผลของการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะ เรื่องการอ่านการเขียนสระเปลี่ยนรูปและลดรูป โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่2 4)ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะ เรื่อง การอ่านการเขียนสระเปลี่ยนรูปลดรูปโดยใช้การเรียนรู้แบบเทคนิค STAD สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่2 กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่2 บ้านคู(คุรุวิทยาคาร) ภาคเรรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554 จำนวน 1ห้อง นักเรียน 29 คน ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย โดยใช้โรงเรียนเป็นหน่วยการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบฝึกทักษะเรื่อง การอ่านการเขียนสระเปลี่ยนรูปลดรูป โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 10 คน 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการใช้แบบฝึกทักษะ เรื่อง การอ่านการเขียนสระเปลี่ยนรูปแลดรูปเป็นแบบทดสอบชนิดเลือกตอบ 3 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ มีค่าความยาก (P) ระหว่าง 0.32-0.75 ค่าความเชื่อมั่น(rcc) เท่ากับ 0. 74 และ 4) แบบวัดผลความพึงพอใจ โดยจัดทำแบบสอบถามชนิดมาตรส่วนประเมินค่ามี 3 ระดับ จำนวน 10 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน E1/E2 และ E.I. และการใช้แบบทดสอบสมมติฐาน โดยใช้ค่าสถิติ Dependent Samples t-test ผลการวิจัยพบว่า 1.ประสิทธิภาพของแบบฝึกทักาะ เรื่อง การอ่านการเขียนสระเปลี่ยนรูปลดรูปโดยใช้ในการเรียนร็แบบร่วมมือเทคนิค STAD สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่2 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 86.10/85.98 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้ 2.ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะ เรื่อง การอ่านการเขียนสระเปลี่ยนรูปลดรูป โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มีผลสัมฤทธิทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3.ดัชนีประสิทธิผลของการเรียนโดยใชแบบฝึกทักาะ เรื่อง การอ่านการเขียนสระเปลี่ยนรูปลดรูปโดยใช้การเรียนรู้แบบเทคนิค STAD สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่2 มีค่าเท่ากับ 0.7095 แสดงว่าผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพิ่มขึ้นร้อยละ 70.95 4.ความพึงพอใจของนัเรียนที่มีการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะเรื่อง การอ่านการเขียนสระเปลี่ยนรูปลดรูปโดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยร่วมมืออยู่ระดับมาก th_TH
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. ศูนย์วิทยบริการ. en_US
dc.title ผลการใช้แบบฝึกทักาะ เรื่อง การอ่านการเขียนสระเปลี่ยนรูปและลดรูปโดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 en_US
dc.title.alternative EFFECTS OF EMPLOYING SKILL EXERCISES ON READING AND WRITING TRANSFORMED VOWELS WITH STAD CO-OPERATIVE LEARNING TECHNIQUE FOR PRATHOMSUKSA 8 STUDENTS en_US
dc.type Thesis en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics