ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

สภาพการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32

Show simple item record

dc.contributor.author กฤตยา, เรืองรัมย์
dc.date.accessioned 2017-09-02T07:06:08Z
dc.date.available 2017-09-02T07:06:08Z
dc.date.issued 2557
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/883
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้บริหารและครูที่ปรึกษาต่อสภาพการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 32 บุรีรัมย์ และเพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารและครูที่ปรึกษา ต่อสภาพการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 32 บุรีรัมย์ โดยจำแนกตามสถานภาพตำแหน่งและขนาดของโรงเรียนกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ ผู้บริหารทั้งหมดจำนวน 132 คน ส่วนครูที่ปรึกษาได้จากการสุ่มจากประชากรโดยกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามตารางของเครจซี่และมอร์แกน ได้จำนวน320 คน แล้วทำการสุ่มแบบชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .961 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและทดสอบสมติฐานโดยใช้ Independent Sample t-test วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ตามวิธีของเชฟเฟ่ กำหนดค่าสถิติที่ระดับนัยสำคัญ .05 ผลการวิจัยพบว่า 1. ความคิดเห็นของผู้บริหารและครูที่ปรึกษา เกี่ยวกับสภาพการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 32 บุรีรัมย์ โดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก 2. การเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารและครูที่ปรึกษา เกี่ยวกับสภาพการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 32 บุรีรัมย์ โดยจำแนกตามสถานภาพตำแหน่ง โดยรวมพบว่ามีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทุกด้านแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 เมื่อจำแนกตามขนาดของโรงเรียน โดยรวมพบว่า มีความคิกเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 เช่นกัน 3. ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของผู้บริหารและครูที่ปรึกษาที่มีจำนวนมากที่สุดในแต่ละด้าน ได้แก่ ด้านการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล ควรลดภาระการทำงานด้านอื่นๆ ให้กับครูที่ปรึกษาให้มีเวลาดูแลนักเรียนอย่างทั่วถึง ด้านการคัดกรองนักเรียน ควรมีการประสานงานกับผู้ปกครองเพื่อให้ความร่วมมือในการพิจารราคัดกรองนักเรียน ด้านการส่งเสริมนักเรียน ผู้บริหารควรส่งเสริมและให้ความสำคัญในการจัดกิจกรรมส่งเสริมนักเรียน ด้านการป้องกันและช่วยเหลือนักเรียน ควรจัดให้มีกิจกรรมเพื่อช่วยเพื่อน และด้านการส่งต่อนักเรียน ครูที่ปรึกษาควรมีความพยายามในการแก้ไขปัญหาก่อนการส่งต่อ th_TH
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. ศูนย์วิทยบริการ. en_US
dc.title สภาพการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32 en_US
dc.title.alternative The Operating States of Student Help and Care System in Schools under Buriram Secondary Educational Service Area Office en_US
dc.type Thesis en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics