ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

ปัญหาและแนวทางการแก้ปัญหาการบริหารงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรบริหารส่วนตำบลนางรอง อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์

Show simple item record

dc.contributor.author ฐิติญากานต์, ศาลาจันทร์
dc.date.accessioned 2017-09-02T07:03:47Z
dc.date.available 2017-09-02T07:03:47Z
dc.date.issued 2557
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/877
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1)ศึกษาปัญหาการบริหารงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลนางรอง อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ และ 2)ศึกษาแนวทางการแก้ปัญหาการบริหารงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลนางรองจังหวัดบุรีรัมย์ โดยศึกษาปัญหาตามมาตรฐานการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์การบริหารส่วนตำบลนางรองใน 4 ด้าน ได้แก่ ด้านบุคลากรและการบริหารจัดการ ด้านอาคารสถานที่ สิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย ด้านวิชาการและกิจกรรมตามหลักสูตร และด้านการมีส่วนร่วมและการสนับสนุนจากชุมชน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย ผู้บริหารองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นพนักงานส่วนตำบล ผู้อำนวยการโรงเรียน ครูผู้ดูแลเด็ก คณะกรรมการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์การบริหารส่วนตำบลนางรอง และผู้ปกครอง รวมทั้งสิ้น 110 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบสอบถาม มีลักษณะเป็นแบบมาตรส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ได้ดำเนินการให้ผู้เชี่ยวชาญได้ตรวจสอบได้ค่าดัชนีความสอดคล้อง ได้ค่าเท่ากับ 0.67-1.00 และค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเท่ากับ 0.84 สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย สรุปได้ว่า 1.ปัญหาการบริหารงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลนางรองอำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ทั้ง 4 ด้านตามความคิดเห็นของครูผู้ดูแลเด็ก คณะกรรมการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและผู้ปกครอง ในภาพรวมพบว่า มีปัญหาการบริหารงานอยู่ในระดับน้อย เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อในส่วนของด้านบุคลากรและการบริหารจัดการ กับด้านวิชาการและกิจกรรมตามหลักสูตรมีปัญหาอยู่ในระดับน้อย ด้านอาคารสถานที่ สิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย กับด้านการมีส่วนร่วมและการสนับสนุนจากชุมชนมีปัญหาอยู่ในระดับปานกลาง 2.แนวทางแก้ไขปัญหาการบริหารงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลนางรอง อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ มีดังนี้ 2.1 ด้านบุคลากรและการบริหารจัดการ แนวทางแก้ไขได้แก่ การสนับสนุนงบประมาณให้เพียงพอต่อการบริหารงาน จัดหาและออกแบบสื่อการเรียนการสอนโดยใช้วัสดุที่มีอยู่ในท้องถิ่นตลอดจนการสนับสนุนงบประมาณให้ครูผู้ดูแลเด็กได้รับการศึกษาที่สูงขี้น 2.2 ด้านอาคารสถานที่ สิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย แนวทางแก้ไขได้แก่ การจัดทำแผนงบประมาณจัดหาวัสดุอุปกรณ์ดับเพลิง การซ้อมเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์ฉุกเฉินอย่างต่อเนื่องและเป็นประจำ ปลั๊กไฟที่ติดตามห้องห้องเรียนควรต้องดำเนินการย้ายให้อยู่ในตำเเหน่งที่สูงขี้นและควรมีฝาปิดครอบเพื่อป้องกันอุบัติที่เกิดขึ้นกับเด็กเล็ก 2.3 ด้านวิชาการและกิจกรรมตามหลักสูตร แนวทางแก้ไขปัญหาได้แก่ การจัดประชุมชี้แจงให้ครูผู้ดูแลเด็กทุกเดือนเพื่อสอบถามปัญหาการจัดการเรียนการสอน การพัฒนาเรียนรู้ของเด็กเล็กเพื่อหาวิธีการแก้ไขร่วมกัน ตลอดจนทั้งจัดกิจกรรมให้ครูผู้ดูแลเด็กได้ไปศึกษาดูงานกับหน่วยงานที่ได้รับมาตรฐานและเข้าร่วมอบรมวิชาการด้านวิชาการและหลักสูตรอย่างต่อเนื่อง 2.4 ด้านการมีส่วนร่วมและการสนับสนุนจากชุมชน แนวทางแก้ไขปัญหาได้แก่ การจัดประชุมชี้แจงการดำเนินงานของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กให้ผู้ปกครองและชุมชนได้รับทราบทุกภาคการศึกษาการเชิญปราชญ์ชาวบ้านเข้าร่วมจัดการเรียนการสอนให้ความรู้แก่เด็กเล็ก ตลอดจนการส่งเสริมให้ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเข้ากิจกรรมประเพณี วัฒนธรรมในชุมชนอย่างต่อเนื่องและเป็นประจำ th_TH
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. ศูนย์วิทยบริการ. en_US
dc.title ปัญหาและแนวทางการแก้ปัญหาการบริหารงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรบริหารส่วนตำบลนางรอง อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ en_US
dc.title.alternative Problems and Solving Guidelines for Child Development Centers under Nangong Sub District Administrative Organization, Nangrong District, Buriram Province en_US
dc.type Thesis en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics