ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

การพัฒนาชุมชนต้นแบบสุขภาพผู้สูงอายุด้วยภูมิปัญญาชาวบ้านแบบยั่งยืน

Show simple item record

dc.contributor.author มณีพันธ์, ณิชาภัทร, ณรงค์กร ชัยวงศ์
dc.date.accessioned 2023-09-18T07:23:36Z
dc.date.available 2023-09-18T07:23:36Z
dc.date.issued 2023-08-30
dc.identifier.citation proceeding การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม en_US
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/8699
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อการพัฒนาชุมชนต้นแบบสุขภาพผู้สูงอายุด้วยภูมิปัญญาชาวบ้านแบบยั่งยืนในจังหวัดบุรีรัมย์ในเขตเทศบาลเมืองชุมเห็ด จังหวัดบุรีรัมย์ ดำเนินการวิจัยมี 4 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 เพื่อวิเคราะห์สภาพปัจจุบันของภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุและบริบทชุมชนของผู้สูงอายุ ในตำบลชุมเห็ด จังหวัดบุรีรัมย์ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุในตำบลชุมเห็ด จำนวน 258 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามข้อมูลทั่วไป และแบบทดสอบสมรรถภาพสมองไทย ที่พัฒนาขึ้นโดยกลุ่มฟื้นฟูสรรถภาพสมองของไทย (2536) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ขั้นตอนที่ 2 พัฒนารูปแบบชุมชนต้นแบบสุขภาพผู้สูงอายุด้วยภูมิปัญญาชาวบ้านแบบยั่งยืน ในชุมชน จังหวัดบุรีรัมย์ กลุ่มตัวอย่าง เป็นตัวแทนภาคีเครือข่าย 3 กลุ่ม จำนวน 29 คน ที่เข้าร่วมประชุมสนทนากลุ่ม และนำข้อมูลมาหลอมเป็นร่างชุมชนต้นแบบด้านสุขภาพ ขั้นตอนที่ 3 ทดลองใช้รูปแบบชุมชนต้นแบบสุขภาพผู้สูงอายุด้วยภูมิปัญญาชาวบ้านแบบยั่งยืนในชุมชน จังหวัดบุรีรัมย์ กลุ่มตัวอย่าง เป็นผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 30 คน ขั้นตอนที่ 4 ประเมินและปรับปรุงรูปแบบชุมชนต้นแบบสุขภาพผู้สูงอายุด้วยภูมิปัญญาชาวบ้านยั่งยืนในชุมชน จังหวัดบุรีรัมย์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป 2) รูปแบบชุมชนต้นแบบสุขภาพผู้สูงอายุด้วยภูมิปัญญาชาวบ้านแบบยั่งยืนในชุมชน จังหวัดบุรีรัมย์ 3) แบบประเมินความพึงพอใจและแบบสังเกตพฤติกรรม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพปัจจุบันของผู้สูงอายุกับภาวะสมองเสื่อมในตำบลชุมเห็ด จังหวัดบุรีรัมย์ พบว่า ผู้สูงอายุมีอาการหลงลืมบ่อย คิดเลขไม่ได้ จำเหตุการณ์ที่เพิ่งเกิดขึ้นไม่ค่อยได้ ร้อยละ 51.16 สงสัยภาวะสมองเสื่อม ร้อยละ 6.60 ส่วนใหญ่ไม่เคยได้รับความรู้เกี่ยวกับเรื่องภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ ร้อยละ 94.18 มีโรคประจำตัว ความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง ที่เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อภาวะสมองเสื่อม ร้อยละ 76.03 2. การพัฒนาชุมชนต้นแบบสุขภาพผู้สูงอายุด้วยภูมิปัญญาชาวบ้านแบบยั่งยืน ประกอบด้วย 3 กิจกรรมย่อย ได้แก่ 1) ด้านสุขภาพ (Health) 2) การมีส่วนร่วม (Participation) 3) การมีหลักประกันและความมั่นคง (Security) 3. การพัฒนารูปแบบชุมชนต้นแบบสุขภาพผู้สูงอายุด้วยภูมิปัญญาชาวบ้านแบบยั่งยืน มีความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.70 (S.D = 0.50) 4. กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจต่อการพัฒนารูปแบบชุมชนต้นแบบสุขภาพผู้สูงอายุด้วยภูมิปัญญาชาวบ้านแบบยั่งยืนโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 4.61 (SD = 0.49) en_US
dc.description.sponsorship Buriram Rajabhat University en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.subject ชุมชนต้นแบบ, สุขภาพ, ผู้สูงอายุ, ภูมิปัญญาชาวบ้าน, ยั่งยืน en_US
dc.title การพัฒนาชุมชนต้นแบบสุขภาพผู้สูงอายุด้วยภูมิปัญญาชาวบ้านแบบยั่งยืน en_US
dc.title.alternative Developing a model community for elderly health with sustainable folk wisdom en_US
dc.type Research en_US
dc.contributor.emailauthor nichapat.mp@bru.ac.th en_US
dc.contributor.emailauthor nichapat.mp@bru.ac.th en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics