ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

การพัฒนาศักยภาพนักศึกษาในศตวรรษที่ 21 ด้วยทักษะวิศวกรสังคม สร้างนวัตกรเพื่อนำนวัตกรรมไปใช้ในการบูรณาการเรียนการสอนสู่การพัฒนาท้องถิ่น คณะพยาบาลศาสตร์

Show simple item record

dc.contributor.author จอดนอก, กนิษฐา
dc.contributor.author บรรจง, ยงยุทธ
dc.contributor.author สมรรถนะกุล, รณชิต
dc.contributor.author วิโสรัมย์, นธภร
dc.contributor.author คันศร, ฐพัชร์
dc.contributor.author คงเรืองราช, เยี่ยม
dc.contributor.author สังขะพงษ์, อานนท์
dc.date.accessioned 2023-09-18T04:34:02Z
dc.date.available 2023-09-18T04:34:02Z
dc.date.issued 2022-05-01
dc.identifier.citation คณะพยาบาลศาสตร์ en_US
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/8698
dc.description.abstract การพัฒนาศักยภาพนักศึกษาในศตวรรษที่ 21 ด้วยทักษะวิศวกรสังคม สร้างนวัตกรเพื่อนำนวัตกรรมไปใช้ในการบูรณาการเรียนการสอนสู่การพัฒนาท้องถิ่นคณะพยาบาลศาสตร์ ได้มีการพัฒนาให้นักศึกษาได้เรียนรู้การใช้เครื่องมือวิศวกรสังคมจริง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักศึกษามีทักษะในการคิดวิเคราะห์ เห็นความเชื่อมโยงระหว่างเหตุและผลเห็นปัญหาเป็นเรื่องท้าทาย นักศึกษานำความรู้ที่เรียนไปใช้ประโยชน์ให้กับชุมชนได้อย่างไร สามารถสื่อสารองค์ความรู้ที่เรียนไปเพื่อนำไปแก้ปัญหาให้กับชุมชนได้ นักศึกษาทำงานร่วมกับผู้อื่นโดยปราศจากข้อขัดแย้ง สามารถที่จะระดมกำลังไม่ว่าจะภายในท้องถิ่นหรือนอกท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่นได้ และนักศึกษามีทักษะในการสร้างนวัตกรรม เพื่อแก้ปัญหาให้กับชุมชนท้องถิ่นได้ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 4 จำนวน 31 คน ประชาชนในพื้นที่ จำนวน 149 คน เกณฑ์คัดเข้า ความสมัครใจเข้าร่วมวิจัย เพศชายและเพศหญิง อายุ 20 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป ต้องเข้าร่วมโครงการได้อย่างน้อย 2 เดือน เกณฑ์คัดออก คือ ไม่สามารถเข้าร่วมโครงการได้อย่างน้อย 2 เดือน ผลการวิจัย พบว่า นักศึกษาได้ผ่านกระบวนการอบรมวิศวกรสังคม สามารถพัฒนาตนเองเป็นนวัตกรได้ คิดเป็นร้อยละ 100 นักศึกษาเกิดทักษะในการคิดวิเคราะห์ เห็นความเชื่อมโยงระหว่างเหตุและผลเห็นปัญหาเป็นเรื่องท้าทาย ร้อยละ 93.75 นักศึกษาเกิดทักษะการสื่อสารกับอาจารย์ เพื่อนและประชาชนในชุมชนในท้องถิ่น ร้อยละ 100 นักศึกษาเกิดทักษะการประสานงานและทำงานร่วมกันกับผู้อื่น โดยเป็นผู้นำและผู้ตามในการออกแบบกิจกรรม จัดกิจกรรมและประเมินผล ร้อยละ 93.75 และนักศึกษาสามารถสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อการแก้ไขปัญหาในพื้นที่อย่างเป็นระบบ ร้อยละ 96.88 โดยทักษะที่ดีที่สุดของนักศึกษาคือ ทักษะการสื่อสารกับอาจารย์ เพื่อนและประชาชนในชุมชนในท้องถิ่น ร้อยละ 100 โดยได้รับการชื่นชมจากอาจารย์ คุณครู ผู้นำชุมชน เพื่อนด้วยกัน ประชาชนในพื้นที่ว่าเป็นทักษะที่ทำได้ดีที่สุด โดยการนำไปใช้ประโยชน์และการขยายผล การใช้ประโยชน์ในทางวิชาการแนวทางการแก้ไขปัญหาสุขภาพชุมชนเกี่ยวกับรูปแบบของการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วนและการสร้างแกนนำสุขภาพที่เป็นเยาวชนรุ่นใหม่ และการใช้ประโยชน์ในด้านวิชาการในการบูรณาการ การเรียนการสอนรายวิชาการปฏิบัติการพยาบาลชุมชน ข้อเสนอแนะ ควรจัดโครงการต่อเนื่อง โดยเพิ่มระยะเวลา และขยายผลไปยังพื้นที่ใกล้เคียง en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.subject การพัฒนาศักยภาพนักศึกษา ศตวรรษที่ 21 วิศวกรสังคม 21st Century Student, Potential Development, Social Enginee en_US
dc.title การพัฒนาศักยภาพนักศึกษาในศตวรรษที่ 21 ด้วยทักษะวิศวกรสังคม สร้างนวัตกรเพื่อนำนวัตกรรมไปใช้ในการบูรณาการเรียนการสอนสู่การพัฒนาท้องถิ่น คณะพยาบาลศาสตร์ en_US
dc.title.alternative Utilize the skills of social engineers to develop the potential of 21st century students, create innovation, and integrate teaching with local development. School of Nursing. en_US
dc.type Article en_US
dc.contributor.emailauthor kanittha.ch@bru.ac.th en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics