ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

รูปแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในจังหวัดบุรีรีมย์

Show simple item record

dc.contributor.author อภินันท์, สนน้อย
dc.date.accessioned 2017-09-02T06:53:28Z
dc.date.available 2017-09-02T06:53:28Z
dc.date.issued 2560
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/855
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพสุขภาพผู้สูงอายุ ในจังหวัดบุรีรัมย์ 2) ศึกษาระดับคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ในจังหวัดบุรีรัมย์ 3) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้สูงอายุในจังหวัดบุรีรัมย์ และ 4) สร้างรูปแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ในจังหวัดบุรีรัมย์ ผู้วิจัยใช้วิธีวิจัยแบบสมานวิธี แบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะ 1 วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุ จำนวน 40 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบเจาะจง และการสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ระยะที่ 2 วิธีวิจัยเชิงปริมาณ ศึกษาจากประชากร ผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในเขตเทศบาลและเขตองค์การบริหารส่วนตำบล ทั้ง 23 อำเภอ ในจังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 189,816 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้สูตรทาโร ยามาเน่ ได้ตัวอย่างจำนวน 400 คน สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนสถิติวิเคราะห์ ใช้การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สันและวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 และ ระยะที่ 3 วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญ ผู้ทรงคุณวุฒินักวิชากรที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพผู้สูงอายุและผู้สูงอายุ จำนวน 20 คน ใช้วิธีเลือกกลุ่มเป้าหมายแบบเจาะจงโดยกระบวนการประชุมเชิงปฏิบัติการ วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีวิเคราะห์เนื้อหา อธิบายและตีความเทียบเคียงกับบริบทการวิจัย โดยวิธีวิเคราะห์แบบอุปนัย ผลการวิเคราะห์พบว่า 1) สภาพคุณภาพผู้สูงอายุ ในจังหวัดบุรีรัมย์ พบว่า ด้านร่างกาย สุขภาพผู้สูงอายุไม่แข็งแรง มีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ความดัน ด้านจิตใจ ผู้สูงอายุมีสภาพความเป็นอยู่ดี อบอุ่น มีความเหมาะสม ความสัมพันธ์กับครอบครัวชุมชน ผู้สูงอายุได้มีส่วนร่วมการทำกิจกรรมพอสมควร ด้านสภาพแวดล้อม ลักษณะที่อยู่อาศัยของผู้สูงอายุมีความเหมาะสม 2) ด้านคุณภาพผู้สูงอายุ ในจังหวัดบุรีรัมย์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับสูง เมื่อพิจารณารายด้าน ระดับคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ อยู่ในระดับสูง ได้แก่ ด้นความสัมพันธ์ทางสังคม และด้านจิตใจ และอยู่ในระดับปานกลาง ได้แก่ ร่างกาย และด้านสภาพแวดล้อม 3) ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ในจังหวัดบุรีรัมย์ ได้แก่ ปัจจัยด้านการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน ปัจจัยด้านการมีส่วนร่วมกับครอบครัวและชุมชน ปัจจัยด้านการสนับสนุนทางสังคม ปัจจัยด้านความพึงพอใจในชีวิตความเป็นอยู่ และ ปัจจัยการให้คุณค่าในตนเอง ค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยในรูปคะแนนดิบคือ .299, .260, .127, .232 และ .064ตามลำดับ ส่วนค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ ( R ) เท่ากับ .858 สามารถร่วมกับพยากรณ์คุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ในจังหวัดบุรีรัมย์ ได้ร้อยละ 73.70 ( R =0.737, F=220.63) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ . 05 4) รูปแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในจังหวัดบุรีรัมย์ ผู้สูงอายุ ควรพัฒนาตนเองช่วยเหลือตนเอง ผู้ดูแลผู้สูงอายุ ครอบครัว ควรช่วยเหลือผู้สูงอายุให้ความสัมพันธ์กับผู้สูงอายุ หน่วยงานภาครัฐ เช่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ควรมีหน่วยงานรับผิดชอบหลักในการพัฒนาชีวิตผู้สูงอายุ จัดสวัสดิการกิจกรรมเพื่อสุขภาพ ดูแลความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน จัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม ส่งเสริมศักยภาพผู้สูงอายุ อบรมให้ความรู้ จัดสิ่งอำนวยความสะดวก จัดบริการสารธารณะ ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในชุมชน en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. สำนักวิทยการและะเทคโนโลยี en_US
dc.title รูปแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในจังหวัดบุรีรีมย์ en_US
dc.title.alternative A Model of Quality of Life Development Affecting the Elders in Buriram Province en_US
dc.type Thesis en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics