ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

การพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิดSTEMI ที่ได้รับการเปิดขยายหลอดเลือดหัวใจผ่านสายสวน โรงพยาบาลบุรีรัมย์

Show simple item record

dc.contributor.author piwpong, ratchanee
dc.date.accessioned 2022-09-14T04:27:33Z
dc.date.available 2022-09-14T04:27:33Z
dc.date.issued 2564-01-01
dc.identifier.citation บุหลัน เปลี่ยนไธสง, รัชนี ผิวผ่อง, ธัญสุดา ปลงรัมย์, วิไลวรรณ เงาศรี. (2564). การพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิดSTEMI ที่ได้รับการเปิดขยายหลอดเลือดหัวใจผ่านสายสวน โรงพยาบาลบุรีรัมย์. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศีรสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์: 36(1). 63-75. en_US
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/8395
dc.description.abstract บทคัดย่อ หลักการและเหตุผล : การพยาบาลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิด STEMI ที่ได้รับการเปิดขยายหลอดเลือดหัวใจผ่านสายสวน (PCI) เป็นหัตถการที่มีความเสี่ยงสูง จากการศึกษาปรากฎการณ์ก่อนการพัฒนา พบว่า รูปแบบการพยาบาลเดิมไม่ชัดเจน ส่งผลให้ไม่สามารถบรรลุเป้าหมาย จากผลลัพธ์การดูแลผู้ป่วยตามมาตรฐาน วิธีการศึกษา: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา ทำการศึกษาระหว่างเดือนตุลาคมพ.ศ. 2558 ถึงเดือนธันวาคมพ.ศ. 2563 ที่โรงพยาบาลบุรีรัมย์ กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชีพ จำนวน 52 คน ทีมสหสาขาวิชาชีพ ประกอบด้วย แพทย์ 3 คน เภสัชกร 1 คน กายภาพบำบัด 1 คน นักโภชนากร 2 คน และผู้ป่วย STEMI ที่ได้รับการทำ PCI จำนวน 992 คน มีขั้นตอนดำเนินการ 3 ขั้นตอน ระยะที่ 1 ขั้นศึกษาสถานการณ์ปัญหาและความต้องการในการดูแลผู้ป่วย STEMI ที่ได้รับการทำ PCI ระยะที่ 2 การพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วย STEMI ที่ได้รับการทำ PCI และนำลงสู่การปฏิบัติ ระยะที่ 3 สรุปและประเมินผลการพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วย STEMI ที่ได้รับการทำ PCI เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ 1) รูปแบบการพยาบาลผู้ป่วย STEMI ที่ได้รับการทำ PCI และ 2) เครื่องมือเก็บรวมรวมข้อมูล ได้แก่ 2.1) แบบบันทึกข้อมูลผู้ป่วย STEMI ที่ได้รับการทำ PCI จากแฟ้มประวัติผู้ป่วย และจากฐานข้อมูล ACS registry 2.2) แบบสอบถามคุณภาพชีวิต และ 2.3) แบบสอบถามความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ความถี่ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษา: เปรียบเทียบผลลัพธ์ในระยะก่อนและหลังการพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วย STEMI ที่ได้รับการทำ PCI พบว่า 1) Onset to Balloon time in Primary PCI ก่อนการพัฒนา ใช้เวลาเฉลี่ย 241 นาที หลังการพัฒนา ใช้เวลาเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเป็น 275 นาที 2) Door to EKG ภายใน 10 นาทีก่อนการพัฒนา ร้อยละ 75.9 หลังการพัฒนา เพิ่มขึ้นเป็น ร้อยละ 84.9 3) Door to Balloon time in Primary PCI ก่อนการพัฒนาใช้เวลาเฉลี่ย 45 นาที หลังการพัฒนาเพิ่มขึ้นเป็น 55 นาที 4) อัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการทำ PCI ก่อนการพัฒนา ร้อยละ 3.6 หลังการพัฒนาลดลงเป็น ร้อยละ 1.3 5) อัตราการกลับมารักษาซ้ำในโรงพยาบาลภายใน 28 วันด้วยโรคเดิม ก่อนการพัฒนา ร้อยละ 2.4 หลังการพัฒนาไม่พบผู้ป่วยกลับมารักษาซ้ำ 6) จำนวนวันนอนโรงพยาบาลเฉลี่ยก่อนการพัฒนา 5.5 วัน หลังการพัฒนาลดลงเป็น 4.3 วัน และ7) อัตราการเสียชีวิตในโรงพยาบาล ก่อนการพัฒนา ร้อยละ 13.2 หลังการพัฒนาลดลงเป็น ร้อยละ 6.8 ผู้ป่วยมีความพึงพอใจในคุณภาพชีวิตอยู่ระดับมาก (x ̅=3.5, S.D.=0.7) และ พยาบาลวิชาชีพมีความพึงพอใจต่อการใช้รูปแบบการพยาบาลในระดับมาก (x ̅= 4.1, S.D.=0.6) สรุปผล: การพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วย STEMI ที่ได้รับการเปิดขยายหลอดเลือดหัวใจผ่านสายสวน ส่งผลให้มีระบบบริการตามมาตรฐาน ผู้ป่วยเข้าถึงการเปิดขยายหลอดเลือดหัวใจผ่านสายสวนได้เร็วขึ้นปลอดภัยจากภาวะแทรกซ้อน มีจำนวนวันนอนโรงพยาบาล อัตราการกลับมารักษาซ้ำด้วยโรคเดิมลดลง และอัตราการเสียชีวิตลดลง en_US
dc.description.sponsorship งบส่วนตัว en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.subject การพัฒนารูปแบบการพยาบาล, ผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิดSTEMI, การเปิดขยายหลอดเลือดหัวใจผ่านสายสวน en_US
dc.title การพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิดSTEMI ที่ได้รับการเปิดขยายหลอดเลือดหัวใจผ่านสายสวน โรงพยาบาลบุรีรัมย์ en_US
dc.title.alternative Development of a Nursing Care Model for ST- Segment Elevation Myocardial Infarction patients who had received Percutaneous Coronary Intervention in Buriram Hospital en_US
dc.type Research en_US
dc.contributor.emailauthor ratchanee.pp@bru.ac.th en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics