ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

การพัฒนารูปแบบการพยาบาลเพื่อป้องกันปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ ในหอผู้ป่วยวิกฤต โรงพยาบาลบุรีรัมย์

Show simple item record

dc.contributor.author piwpong, ratchanee
dc.date.accessioned 2022-09-14T03:34:32Z
dc.date.available 2022-09-14T03:34:32Z
dc.date.issued 2565-05-02
dc.identifier.citation รัตนาภรณ์ ปาลีนิเวศ, ธนิษฐา สุทธิ, รัชนี ผิวผ่อง, จารุวรรณ เยียรพันธุ์. (2565). การพัฒนารูปแบบการพยาบาลเพื่อป้องกันปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ ในหอผู้ป่วยวิกฤต โรงพยาบาลบุรีรัมย์. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศีรสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์: 37(2). 441-452. en_US
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/8390
dc.description.abstract บทคัดย่อ หลักการและเหตุผล: ปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ(Ventilator Associated Pneumonia : VAP)เป็นปัญหาอันดับต้นของการติดเชื้อในโรงพยาบาลและผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจจากการศึกษาก่อนการพัฒนาพบว่ายังขาดความตระหนักในการปฏิบัติตามแนวทาง VAP Bundle การพัฒนาศักยภาพพยาบาลยังไม่ครอบคลุมและยังไม่มีการวางแผนการนำแนวปฏิบัติไปใช้ร่วมกับทีมสหสาขาวิชาชีพอุบัติการณ์การเกิดปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจลดลงต่ำกว่าเกณฑ์แต่ยังไม่คงที่ วิธีการศึกษา : การวิจัยเป็นการวิจัยและพัฒนาทำการศึกษาระหว่างเดือนตุลาคมพ.ศ.2562ถึงเดือนพฤษภาคม 2565ที่หอผู้ป่วยวิกฤตโรงพยาบาลบุรีรัมย์กลุ่มตัวอย่างแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่1) กลุ่มผู้ป่วยเพื่อประเมินผลการพัฒนารูปแบบแบ่งเป็นกลุ่มควบคุมคือผู้ป่วยที่ใส่เครื่องช่วยหายใจที่ได้รับการดูแลตามรูปแบบเดิมและกลุ่มทดลองคือผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลตามรูปแบบที่พัฒนาขึ้นใหม่จำนวน 40 คน ต่อกลุ่มและ 2) กลุ่มพยาบาลวิชาชีพเพื่อประเมินความพึงพอใจในการใช้รูปแบบจำนวน47คนมีขั้นตอนดำเนินการ 3 ระยะคือระยะที่1ระยะวิเคราะห์สถานการณ์และปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ระยะที่ 2 การพัฒนารูปแบบและนำลงสู่การปฏิบัติระยะที่3ขั้นการสรุปรูปแบบเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยแบ่งเป็น 2 ประเภทคือ1)เครื่องมือในการดำเนินการวิจัยได้แก่ 1.1) รูปแบบการพยาบาล 1.2) แบบประเมินความพร้อมในการหย่าและถอดเครื่องช่วยหายใจ 1.3) แบบประเมินความเสี่ยงทางโภชนาการ1.4) แบบบันทึก VAP daily gold sheet 2) เครื่องมือเก็บรวมรวมข้อมูล ได้แก่ 2.1) แบบเก็บข้อมูลผู้ป่วยที่ได้รับการใส่เครื่องช่วยหายใจ 2.2) แบบบันทึกอุบัติการณ์การเกิดปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจและ 2.3) แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการใช้รูปแบบวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติไคสแควร์ สถิติฟิชเชอร์และสถิติ independent t-test ผลการศึกษา : เปรียบเทียบผลลัพธ์ระยะก่อนและหลังการพัฒนารูปแบบการพยาบาลพบว่ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมมีจำนวนวันใส่ท่อช่วยหายใจแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (t=0.35,p=0.29) มีจำนวนวันนอนในหอผู้ป่วยวิกฤตลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t=0.5,p=0.03)มีอุบัติการณ์การเกิดปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยลดลงและความพึงพอใจต่อการใช้รูปแบบของพยาบาลวิชาชีพโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุดเฉลี่ย 4.4 (S.D.=0.59) en_US
dc.description.sponsorship ส่วนตัว en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.subject การพัฒนารูปแบบการพยาบาล ผู้ป่วยปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ การป้องกันปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ en_US
dc.title การพัฒนารูปแบบการพยาบาลเพื่อป้องกันปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ ในหอผู้ป่วยวิกฤต โรงพยาบาลบุรีรัมย์ en_US
dc.title.alternative The Development of Nursing Care Model for Prevention of Ventilator associated pneumonia in the Intensive care unit, Buri Ram Hospital en_US
dc.type Research en_US
dc.contributor.emailauthor ratchanee.pp@bru.ac.th en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics