ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

การเปรียบเทียบแบบวัดความรู้ด้านสุขภาพของประชาชนอำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

Show simple item record

dc.contributor.author อินทรางกูร, ทิตยาวดี
dc.contributor.author สุทธิพันธ์, นิภา
dc.contributor.author รุ่งธนเกียรติ, ปิยะอร
dc.contributor.author สาวีรัมย์, ประภาพรรณ
dc.contributor.author ภาพยนตร์, กัญปะนา
dc.date.accessioned 2022-08-12T13:49:25Z
dc.date.available 2022-08-12T13:49:25Z
dc.date.issued 2021-05
dc.identifier.citation วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีษะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ ฉบับ 36 เล่มที่ 2 หน้า 403-411 en_US
dc.identifier.uri https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MJSSBH/issue/view/17434
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/8292
dc.description.abstract หลักการและเหตุผล: สภาพโลกที่เปลี่ยนแปลงในปัจจุบันประชาชนต้องมีความรู้ด้านสุขภาพและสามารถดูแลสุขภาพตนเองได้อย่างเหมาะสม ซึ่งแบบประเมินการวัดความรู้ด้านสุขภาพ TOFHLA และ STOFHLA มีความสำคัญและพร้อมใช้ที่ เหมาะสมกับบริบทในพื้นที่เนื่องจากรายงานผลวินิจฉัยได้เร็ว มีความแม่นยำ ประหยัดต้นทุนและไม่ทำให้ผู้ป่วยเจ็บตัวมาก วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบแบบความรู้ด้านสุขภาพ TOFHLA และ STOFHLA และศึกษาความสัมพันธ์ (เพศ อายุ การรับรู้ด้านสุขภาพตนเอง สถานะการเจ็บป่วย ระยะเวลาการศึกษา) ระหว่างแบบความรู้ด้านสุขภาพ TOFHLA และ STOFHLA ในตำบลบ้านยางและชุมเห็ด อ.เมือง จ.บุรีรัมย์ วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาภาคตัดขวางเชิงวิเคราะห์ กลุ่มตัวอย่าง 120 คน ที่มารับบริการในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านยางและชุมเห็ด ทำการศึกษาติดต่อกัน 2 ครั้ง ในกลุ่มตัวอย่างทั้ง 2 แห่งที่มีขนาดเท่ากัน 60 คน ในตำบลบ้านยางช่วงสัปดาห์แรกใช้ TOFHLA ต่อมาอีก 1 สัปดาห์ใช้ STOFHLA และในตำบลชุมเห็ด 2 สัปดาห์แรกใช้ STOFHLA ต่อมาอีก 1 สัปดาห์ใช้ TOFHLA สถิติที่ใช้ คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่ามัธยฐาน Univariate analysis และ Multivariate analysis ผลการศึกษา: คะแนนเฉลี่ยการทดสอบความรู้ด้านสุขภาพ TOFHLA 73.4 (ค่ามัธยฐาน 78; SD=17.9; ช่วง 0–100) STOFHLA 29.2 (ค่ามัธยฐาน 32; SD=6.1; ช่วง 0–36) เพศ ระยะเวลาการศึกษา และการรับรู้ด้านสุขภาพตนเองมีความสัมพันธ์กับแบบวัดความรู้ด้านสุขภาพ TOFHLA และ STOFHLA อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.0, 0.0 และ 0.0 ตามลำดับ ค่าความเชื่อมั่น TOFHLA 0.9 (การคำนวณ 0.7, การอ่านเพื่อความเข้าใจ 0.9) และ STOFHLA 0.9 ค่าสหสัมพันธ์ระหว่าง TOFHLA และ STOFHLA 0.8 พื้นที่ภายใต้เส้นโค้งของการทดสอบทั้งสองคือ 0.7(95% CI; range,0.602–0.8) สรุป: แบบวัดความรู้ด้านสุขภาพ TOFHLA และ STOFHLA สามารถคัดกรองความรู้ด้านสุขภาพได้เหมาะสม ไม่มีความแตกต่างระหว่างความน่าเชื่อถือและความถูกต้อง TOFHLA ควรมีการศึกษาต่อยอดใช้แบบวัดความรู้เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างผู้ป่วยกลุ่มอื่นๆ ในชุมชน ซึ่งช่วยให้การบริหารจัดการ/ดำเนินการ/การส่งเสริมเกี่ยวกับความรู้ด้านสุขภาพเบื้องต้นและจัดโครงการแก้ปัญหาในชุมชน ซึ่งเป็นวิธีหนึ่งในการเพิ่มระดับความรู้ด้านสุขภาพแก่ชุมชนได้อย่างเหมาะสม คำสำคัญ: ความรู้ด้านสุขภาพ ประชาชน en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.subject ความรู้ด้านสุขภาพ, ประชาชน en_US
dc.title การเปรียบเทียบแบบวัดความรู้ด้านสุขภาพของประชาชนอำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ en_US
dc.type Article en_US
dc.contributor.emailauthor thittayawadee.it@bru.ac.th en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics