ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

การวิเคราะห์จำแนกกลุ่มปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อทักษะชีวิตของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์

Show simple item record

dc.contributor.author เกวลิน, กิรัมย์
dc.contributor.author รินทร์หทัย, กิตติ์ธนารุจน์
dc.date.accessioned 2022-03-16T03:14:21Z
dc.date.available 2022-03-16T03:14:21Z
dc.date.issued 2564
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/8101
dc.description.abstract การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่จำแนกกลุ่มทักษะการใช้ชีวิตของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์ 2 ) เพื่อสร้างสมการจำแนกกลุ่มทักษะการใช้ชีวิตของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม มีค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่นของครอนบาค เท่ากับ 0.907 ใช้ขนาดตัวอย่างจำนวน 386 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์จำแนกประเภท ผลการวิเคราะห์ พบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อทักษะชีวิตของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ มากที่สุด คือ ปัจจัยด้านสัมพันธภาพระหว่างอาจารย์กับนักศึกษา รองลงมาคือ ปัจจัยด้านสัมพันธภาพระหว่างนักศึกษากับเพื่อน ปัจจัยด้านสัมพันธภาพในครอบครัว และปัจจัยด้านสภาพบรรยากาศภายในมหาวิทยาลัย เมื่อทำการวิเคราะห์การจำแนกประเภท พบว่า ตัวแปรอิสระที่มีความสามารถในการจำแนกกลุ่มนักศึกษา ออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มนักศึกษาที่มีทักษะชีวิตบกพร่องและกลุ่มนักศึกษาที่มีทักษะชีวิตไม่บกพร่อง มีทั้งหมด 5 ตัวแปร ได้แก่ นักศึกษารู้สึกว่าพ่อแม่รักใคร่กลมเกลียวกัน (C5) เมื่อเพื่อนเกิดปัญหานักศึกษาคอยให้กำลังใจและคำปรึกษา (C8 ) เมื่อนักศึกษาขอความช่วยเหลือจากอาจารย์ อาจารย์ยินดีให้ความช่วยเหลือ (C13) อาจารย์ให้ความยุติธรรมกับนักศึกษาโดยไม่เลือกปฏิบัติ (C18) สภาพห้องเรียนร้อนอบอ้าว (C24) ซึ่งสามารถเขียนสมการจำแนกกลุ่มในรูปคะแนนมาตรฐานได้ดังนี้ Zy = -1.120(C5) + 1.271(C8) + (-0.455) (C13) + 0.270(C18) + 1.033(C24) en_US
dc.description.sponsorship This research is a quantitative research. The objectives were 1) to study the factors that classify the life skill group of Buriram Rajabhat University students 2) to create an equation to classify the life skill group of Buriram Rajabhat University students. The research tool was a questionnaire. The Cronbach's coefficient of confidence was 0.907. A sample size of 386 participants was used. The data were analyzed using percentage, mean, standard deviation. and classification analysis The results of the analysis revealed that the factors influencing the life skills of Buriram Rajabhat University students the most were the relationship between teachers and students, followed by the relationship between students and friends. family relationship factors and atmospheric factors within the university When analyzing the classification, it was found that independent variables were able to classify students into 2 groups, namely students with impaired life skills and students with no life skills. There were 5 variables. Affectionate and harmonious (C5) When friends have problems, students provide support and advice (C8) When students ask teachers for help. Teachers are willing to help. (C13) Teachers give fairness to students without discrimination. (C18) Sultry classroom conditions (C24) A group classification equation can be written in the form of a standard score as follows. Zy = -1.120(C5) + 1.271(C8) + (-0.455) (C13) + 0.270(C18) + 1.033(C2) en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.subject ทักษะชีวิต การวิเคราะห์จำแนกกลุ่ม en_US
dc.title การวิเคราะห์จำแนกกลุ่มปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อทักษะชีวิตของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์ en_US
dc.title.alternative Discriminant Analysis to Affecting Life Skills of Students at Buriram Rajabhat University en_US
dc.type Research en_US
dc.contributor.emailauthor rinhatai.kn@bru.ac.th en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics