ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

การพัฒนารูปแบบการบริหารการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานศึกษาธิการภาค 13

Show simple item record

dc.contributor.advisor นฤมล ศักดิ์ปกรณ์กานต์ en_US
dc.contributor.advisor โกวิท วัชรินทรางกูร en_US
dc.contributor.author สุกันยามาศ, มาประจง
dc.date.accessioned 2021-11-16T02:16:06Z
dc.date.available 2021-11-16T02:16:06Z
dc.date.issued 2563
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/7956
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาในการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานศึกษาธิการภาค 13 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานศึกษาธิการภาค 13 และ3) เพื่อประเมินรูปแบบการบริหารการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานศึกษาธิการภาค 13 โดยดำเนินการวิจัย 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาในการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานศึกษาธิการภาค 13 กลุ่มตัวอย่างเป็นสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานศึกษาธิการภาค 13 จำนวน 350 โรง ผู้ให้ข้อมูลได้แก่ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 350 คน และครูที่รับผิดชอบเป็นหัวหน้างานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา จำนวน 350 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น และมีค่าความเชื่อมั่น 0.99 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระยะที่ 2 การพัฒนารูปแบบการบริหารการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานศึกษาธิการภาค 13 ดำเนินการโดย 1) กลุ่มเป้าหมายในการศึกษาวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศเป็นผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 4 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้คือแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา 2) กลุ่มเป้าหมายในการสนทนากลุ่มเป็นผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 9 คน เครื่องมือที่ใช้คือแบบบันทึกการสนทนากลุ่ม ระยะที่ 3 การประเมินรูปแบบ ดำเนินการโดยกลุ่มผู้ประเมินได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน ประเมินด้านความถูกต้องและความเหมาะสมของรูปแบบ และกลุ่มผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 40 คน ทดลองใช้รูปแบบ หลังจากทดลองใช้รูปแบบแล้วประเมิน ด้านความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ของรูปแบบ เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานศึกษาธิการภาค 13 มีค่าเฉลี่ยรวมรายด้านทุกด้านอยู่ในระดับมาก ปัญหาการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษามีค่าเฉลี่ยรวมรายด้านทุกด้านอยู่ในระดับน้อย และสรุปประเด็นการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาที่มีค่าเฉลี่ยสภาพการปฏิบัติได้ต่ำและค่อนข้างมีปัญหา เพื่อนำมาศึกษาหาแนวทางการพัฒนาการบริหารการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานทั้ง 7 ด้าน พบว่ามีประเด็นที่ต้องนำมาพัฒนาจำนวน 28 ประเด็น 2. รูปแบบการบริหารการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานศึกษาธิการภาค 13 ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 แนวคิดและหลักการ ส่วนที่ 2 วัตถุประสงค์ สำหรับส่วนที่ 3 กระบวนการพัฒนาการบริหารการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมี4 ขั้นตอน คือ 1) การเตรียมการก่อนการพัฒนา 2) การประเมินตนเองก่อนการพัฒนา 3) การพัฒนา และ 4) การประเมินหลังการพัฒนา และผู้วิจัยได้จัดทำคู่มือการใช้รูปแบบการบริหารการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา 3. ผลการประเมินรูปแบบบริหารการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานศึกษาธิการภาค 13 ผู้ทรงคุณวุฒิได้ประเมินรูปแบบในด้านความถูกต้องอยู่ในระดับมากที่สุดและความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด สำหรับผู้บริหารสถานศึกษาหลังจากทดลองใช้รูปแบบแล้วประเมินด้านความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุดและความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.subject การพัฒนารูปแบบการบริหารการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานศึกษาธิการภาค 13 en_US
dc.title การพัฒนารูปแบบการบริหารการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานศึกษาธิการภาค 13 en_US
dc.title.alternative The Development of Internal Quality Assurance Administration Model in Basic Education Schools Under Regional Education Office No. 13 en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.discipline การบริหารการศึกษา en_US
dc.degree.level ปริญญาเอก en_US
dc.degree.name ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics