ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

การบริหารจัดการกลุ่มอาชีพทอผ้าไหมบ้านสนวนนอก ตำบลสนวน อำเภอห้วยราช จังหวัดบุรีรัมย์

Show simple item record

dc.contributor.author ธนิตศักดิ์, รังสิพุฒิศักดิ์
dc.date.accessioned 2017-09-02T06:09:22Z
dc.date.available 2017-09-02T06:09:22Z
dc.date.issued 2558
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/794
dc.description.abstract การวิจัยเรื่องการบริหารจัดการกลุ่มทอผ้าไหมบ้านสนวนนอก ตำบลสนวน อำเภอห้วยราช จังหวัดบุรีรัมย์ มีจุดมุ่งหมาย 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษากระบวนการบริหารจัดการและกระบวนการทอผ้าไหมของกลุ่มทอผ้าไหมบ้านสนวนนอก ตำบลสนวน อำเภอห้วยราช จังหวัดบุรีรัมย์ 2) เพื่อศึกษาปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาการบริหารจัดการ ของกลุ่มทอผ้าไหม บ้านสนวนนอก ตำบลสนวน อำเภอห้วยราช จังหวัดบุรีรัมย์ และ 3) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนากลุ่มทอผ้าไหม บ้านสนวนนอก ตำบลสนวน อำเภอห้วยราช จังหวัดบุรีรัมย์ มีผลการศึกษาดังนี้ กระบวนการบริหารจัดการ พบว่า กลุ่มทอผ้าไหมบ้านสนวนนอกมีการพัฒนาโดยมีการจัดตั้งกลุ่มเพื่อแก้ไขปัญหาด้านเศรษฐกิจครัวเรือน ในเริ่มต้นมีสมาชิก จำนวน 18 คน ต่อมาก็ได้มีชาวบ้านสนใจเข้าร่วม ทำให้มีสมาชิกเพิ่มขึ้นเป็นจำนวน 32 คน 1. ในส่วนการบริหารการจัดการในแต่ละด้าน พบว่า 1) มีการบริหารจัดการในรูปแบบคณะกรรมการ จำนวน 15 คน โดยมีการแบ่งหน้าที่ตามโครงสร้างการบริหารที่กำหนดไว้ในข้อบังคับกลุ่ม เพื่อเป็นตัวแทนในการดำเนินการแทนสมาชิกทั้งหมดเพื่อติดต่อประสานงานกับหน่วยงาน องค์กรภาครัฐและองค์กรเอกชน 2) ด้านสมาชิก จะมีการเปิดรีบสมาชิกปีละ 1 ครั้ง โดยมีการจำกัดเพศ วัย สมาชิกมีการจัดทำทะเบียนสมาชิกในสมุด 3) ด้านทุน มีการระดมทุนจากสมาชิกในรูปแบบหุ้น และมีการจัดสรรจากผลกำไรเพื่อเป็นทุนหมุนเวียนในกลุ่ม 4) ด้านวัตถุดิบ กลุ่มมีกิจกรรมการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมแบบรวมกลุ่มและส่งเสริมให้สมาชิกปลูกหม่อนเลี้ยงไหมของตนเองแล้วนำมาจำหน่ายให้กับทางกลุ่ม 5) ด้านการผลิต จะมีกรรมการรับผิดชอบการผลิตโดยให้สมาชิกเข้าร่วมกิจกรรมการผลิตทุกขั้นตอน ตั้งแต่ขั้นตอนการเลี้ยงไหม จนถึงขั้นตอนการทอ 6) ด้านการตลาด กรรมการผู้รับผิดชอบการตลาดจะนำสินค้าไปจำหน่ายในงานแสดงสินค้าที่ทางหน่วยงานราชการหรือองค์กรเอกชนจัดขึ้น ทั้งนี้การเดินทางจำหน่ายสมาชิกจะมีส่วนร่วมในการจำหน่าย พร้อมทั้งมีการจัดทำบัญชีการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของกลุ่ม 7) ด้านการประชาสัมพันธ์ กรมการประชาสัมพันธ์แนะนำผลิตภัณฑ์ขณะออกร้านจำหน่ายตามงานแสดงสินค้าและมีการจัดทำแผ่นพับประชาสัมพันธ์แจกจ่ายไปยังหน่วยงานต่างๆ 2. ปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาการบริหารจัดการ ปัญหาของกลุ่มทอผ้าไหมแยกเป็นแต่ละด้านได้แก่ 1) ด้านทักษะการผลิต เป็นปัญหาเกี่ยวกับสมาชิกส่วนใหญ่เป็นคนวัยหนุ่มสาวที่ขาดประสบการณ์และทักษะการผลิตใช้ระยะเวลา 2) ด้านคณะกรรมการ ที่ขาดทักษะในการบริหารงานจัดการกลุ่มซึ่งไม่มีการนำหลักวิชาสมัยใหม่มาประยุกต์ใช้ในการบริหาร ทำให้ไม่มีการกำหนดแนวทางในการพัฒนากลุ่มไว้ 3) ด้านทุน กลุ่มขาดทุนหมุนเวียนในการดำเนินงานเพราะไม่มีแหล่งทุนสนับสนุน การระดมทุนเป็นไม่สามารถระดมทุนได้ต่อเนื่องเพราะสมาชิกมีฐานะทางครอบครัวไม่ดีประกอบกับในช่วงฤดูกาลทำนาสมาชิกจะมีรายจ่ายมากขึ้น 4) ด้านการผลิต มีขั้นตอนที่ซับซ้อนทำให้ต้องใช้เวลาในการผลิต 5) ด้านวัตถุดิบ กลุ่มไม่สามารถผลิตวัตถุดิบได้เพียงพอเพราะขาดสถานที่ปลูกหม่อนเลี้ยงไหม 6) ด้านการตลาดที่มีจำนวนน้อยและมีการแข่งขันในตลาดมาก วัตถุดิบมีราคาแพงทำให้ต้องกำหนดราคาจำหน่ายผลิตภัณฑ์สูงขึ้นด้วย และ 7) การประชาสัมพันธ์ของกลุ่มๆไม่ต่อเนื่อง แนวทางการแก้ไขปัญหา พบว่า 1) ด้านทักษะการผลิต จัดฝึกอบรมเกี่ยวกับทักษะการผลิตให้สมาชิกกลุ่ม 2) ด้านกรรมการ ให้มีการจัดอบรมคณะกรรมการโดยเชิญผู้มีความเชี่ยวชาญด้านการบริหารมาเป็นวิทยากรให้ความรู้ รวมทั้งการเดินทางศึกษาดูงานเพื่อศึกษาเรียนรู้การบริหารจัดการกลุ่ม 3) ด้านทุน ให้มีการระดมทุนเพิ่มทุกเดือนโดยการเพิ่มทุนให้เป็นไปตามความสามารถของสมาชิกที่จะเพิ่มทุนได้ และขอรับการสนับสนุนทุนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 4) ด้านการผลิต ควรมีการนำเทคโนโลยีที่เหมาะสมมาใช้ในกระบวนการผลิต 5) ด้านวัตถุดิบ มีการกำหนดแนวทางโดยให้สมาชิกปลูกหม่อนเลี่ยงไหมเพิ่มขึ้นและนำมาจำหน่ายให้กับกลุ่ม 6) ด้านการตลาด จัดกิจกรรมส่งเสริมการตลาดทั้งการลดราคา เป็นต้น 7) ด้านการประชาสัมพันธ์ ควรมีการอบรมเพิ่มทักษะให้กรรมการและ จัดทำแผ่นพับประชาสัมพันธ์ 3. แนวทางการพัฒนากลุ่มทอผ้าไหมมีการนำเสนอรูปแบบการพัฒนากลุ่มในหลายๆด้าน ได้แก่ ด้านการตลาดที่ควรมีการหาช่องทางการจำหน่าย การพัฒนาทักษะทางด้านการตลาดของคณะกรรมการเพื่อนำความรู้มากำหนดกลยุทธ์ทางการตลาด นอกจากนั้นการพัฒนาทางด้านการประชาสัมพันธ์ที่ต้องอาศัยหน่วยงานราชการ หรือสถานีวิทยุชุมชนเพื่อประชาสัมพันธ์สินค้ากลุ่มให้เป็นที่รู้จักของประชาชนทั่วไป ในส่วนการพัฒนาทักษะการผลิตเป็นการให้เชิญผู้เชี่ยวชาญมาฝึกทักษะการผลิตให้กับสมาชิกเพื่อจะได้สืบทอดกระบวนการผลิตให้เกิดความชำนาญและควรมีการสร้างลวดลายหรือรูปแบบของผลิตภัณฑ์ใหม่ขึ้นเพื่อให้ตรงกับความต้องการของลูกค้า การสร้างเครือข่ายเป็นแนวทางที่จะสามารถทำให้เกิดการเชื่อมโยงเพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบในการผลิต สรุปได้ว่าแนวทางการพัฒนากลุ่มมีแนวทางในการพัฒนาด้านการตลาด ทักษะการผลิต รูปลักษณ์ผลิตภัณฑ์ การประชาสัมพันธ์ การหาช่องทางจำหน่าย และการสร้างเครือข่ายกลุ่มผ้าไหมในเขตพื้นที่และพื้นที่ใกล้เคียง en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยี en_US
dc.title การบริหารจัดการกลุ่มอาชีพทอผ้าไหมบ้านสนวนนอก ตำบลสนวน อำเภอห้วยราช จังหวัดบุรีรัมย์ en_US
dc.title.alternative TitleAlternative Management of silk weaving Groups Sunuannok Village, Sanuan subdistrict, Huirat district, Buriram Province en_US
dc.type Thesis en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics