ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

ผลการจัดการเรียนรู้ เรื่อง แรงและเสียง ตามแนวทางสะเต็มศึกษาที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

Show simple item record

dc.contributor.advisor เบญจพร วรรณูปถัมภ์ en_US
dc.contributor.advisor สุเทียบ ละอองทอง en_US
dc.contributor.author ปวีณา, คำจร
dc.date.accessioned 2021-11-15T04:28:57Z
dc.date.available 2021-11-15T04:28:57Z
dc.date.issued 2564
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/7944
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย 1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษาสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 2) เพื่อเปรียบเทียบการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษาสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษาสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/1ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563โรงเรียนตลาดบางบ่อ (ศักดิ์ปรีดาประชาสรรค์) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 2 จำนวน 1 ห้องเรียน ได้มาโดยการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษาจำนวน 10แผน เป็นแผนปกติจำนวน 5แผน ๆ ละ 1ชั่วโมง และแผนสะเต็มศึกษาจำนวน 5แผน ๆ ละ 2ชั่วโมง2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ3)แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาจำนวน 4สถานการณ์16 ข้อ4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษาสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ซึ่งเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับจำนวน 10ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติการหาค่าt แบบไม่เป็นอิสระต่อกัน ผลการวิจัยพบว่า 1. นักเรียนที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา เรื่อง แรงและเสียง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. นักเรียนที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา เรื่อง แรงและเสียง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีคะแนนในการแก้ปัญหาหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. นักเรียนที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา เรื่อง แรงและเสียงสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด en_US
dc.description.abstract The purposes of this research were 1) to compare the students’ learning achievement before and after learning using STEM education approach towards learning achievement and science problem solving for Prathomsuksa 5 students, 2)to compare the students’on science problem solving before and after learning using STEM education approach towards learning achievement andScience problem solving for prathomsuksa 5 students, and 3) to explore the satisfaction of the students towards learning using STEM education approachfor prathomsuksa 5 students. The samples were 40 prathomsuksa 5 students studying in the second semester of the academic year 2020 at Taladbangbo School in Plaeng Yao District, Chachoengsao Province, selected by simple random sampling. The research instruments were1) 10 lesson plans, 5 lesson plans for stem education and 5 lesson plans based on stem education.2) a 30-item - 4 multiple-choice achievement test. 3) the ability test in science problem solving.4) 10-item questionnaire on students’ satisfaction with 5-rating scale.The statistics used for data analysis were percentage, mean, standard deviation. The hypothesis was tested by using dependent samples t-test. The results of the study were as follows: 1. Thestudents’ learning achievement after learning with using STEM education approach towards learning achievement and science problem solving for Prathomsuksa 5 students was higher than before with the statistically significant difference at the level of .05. 2.Thestudents’science problem solving ability after learning using STEM educationapproach and science problem solving for Prathomsuksa 5was higher than before with the statistically significant difference at the level of .05. 3. The satisfaction of the students towards using STEM education approach for Prathomsuksa 5 students as a whole was at the highest level. en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.subject ผลการจัดการเรียนรู้ เรื่อง แรงและเสียง ตามแนวทางสะเต็มศึกษาที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 en_US
dc.title ผลการจัดการเรียนรู้ เรื่อง แรงและเสียง ตามแนวทางสะเต็มศึกษาที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 en_US
dc.title.alternative Effects of Learning Management on Force and Sound Using STEM Education Approach towards Learning Achievement and Science Problem Solving for Prathomsuksa 5 Students en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.discipline หลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.name ครุศาสตรมหาบัณฑิต en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics