ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

สภาพและแนวทางการพัฒนาสมรรถนะประจำสายงานครูในสถานศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2

Show simple item record

dc.contributor.advisor ศรีเพ็ญ พลเดช en_US
dc.contributor.advisor วินิรณี ทัศนะเทพ en_US
dc.contributor.author เพ็ญประกาย, สุขสังข์
dc.date.accessioned 2021-11-15T04:09:20Z
dc.date.available 2021-11-15T04:09:20Z
dc.date.issued 2563
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/7930
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพสมรรถนะประจำสายงานครู 2) เพื่อเปรียบเทียบสมรรถนะประจำสายงานครู จำแนกตามประสบการณ์การทำงาน และ 3) เพื่อหา แนวทางการพัฒนาสมรรถนะประจำสายงานครูในสถานศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2 การวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาและเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูเกี่ยวกับสภาพสมรรถนะประจำสายงานครูในสถานศึกษาขนาดเล็ก จากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้บริหารสถานศึกษาและครู จำนวน 327 คน โดยการกำหนดขนาด ของกลุ่มตัวอย่างตามตารางเครจซี่และมอร์แกน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม มี 2 ลักษณะ คือ แบบตรวจสอบรายการ และแบบมาตราส่วนประมาณค่า มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.970 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่า t (Independent Sample t-test) และระยะที่ 2 ศึกษาแนวทางการพัฒนาสมรรถนะประจำสายงานครูในสถานศึกษา ขนาดเล็ก โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน ด้วยวิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูล โดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพสมรรถนะประจำสายงานครูในสถานศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้น ที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2 ตามความความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครู โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมาก 3 ด้าน และอยู่ในระดับปานกลาง 1 ด้าน โดยด้านการพัฒนาผู้เรียน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือด้านการบริหารจัดการ ชั้นเรียน ส่วนด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาผู้เรียนมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด 2. การเปรียบเทียบสภาพสมรรถนะประจำสายงานครู จำแนกตามประสบการณ์การทำงานของผู้บริหารสถานศึกษา และประสบการณ์การทำงานของครู พบว่า โดยรวมและรายด้าน ไม่แตกต่างกัน 3. แนวทางการพัฒนาสมรรถนะประจำสายงานครูในสถานศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2 ตามความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่า ผู้บริหารสถานศึกษาควรดำเนินการ ดังนี้ 1) ด้านการจัดการเรียนรู้ ควรฝึกทักษะการใช้สื่อเทคโนโลยี เพื่อใช้วางแผนการเรียนการสอน 2) ด้านการพัฒนาผู้เรียน ควรนิเทศติดตามช่วยเหลือครูในการออกแบบการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียน 3) ด้านการบริหารจัดการชั้นเรียน ควรจัดทำข้อมูลสารสนเทศพื้นฐาน ให้เป็นปัจจุบัน และ 4) ด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาผู้เรียน ควรฝึกทักษะการวิจัยในชั้นเรียนให้กับครู en_US
dc.description.abstract This study aimed 1) to examine the states of teachers’ competency, 2) to compare teachers’ competency according to work experience; and 3) to investigate guidelines for developing teachers’ competency in small-sized schools under Primary Educational Service Area Office 2. The study was divided into two phases. Phase 1 was to study and compare the opinions of 327 school administrators and teachers towards the states of teachers’ competency in small-sized schools. The samples size were determined by using Krejcie and Morgan’s table. A questionnaire which comprised of check list and rating scale questions was used to collect the data with the reliability level of 0.970. The statistics used to analyze the data were percentage, mean, standard deviation and Independent sample t-test. For phase 2, the data of guidelines for developing teachers’ competency in small-sized schools were collected by interviewing 9 experts chosen by purposive sampling. The instrument was a semi-structure interview and the data were analyzed by using content analysis. The results were as follows: 1. States of teachers’ competency in small-sized schools under Primary Educational Service Area Office 2 according to the opinions of school administrators and teachers were at a high level in overall aspect. When considered each aspect, it was found that three aspects were at a high level while one aspect was at a moderate level. The aspect with the highest mean was learners’ development followed by classroom management whereas conducting action research for learners’ development received the lowest mean. 2. Comparison of teachers’ competency according to work experience of school administrators and teachers was not different in overall and each aspect. 3. Guidelines for developing teachers’ competency in small-sized schools under Buriram Primary Educational Service Area Office 2 according to the opinions from the experts suggested that school administrators should 1) in terms of teaching and learning management, technological competency should be promoted in order to organize a lesson plan, 2) for learners’ development, supervision and follow up should be made to assist teachers in designing the lesson that help foster learners’ development, 3) in terms of classroom management, basic information should be updated; and 4) regarding the research for learners’ development, action research skill should be strengthen among teachers. en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.subject สภาพและแนวทางการพัฒนาสมรรถนะประจำสายงานครูในสถานศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2 en_US
dc.title สภาพและแนวทางการพัฒนาสมรรถนะประจำสายงานครูในสถานศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2 en_US
dc.title.alternative States and Guidelines for Developing Teachers’ Competency in Small-sized Schools under Buriram Primary Educational Service Area Office 2 en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.discipline การบริหารการศึกษา en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.name ครุศาสตรมหาบัณฑิต en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics